ผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพยนตร์ Jurassic World: Fallen Kingdom ซึ่งยังรักษามาตรฐานหนังชุดไดโนเสาร์คืนชีพไว้ได้ จนหนังทำรายได้ดีและพาแฟรนไ...
ผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพยนตร์ Jurassic World: Fallen Kingdom ซึ่งยังรักษามาตรฐานหนังชุดไดโนเสาร์คืนชีพไว้ได้ จนหนังทำรายได้ดีและพาแฟรนไชส์จูราสสิคไปต่อสำเร็จ
คือ 'คอลิน เทรวอโรว์' ผู้กำกับ Jurassic World ภาคแรก+เขียนบทและอำนวยการสร้าง Jurassic World: Fallen Kingdom
กับ 'เจ.เอ. บาโยนา' ผู้กำกับ Fallen Kingdom ที่เคยกำกับทั้งหนังแนวภัยพิบัติสุดตึงเครียด The Impossible (2012) และหนังโกธิคสยองขวัญ The Orphanage (2017)
แม้ Fallen Kingdom เป็นหนังเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่ได้มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนดูยากอะไร แต่ก็มีเกร็ดเล็กน้อย+รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ หลายอย่างที่มาจากปากคำของเทรวอโรว์กับบาโยนาเป็นหลัก
ซึ่งผมเห็นว่าเกร็ดเหล่านั้นควรค่าแก่การสำรวจตรวจสอบสักนิดหลังรับชมภาพยนตร์ จึงทำการรวบรวมมาไว้ในบทความนี้
1) เอียน มัลคอล์ม
แฟนหนังต่างประเทศบางส่วนผิดหวังที่ตัวละครเก่าผู้หายหน้าไปนานนับสิบปี 'ดร.เอียน มัลคอล์ม' อุตส่าห์กลับมามีบททั้งที ดันมีบทพูดเพียงไม่กี่ฉาก ทว่าคอลิน เทรวอโรว์นั้นไม่ได้สนใจจะนำเอียน มัลคอล์มไปร่วมเผชิญภัยไดโนเสาร์ด้วยกันกับกลุ่มตัวละครยุคจูราสสิคเวิลด์ตั้งแต่แรกแล้ว
"เราไม่ทำแน่ มันมักจะทำให้ผมรู้สึกแย่ มันมักจะทำให้ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นของปลอม มันรู้สึกคล้ายคนเขียนบทพยายามหาหนทางสร้างหนังที่ดันตัวละครที่คนดูชอบให้มีบท ผมมีความเคารพอย่างสูงต่อตัวละครเหล่านั้น ผมแค่ไม่อยากให้พวกเขาทำอะไรที่ผมคิดว่าปกติพวกเขาจะไม่ยอมทำน่ะ"
ส่วนตัวละครจากจูราสสิคพาร์คอื่นๆ เช่น พระเอก-นางเอกภาคแรก, อลัน แกรนท์กับเอลลี่ แซทเลอร์ เป็นต้น ก็มีโอกาสคืนสู่จอเงินเช่นกันในหนังภาคต่อไป "รูปแบบที่ผมพยายามยึดถือคือ แทนที่จะยัดทุกคนใส่หนังเรื่องแรกแล้วค่อยๆ ฆ่าพวกเขาอย่างช้าๆ, เราจะทยอยใส่เข้ามาทีละหน่อย โดยหวังให้ผู้คนสนใจว่าจะเห็นตัวละครที่พวกเขาชื่นชอบคนไหนกลับมาเป็นรายต่อไปในโลกใหม่แห่งนี้"
2) โมซาซอว์
