เจสัน สเตธัม โดดเด่นด้าน อาชีพการงาน, การเลือกบทบาทที่รับ ในภาพยนตร์ของเขา พิสูจน์ว่าบุรุษผู้นี้ มีความสุขกับ สิ่งที่ตนทำได้ดี, นั่นคือเล่...
เจสัน สเตธัม โดดเด่นด้าน อาชีพการงาน, การเลือกบทบาทที่รับ ในภาพยนตร์ของเขา
พิสูจน์ว่าบุรุษผู้นี้ มีความสุขกับ สิ่งที่ตนทำได้ดี, นั่นคือเล่นคิวบู๊เอง ในหนังแอ็คชั่น
ปัจจุบัน เขากลายเป็นตัวหลัก ในหลากหลายแฟรนไชส์, ที่จัดว่าทำเงิน
แต่ว่าหากมองย้อนไป ตลอดเส้นทาง สายวงการมายาของเขา
สเตธัม เคยเจอมาแล้ว, ทั้งจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด อยู่หลายครั้ง
ก่อนหน้า นรกหยุดนรก (A Working Man) ที่มีกำหนดฉาย ปลายมีนาคม ค.ศ. 2025
มีภาพยนตร์ของ เจสัน สเตธัมหลายเรื่อง ที่ได้รับคำวิจารณ์เชิงลบ
บางเรื่องมี ความรุนแรงสูง และไม่ดึงดูดผู้ชม, บางเรื่องก็สร้าง ด้วยงบประมาณต่ำ และแทบไร้การประชาสัมพันธ์
แม้ว่าจะมี อุปสรรคต่าง ๆ มากมาย, แต่ภาพยนตร์ของเขาหลายเรื่อง ก็อุตส่าห์ทำรายได้ สูงกว่าทุนสร้างสองเท่า
ซึ่งนั่นทำให้ บรรดานักวิจารณ์ และกูรูด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หลายต่อหลายคน, ต้องประหลาดใจ
10. Cellular (2004)
แม้ว่าถูกวิจารณ์เชิงลบ เป็นส่วนใหญ่, แต่ภาพยนตร์ที่ มีเอกลักษณ์เรื่องนี้
ก็สามารถทำรายได้ 57.7 ล้านเหรียญสหรัฐ, อันจัดว่า สูงกว่าทุน 2 เท่า
คิม เบซิงเงอร์ (Kim Basinger) กับคริส อีแวนส์ รับบทนำ
ขณะที่สเตธัม สวมวิญญาณวายร้าย, ในสัญญาณเป็น สัญญาณตาย (Cellular) และทำได้ดี
Cellular จัดว่าคือหนังที่ เก่าตามเวลา, เนื่องจากเทคโนโลยี (ที่เกี่ยวกับพล็อตเรื่อง) ล้าสมัยแล้ว และมุกตลกก็เป็นของ ค.ศ.โน้น
แต่ Cellular ถือเป็นหนังป๊อปคอร์น (เสพง่าย ไม่ต้องคิดเยอะ) ซึ่งเคยได้รับความนิยม
นอกจากนี้ยังทำให้ เหล่านักแสดงได้ แสดงศักยภาพของตัวเอง
เป็นบันไดสู่ บทบาทที่ใหญ่ขึ้นมาก สำหรับพวกเขา, ในอนาคต
9. Crank (2006)
หลังสะสมประสบการณ์ โดยรับบทจำพวก ตัวละครสมทบ
สเตธัมเริ่มได้เล่นบท ตัวละครนำเพิ่มขึ้น, ชื่อเสียงใน วงการหนังบู๊ กลายเป็นที่ยอมรับ
และสามารถ ดึงดูดใจแฟน ๆ ของหนังแนวนี้, ให้ยอมตีตั๋วเข้าโรงได้
นักแสดงผู้นี้ มักเลือกโปรเจ็กต์สุดเร้าใจ ที่เข้ากับแบรนด์ของเขา, และภาพยนตร์เรื่อง Crank เอง ก็เป็นเช่นนั้น
โครงเรื่องไม่ได้ลึกซึ้ง หรือมีไรให้ตีความ, แค่สะท้อนความแมน ของเจสัน สู่แผ่นฟิล์ม โดยไม่ซีเรียสจนเกินไป
กระแสคำวิจารณ์ ของคนโคม่า วิ่ง คลั่ง ฆ่า (Crank), จัดว่าเสียงแตก
แต่ดูจะได้รับความนิยม ในหมู่ผู้ชื่นชอบความบันเทิง แบบเรียบง่าย