เจ้าสัตว์น้ำยักษ์ดึกดำบรรพ์ ไม่ได้ติดคาสวนสนุกหลังเหตุการณ์ในจูราสสิคเวิลด์ภาค 1 นานนัก "ฉากเปิดเรื่องเกิดหลัง [จูราสสิคเวิลด์ภาค 1] ไม่นาน จากตรงนั้นก็ผ่านไป 3 ปี เราไม่ได้ใส่อะไรบอกไว้ในหนัง แต่ฉากเปิดเรื่องอาจเกิดขึ้นไม่กี่อาทิตย์ หรือหนึ่งเดือนให้หลัง แล้วเวลาก็ผ่านไปถึงจุดที่พวกเขาสร้างสัตว์ร้ายตัวนั้นขึ้น" เทรวอโรว์อธิบาย
สัตว์ร้ายดังกล่าวหมายถึง 'อินโดแรปเตอร์' ไดโนเสาร์พันธ์ุผสมตัวใหม่ในหนังภาค 2
นั่นคือ ภารกิจเก็บตัวอย่างกระดูกอินโดไมนัสเร็กซ์และการปล่อยโมซาซอร์สู่ธรรมชาติโดยไม่ตั้งใจ เกิดหลังภาค 1 ไม่เกินเดือน และตัวอย่างกระดูกก็ถูกนำไปใช้สร้างอินโดแรปเตอร์ จนมันได้ออกมาวิ่งไล่งับคนในอีกประมาณ 3 ปีให้หลัง
3) อาณาจักรล่มสลาย (Fallen Kingdom)
ภูเขาไฟบนเกาะที่สวนสนุกจูราสสิคเวิลด์เคยเปิดทำการ ไม่ได้ถูกใส่ในหนังภาค 2 เพื่อทำลายเกาะทิ้งดื้อๆ แต่เทรวอโรว์ใส่ไว้ตั้งแต่ในหนัง Jurassic World ภาค 1
"ความจริงภูเขาไฟคือสิ่งที่เราใส่ลงในแผนที่เกาะตอนภาคแรก, เพื่อปูทางวิกฤตการณ์สูญพันธ์ุครั้งใหญ่ซึ่งอาจเกิดขึ้นไว้ และมันจะสร้างคำถามด้านศีลธรรม กับการถกเถียงด้านจริยธรรมทั่วโลก"
การตัดสินใจทำลายเกาะซึ่งทั้งสวนสนุกจูราสสิคพาร์ค+จูราสสิคเวิลด์เคยตั้งอยู่ ไม่ใช่ทำโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง แต่ผ่านการพิจารณาอย่างระมัดระวัง "เราปฏิบัติกัับเกาะด้วยความเคารพยิ่ง, เราจริงจังกับการตัดสินใจครั้งนี้มาก, เรามองเกาะเหมือนตัวละครตัวหนึ่ง และพิจารณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวละคร มันเหมือนเราเป็นพยานการเผาทำลายโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์
ผมคิดว่ามันเหมือนการฆ่าตัวละครทิ้งแบบนึง และเวลาคุณต้องทำ คุณสมควรให้เกียรติและคารวะตัวละครอย่างเหมาะสม รวมถึงตระหนักว่าสิ่งที่คุณจะทำไม่สามารถย้อนกลับได้ และหวังให้ผู้คนตอบสนองแบบซาบซึ้ง ไม่ใช่สาบแช่ง"
4) แฟรงคลินกับซิอา
ตัวละคร 'โลเวอรี่' ผู้ทำงานในสวนสนุกจูราสสิคเวิลด์และช่วยแคลร์ (นางเอก) เปิดกรงทีเร็กซ์ตอนท้ายเรื่อง ไม่ได้กลับมามีบทใน Jurassic World 2 เพราะไม่เข้ากับทิศทางของเรื่องราวที่หนังต้องการนำเสนอ
"ในบทร่างแรกๆ โลเวอรี่จะมีบทแทนตัวละครแฟรงคลิน (หนุ่มแว่นเนิร์ด) เพราะเขามีศักยภาพเหมาะสมกับงาน" คอลิน เทรวอโรว์บอก