งบประมาณผลิต จัดว่าไม่สูงนัก คือประมาณ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ, อันจัดว่าหายาก สำหรับภาพยนตร์แนวแอ็กชั่น
มันทำเงิน เกือบเท่าทุนสร้าง โดยใช้เวลาเพียง ช่วงสุดสัปดาห์แรกที่เข้าฉาย, และสุดท้าย ยอดก็ทะลุ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ
8. The Transporter (2002)
แม้ว่าเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ ของภาพยนตร์ จะอธิบายได้โดยชื่อเรื่อง (ที่ภาษาไทยทางการคือ ขนระห่ำไปบี้นรก)
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า The Transporter จะมีคุณภาพแย่, หรือว่าแค่เกี่ยวกับ การขนย้ายสิ่งของ
ทักษะการแสดงของเจสัน สเตธัม ก็ถูกหยิบมานำเสนอ อย่างโดดเด่น
เขาสร้างชื่อให้ตัวเอง โดยสวมบท คนเก็บตัวจอมครุ่นคิด แต่ปรากฏว่ามีหัวใจที่บริสุทธิ์
หลังเข้าใกล้บุคคล ที่ได้รับมอบหมาย, ให้ขนจากจุด A สู่จุด B
นี่นับเป็นบทนำ ที่โดดเด่นแน่ ครั้งแรกของเขา, และแสดงให้ ทางสตูดิโอประจักษ์ว่า ชายคนนี้ มีสิทธิ์เป็นตัวทำกำไร
ขนระห่ำไปบี้นรก ภาคที่สองและสาม, ทำรายได้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า บนบ็อกซ์ออฟฟิศ
เหตุการณ์นี้ชี้ชัดว่า พลังดาราของสเตแธม กำลังเพิ่มพูนจริง
แต่มันอาจมีสิทธิ์ ไม่เกิดขึ้น, หากไม่ใช่เพราะความสำเร็จ
ของหนังที่ค่อนข้างเป็น ม้านอกสายตา ในระยะแรก ๆ เรื่องนี้
7. Gnomeo and Juliet (2011)
ภาพยนตร์ตลกแอนิเมชั่น ของดิสนีย์ ที่ถูกลืมเลือนนี้, ดัดแปลงมาจาก ผลงานคลาสสิกของเชกสเปียร์ อันแสนโด่งดัง
เรื่องราวเกิดขึ้นที่สองด้าน ของรั้วกั้นสวน, โดยเล่าเรื่องคู่สามีภรรยา ที่ทะเลาะกัน
และเรื่องราวความรัก ระหว่างพวกโนม (gnomes) จาก 2 ฝั่ง อันขัดแย้งกัน
รายชื่อ ทีมนักแสดงนำ (นักพากย์ภาษาอังกฤษ) แอบน่าประทับใจ
เพราะมีทั้ง เอมิลี่ บลันต์, ไมเคิล เคน, แม็กกี้ สมิธ, และแน่ละว่า เจสัน สเตธัม อีกคน
ก้าวนี้ในเส้นทางอาชีพ ของดารานักบู๊, ดูน่าแปลกใจ
เพราะปรากฏว่าชายคนนี้ ก็สามารถในด้าน การเล่นตลก
แม้ว่าคำวิจารณ์ จะไม่ดีนัก, แต่เมื่อหนังโนมิโอ กับ จูเลียตฉาย
มันดึงดูดผู้ชม กลุ่มที่เป็นครอบครัวได้, จนทำรายได้เกือบ 194 ล้าน
จากต้นทุนเพียง 36 ล้านเหรียญสหรัฐ, ทำให้จัดว่าเป็น ผลงานอันประสบความสำเร็จ
6. Mechanic: Resurrection (2016)
ภาค 1 ของ ภาพยนตร์แอ็กชั่นระทึกขวัญ เรื่องนี้, ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก ในตลาดอเมริกาเหนือ
แต่หลังจากนั้น ก็ทำผลงานได้ดีขึ้น ทั่วโลก
พิสูจน์ให้เห็นว่าคนทั่วพิภพ ต้องการหนังของเจสัน สเตธัม มากเพียงไหน
ภาคต่อออกฉาย หลังจากนั้นห้าปี และความคาดหวัง ก็ไม่ได้สูงลิบลิ่ว
งบประมาณมิได้เพิ่มขึ้น, แต่กลับทำกำไร ได้เหนือกว่า โคตรเพชฌฆาตแค้นมหากาฬ (Mechanic ภาคแรก)
การได้เห็นเจสัน รับบทอันธพาล ผู้มีความสามารถสูง และมีบุคลิกแข็งแกร่ง, ถือเป็นสูตรแห่งความสำเร็จ
และดูเหมือนว่า สตูดิโอต่าง ๆ พร้อมจะสำรวจตลาด, ของคนดู กลุ่มที่ชอบสูตรนี้
นักแสดงร่วม ได้แก่ ทอมมี่ ลี โจนส์ และมิเชลล์ โหย่ว ซึ่งโผล่มาช่วยกันขาย
จนโคตรเพชฌฆาต แค้นข้ามโลก (Mechanic ภาค 2), ทำรายได้เกือบ 126 ล้าน จากต้นทุน 40 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. Snatch (2000)
ผู้กำกับชาวอังกฤษ ผู้มากผลงานในปัจจุบัน และมีใจรักหนังแนวมาเฟียสุดเฉียบ, อย่างกาย ริตชี่
เพิ่งเริ่มต้นเส้นทาง ในฮอลลีวูดของเขา ไม่นาน
และแม้ว่า ผลงานก่อนแบบ Lock, Stock and Two Smoking Barrels (1998) เปล่าทำลาย สถิติบ็อกซ์ออฟฟิศ
แต่ก็ได้รับคำชมเชย อย่างล้นหลาม จากนักวิจารณ์, และทำกำไรมากเกินพอ
เหตุการณ์ดังกล่าว เปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ริตชี, และสร้างโอกาสที่
สเตธัมจะเล่นบทสมทบ ในสแน็ตช์...ทีเอ็งข้าไม่ว่า ทีข้าเอ็งอย่าโวย (ชื่อหนัง), ณ เวลาต่อมา
โปรเจคต์นี้ดึงดูดดารา, แบบแบรด พิตต์ และเบนิซิโอ เดล โตโร
กลายเป็น ภาพยนตร์เรท R ที่ทำรายได้มากกว่า 83 ล้านเหรียญทั่วโลกจากงบประมาณ 6 ล้าน
ถือเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จ อย่างแท้จริงครั้งแรก สำหรับทั้งริตชี และสเตธัม
4. Spy (2015)
เมลิสซา แม็กคาร์ธี กลายเป็นดาราดัง, หลังจากความสำเร็จ อย่างถล่มทลาย ของ Bridesmaids (2011)
และเริ่มได้รับข้อเสนอ ให้เล่นบทบาท ที่ใหญ่โตขึ้น
Spy เป็น 1 ในหนังฟอร์มใหญ่ เรื่องแรก ๆ ของแม็กคาร์ธี, ที่เธอต้องแสดงนำ
โดยนักแสดงสมทบ คือดาราดังหลายคน เช่น เจสัน สเตธัม, จู๊ด ลอว์ หรืออัลลิสัน แจนนีย์ (Allison Janney)
นี่คือหนังตลก มากกว่าหนังแอ็คชั่น, และก็ทำผลงาน ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
โดยเก็บรายได้ มากกว่า 235 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก
และคนโหวตว่าประทับใจ บน Rotten Tomatoes ราว 95%
1 ในจุดเด่นของสปาย (Spy) คือบทบาทของสเตแธม ในเรื่องนี้, มีมาเพื่อล้อเลียน ภาพจำของตัวเขาเอง
3. The Beekeeper (2024)
นรกเรียกพ่อ (The Beekeeper) พิสูจน์ให้เห็นว่า, เจสัน สเตธัม ยังคงเป็นดาราแอ็กชั่น ที่ยิ่งใหญ่เพียงใด
ณ จุดนี้ เพียงแค่มีชื่อ กับหน้าของเขา แปะบนโปสเตอร์
คนส่วนใหญ่ ย่อมรู้เลยว่า ควรคาดหวังสิ่งใด, เมื่อตัดสินใจ ซื้อตั๋วชมภาพยนตร์