"แต่เขาไม่ได้มีจิตวิญญาณแบบเดียวกับแฟรงคลิน เราชอบไอเดียที่ [ซิอา (หมอหญิง) กับแฟรงคลิน] เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง, เป็นนักเคลื่อนไหวทำเพื่ออุดมการณ์ พวกเขาเชื่ออย่างแรงกล้าในสิ่งเดียวกันกับแคลร์ ผมไม่สามารถดันทุรัง ผลักดันให้โลเวอรี่ไปทำแบบนั้นได้ เพราะเขาเป็นคนประเภททำอะไรตามความสนใจของตัวเอง"
ส่วนคุณหมอสาว 'ดร.ซิอา โรดริเกซ' สมาชิกกลุ่มคุ้มครองไดโนเสาร์ก็เป็นตัวละคร 'เลสเบี้ยน' (หญิงรักหญิง) ตามคำบอกเล่าของ 'ดานิเอลลา พิเนดา' นักแสดงหญิงผู้รับบท
"ฉันเข้าใจนะว่าพวกเขาตัดออกทำไม--เพราะเรื่องเวลาฉาย ตอนฉันและคริส แพรตต์ (พระเอก) อยู่ในรถหุ้มเกราะกับพวกทหารรับจ้าง ฉันมองไปที่คริสแล้วทำตัวประมาณว่า 'ช่าย, คางเหลี่ยม กระดูกเรียงสวย ตัวสูง กล้ามล่ำ, ฉันไม่เดตกับผู้ชาย แต่ถ้าต้องทำ ฉันจะไปกับนาย มันคงทำให้ฉันคลื่นไส้ แต่ฉันจะทำแน่'"
เป็นการเพิ่มความหลากหลายทางเพศในหนัง ตามแบบฉบับภาพยนตร์ฮอลลีวูดยุคปัจจุบัน แต่ฉากนี้ขาดความจำเป็นต่อการเล่าเรื่องจึงโดนตัดทิ้ง
5) บราคิโอซอรัส
ไดโนเสาร์คอยาวพันธ์ุบราคิโอซอรัส ตัวที่ติดอยู่บนเกาะขณะกำลังล่มสลายเพราะภูเขาไฟระเบิด คือตัวเดียวกันกับที่กลุ่มตัวเอกในหนัง Jurassic Park ภาค 1 พบเห็นเป็นครั้งแรก
"นั่นคือบราคิโอซอรัสตัวเดียวกับที่เราเห็นเป็นครั้งแรก นั่นคือบราคิโอซอรัสที่อลัน แกรนท์ (พระเอก Jurassic Park ภาค 1) เห็นตอนเยือน Jurassic Park ครั้งแรก... และเรานำมันกลับมาด้วยอนิเมชั่นอันเดียวกัน ถ้าคุณสังเกตอนิเมชั่นของบราคิโอซอรัสดีๆ มันคืออันเดียวกับที่คุณเห็นตอนมุมกล้องกว้างออกในฉากดั้งเดิมเลยละ" ผู้กำกับเจ.เอ.บาโยนาเผย
6) เบนจามิน ล็อควูด
เทรวอโรว์ไม่ได้มโนเอาตัวละครใหม่ใส่ในหนังเองแบบไร้ที่มาเสียทีเดียวเพราะ "มันมาจากหนังสือ, แม้ในหนังสือจะไม่มีตัวละครนี้ แต่เราย้อนมองนิยาย แล้วพวกตัวละครกล่าวถึงช่วงต้นๆ ที่พวกเขานำลูกช้างซึ่งสูญพันธ์ุไปกลับมา เราเลยนึก 'งั้นเวลานั้นก็คงมีหุ้นส่วนที่ไม่ถูกพูดถึงอยู่ และมีคนเกี่ยวข้องกับโครงการอีกเยอะ' [ล็อควูด] คือหนึ่งในนั้น มันรู้สึกคล้ายการทำหนังภาคต้นแต่ก็ไม่ใช่น่ะนะ ยิ่งเราขุดคุ้ยลึกลงไป ยิ่งพบเรื่องคล้ายๆ ประวัติศาสตร์เบื้องหลัง"
7) เมซี่ ล็อควูด
เหตุผลที่ตัวละครมนุษย์โคลนอยู่ในภาพยนตร์คือ "เราอยากพูดถึงผลกระทบจากพลังด้านเทคโนโลยีพันธุกรรมที่ใหญ่กว่าเดิม ผลกระทบจากศักยภาพของมนุษย์และผลกระทบด้านอารมณ์จากสิ่งนั้น" เทรวอโรว์กล่าวถึงประเด็นหลักของหนัง