ทุนสร้างของ นรกเรียกพ่อ, คาดว่าประมาณ 40 ล้านเหรียญ ซึ่งจัดว่าเป็นมาตรฐาน สำหรับงานของสเตแธม
แต่สำหรับค.ศ.นี้ หนังที่ไม่ได้อยู่ใน แฟรนไชส์ชื่อดัง, และไม่มีนักแสดงสมทบชื่อดัง
การที่ทำรายได้ บนบ็อกซ์ออฟฟิศ เกือบ 153 ล้านเหรียญ, ถือว่าสูงเอาการ
แสดงให้เห็นว่า ด้วยเรื่องราวที่เหมาะสม, และตรงความต้องการ ของผู้ชม
สเตแธมสามารถ ใช้มันจุดชนวน, เพื่อสร้างแฟรนไชส์ใหม่ ๆ ด้วยตัวเขาเองได้
2. The Expendables 2 (2012)
ภาพยนตร์เรื่อง โคตรคนทีมมหากาฬ (The Expendables ภาคแรก) เป็นโครงการใหญ่
ที่ต้องพึ่งพาการเจรจา และการจัดการอีโก้, ของดาราหนังแอ็กชั่น ชื่อดังหลายคน ในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน
ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน, เจสัน สเตธัม, เจ็ต ลี และดอล์ฟ ลันด์เกรน
เป็นเพียงบางส่วน ในรายชื่อ ของโปรเจ็กต์อันทะเยอทะยานนี้ (สำหรับสมัยโน้น)
แม้ว่ามันทำกำไร โดยเก็บรายได้ทั่วโลก ประมาณ 274 ล้าน, แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ มากเท่าที่ สตูดิโอคาดหวัง
อย่างไรก็ตาม ภาคต่อถูกอนุมัติ โดยยอมเพิ่มงบประมาณ และจำนวนนักแสดงนำ
เนื่องจากผลตอบรับ ของภาคแรก, ทำให้ความคาดหวัง ต่อรายได้
ของโคตรคน ทีมเอ็กซ์เพนเดเบิ้ล (ภาค 2) ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
ดังนั้นเมื่อภาคต่อ ทำรายได้ เยอะกว่าภาคแรก, และมากถึง 315 ล้านเหรียญสหรัฐ มันจึงน่าประหลาดใจมาก
1. The Meg (2018)
ในช่วงเวลาที่ เม็ก โคตรหลามพันล้านปี ออกฉาย, หนังเกี่ยวกับฉลาม เรียกว่าไม่ใช่กระแสหลัก
และเจสัน สเตธัม ยังพึ่งพาโปรเจ็กต์ ประเภทรวมนักแสดง, หรือมีส่วนร่วมกับแฟรนไชส์ ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
การฉายเดี่ยวของเขา ได้ผลลัพธ์ ทั้งดีและแป้ก
และ The Meg ก็ดูมีศักยภาพพอ จะเป็นได้แค่, หนังแอ็คชั่นธรรมดา ๆ อีกเรื่อง
จนดูเหมือนว่านั่น ทำให้ผู้สร้างตัดสินใจ ทำมันอย่างสนุกสนาน, ใส่ความตลก น่าขบขัน มาเยอะเกินคาด
เจสัน สเตธัมเอง ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเขา, ไม่จำเป็นต้องซีเรียส มากเกินไป
และยังคงแสดงพลัง กับทักษะที่มี ออกมาอย่างเต็มที่
เมื่อเผชิญหน้ากับ ปลานักล่าดึกดำบรรพ์ ขนาดยักษ์ ด้วยมือเปล่า, แล้วมีชีวิตรอด กลับมาแบบครบ 32
The Meg เข้าถึงใจผู้ชม และทำผลงาน เกินความคาดหมาย
โดยกวาดรายได้ทั่วโลก มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์, และได้มีภาคต่อ ซึ่งทำรายได้ เกือบถึง 400 ล้านดอลลาร์
ที่มา: screenrant
COMMENTS