"และเรารู้ว่าเราไม่ได้ต้องการจะสร้างหนังเกี่ยวกับอันตรายอันเกิดจากการใช้วิทยาศาสตร์ตามอำเภอใจต่อไปเรื่อยๆ เราต้องการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นหลังเราใช้อำนาจวิทยาศาสตร์ตามอำเภอใจ, เราเปลี่ยนแปลงสิ่งที่โลกเคยเป็นอยู่ และตอนนี้ก็ต้องรับมือกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นตามมา"
เทรวอโรว์มองว่ามีแค่เด็กหญิงเมซี่ที่จะตัดสินใจกดปุ่มปลดปล่อยไดโนเสาร์สู่โลกภายนอก "ผมพบว่ามันสร้างความพึงพอใจอย่างลึกซึ้ง ในการสร้างตัวละครให้แสดงความเป็นมนุษย์ผู้เจอวันแย่ๆ เพราะค้นพบว่าการมีตัวตนของเธอเชื่อมโยงกับเหล่าสรรพสัตว์ และความรู้สึก 'ฉันจะปล่อยพวกเราเป็นอิสระเดี๋ยวนี้' มันก็เกิดจากการทำตามสัญชาตญาณของเด็ก นั่นคือการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือ ? ผมตอบไม่ได้ แต่รู้สึกว่า ณ เวลาดังกล่าวเธอตัดสินใจโดยไม่มีทางเลือก"
ภาพยนตร์แฟรนไชส์จูราสสิค พาร์ค/เวิลด์มีนักแสดงเด็กหน้าใหม่ปรากฏตัว ร่วมวิ่งหนีไดโนเสาร์พร้อมผู้ใหญ่ทุกภาค ซึ่งไม่ใช่จะได้เห็นหน้าเด็กทุกคนในภาคต่ออีกรอบเสมอ แต่คราวนี้เราคงได้พบหน้า 'เมซี่ ล็อควูด' กันอีก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับคู่พระนางประจำเรื่องยังดำเนินต่อหลังหนังจบ
"ผมพบว่าหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องการสร้างครอบครัวคล้ายหนังเทพนิยายของดิสนีย์หลายเรื่อง วิวัฒนาการด้านความสัมพันธ์ของพวกเขาขยับจากการจิกกัดหยอกล้อกันในภาค 1, ในภาค 2 พวกเขาพัฒนาสู่ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ยิ่งกว่าตอนนั้นมาก ทุกสิ่งบ่งชี้สู่บทสรุปว่าพวกเขาพร้อมจะปกป้องและรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น และในหนังภาค 3 ความรับผิดชอบดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่อ"
8) Jurassic World 3
งานประมูลไดโนเสาร์โดนป่วนเสียวอดวาย และเกิดอะไรหลายอย่างระหว่างความวุ่นวาย, คนตายก็เยอะแยะ แต่เทรวอโรว์บอกว่า 'ไอริส' พี่เลี้ยงของเมซี่ผู้ถูกไล่ออกยังมีชีวิตอยู่ ส่วนเรื่องเธอจะมีบทในหนังภาคหน้าหรือไม่ ? เทรวอโรว์ยังไม่แน่ใจนัก
จูราสสิค เวิลด์ภาค 2 จบลงด้วยการปลดปล่อยไดโนเสาร์จำนวนหนึ่งสู่โลกภายนอก แต่ภาค 3 จะไม่ได้เล่นเพียงประเด็นนี้ต่อเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมที่ใช้สร้างพวกมันจะกระจายออกไปสู่มือผู้อื่น หลังจากก่อนหน้านี้มีดร.วู เพียงผู้เดียวสร้างไดโนเสาร์ได้
"ภาคสามจะเน้นเล่าเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่กระจายตัวไปทั่วโลก เราต้องการให้เทคโนโลยีนี้, พลังแห่งพันธุกรรมนี้, กระจายสู่ผู้คนทั่วไปในตอนจบของหนัง เราขอบอกเป็นนัยๆ ว่าไม่ใช่แค่สัตว์หลุดจากกรงพวกนี้เท่านั้นที่เราสนใจ แต่ความสามารถในการสร้างสัตว์พวกนี้เอง ก็จะแพร่ขยายออกไปไกลกว่าดร.วูเพื่อนของเราเล็กน้อย เทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้เหมือนระเบิดนิวเคลียร์, นั่นคือเรื่องน่ากลัวสำหรับผม"
9) Fallen Kingdom ไม่ใช่หนังสัตว์ประหลาด
ถึงจะมีไดโนเสาร์ออกอาละวาดไล่กินคน แต่ผู้กำกับเจ.เอ.บาโยนาให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่ได้มอง Jurassic World: Fallen Kingdom เป็นหนังสัตว์ประหลาด
"เราไม่ได้พูดถึงสัตว์ประหลาดตอนทำหนังจูราสสิค เราพูดถึงเหล่าสรรพสัตว์ และสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจเกี่ยวกับอินโดแรปเตอร์คือมันเป็นตัวต้นแบบที่ผิดพลาด มันเลยไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น เพราะอย่างนั้นคุณเลยทำให้คนดูรู้สึกเห็นใจมันได้หากคุณต้องการ
มีจังหวะหนึ่งซึ่งผมขอให้ไบรซ์ (นางเอก) ถ่ายทอดออกมาหลังยิงปืนเลเซอร์, หลังไดโนเสาร์อินโดแรปเตอร์ตาย, ความรู้สึกโศกเศร้าเพราะความตายของอินโดแรปเตอร์อยู่บนใบหน้าของเธอ เนื่องจากผมรู้สึกแบบนั้นกับอินโดแรปเตอร์จริงๆ เช่นกัน ดังนั้นต่อให้พวกคุณคิดว่านี่มันหนังสัตว์ประหลาดชัดๆ แต่สำหรับผมเรื่องนี้ไม่มีสัตว์ประหลาด มีแค่ผลงานที่มนุษย์สร้างจากเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์"
คือ 'คอลิน เทรวอโรว์' ผู้กำกับ Jurassic World ภาคแรก+เขียนบทและอำนวยการสร้าง Jurassic World: Fallen Kingdom
กับ 'เจ.เอ. บาโยนา' ผู้กำกับ Fallen Kingdom ที่เคยกำกับทั้งหนังแนวภัยพิบัติสุดตึงเครียด The Impossible (2012) และหนังโกธิคสยองขวัญ The Orphanage (2017)
แม้ Fallen Kingdom เป็นหนังเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่ได้มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนดูยากอะไร แต่ก็มีเกร็ดเล็กน้อย+รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ หลายอย่างที่มาจากปากคำของเทรวอโรว์กับบาโยนาเป็นหลัก
ซึ่งผมเห็นว่าเกร็ดเหล่านั้นควรค่าแก่การสำรวจตรวจสอบสักนิดหลังรับชมภาพยนตร์ จึงทำการรวบรวมมาไว้ในบทความนี้
1) เอียน มัลคอล์ม
แฟนหนังต่างประเทศบางส่วนผิดหวังที่ตัวละครเก่าผู้หายหน้าไปนานนับสิบปี 'ดร.เอียน มัลคอล์ม' อุตส่าห์กลับมามีบททั้งที ดันมีบทพูดเพียงไม่กี่ฉาก ทว่าคอลิน เทรวอโรว์นั้นไม่ได้สนใจจะนำเอียน มัลคอล์มไปร่วมเผชิญภัยไดโนเสาร์ด้วยกันกับกลุ่มตัวละครยุคจูราสสิคเวิลด์ตั้งแต่แรกแล้ว
"เราไม่ทำแน่ มันมักจะทำให้ผมรู้สึกแย่ มันมักจะทำให้ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นของปลอม มันรู้สึกคล้ายคนเขียนบทพยายามหาหนทางสร้างหนังที่ดันตัวละครที่คนดูชอบให้มีบท ผมมีความเคารพอย่างสูงต่อตัวละครเหล่านั้น ผมแค่ไม่อยากให้พวกเขาทำอะไรที่ผมคิดว่าปกติพวกเขาจะไม่ยอมทำน่ะ"
ส่วนตัวละครจากจูราสสิคพาร์คอื่นๆ เช่น พระเอก-นางเอกภาคแรก, อลัน แกรนท์กับเอลลี่ แซทเลอร์ เป็นต้น ก็มีโอกาสคืนสู่จอเงินเช่นกันในหนังภาคต่อไป "รูปแบบที่ผมพยายามยึดถือคือ แทนที่จะยัดทุกคนใส่หนังเรื่องแรกแล้วค่อยๆ ฆ่าพวกเขาอย่างช้าๆ, เราจะทยอยใส่เข้ามาทีละหน่อย โดยหวังให้ผู้คนสนใจว่าจะเห็นตัวละครที่พวกเขาชื่นชอบคนไหนกลับมาเป็นรายต่อไปในโลกใหม่แห่งนี้"
2) โมซาซอว์
เจ้าสัตว์น้ำยักษ์ดึกดำบรรพ์ ไม่ได้ติดคาสวนสนุกหลังเหตุการณ์ในจูราสสิคเวิลด์ภาค 1 นานนัก "ฉากเปิดเรื่องเกิดหลัง [จูราสสิคเวิลด์ภาค 1] ไม่นาน จากตรงนั้นก็ผ่านไป 3 ปี เราไม่ได้ใส่อะไรบอกไว้ในหนัง แต่ฉากเปิดเรื่องอาจเกิดขึ้นไม่กี่อาทิตย์ หรือหนึ่งเดือนให้หลัง แล้วเวลาก็ผ่านไปถึงจุดที่พวกเขาสร้างสัตว์ร้ายตัวนั้นขึ้น" เทรวอโรว์อธิบาย
สัตว์ร้ายดังกล่าวหมายถึง 'อินโดแรปเตอร์' ไดโนเสาร์พันธ์ุผสมตัวใหม่ในหนังภาค 2
นั่นคือ ภารกิจเก็บตัวอย่างกระดูกอินโดไมนัสเร็กซ์และการปล่อยโมซาซอร์สู่ธรรมชาติโดยไม่ตั้งใจ เกิดหลังภาค 1 ไม่เกินเดือน และตัวอย่างกระดูกก็ถูกนำไปใช้สร้างอินโดแรปเตอร์ จนมันได้ออกมาวิ่งไล่งับคนในอีกประมาณ 3 ปีให้หลัง
3) อาณาจักรล่มสลาย (Fallen Kingdom)
ภูเขาไฟบนเกาะที่สวนสนุกจูราสสิคเวิลด์เคยเปิดทำการ ไม่ได้ถูกใส่ในหนังภาค 2 เพื่อทำลายเกาะทิ้งดื้อๆ แต่เทรวอโรว์ใส่ไว้ตั้งแต่ในหนัง Jurassic World ภาค 1
"ความจริงภูเขาไฟคือสิ่งที่เราใส่ลงในแผนที่เกาะตอนภาคแรก, เพื่อปูทางวิกฤตการณ์สูญพันธ์ุครั้งใหญ่ซึ่งอาจเกิดขึ้นไว้ และมันจะสร้างคำถามด้านศีลธรรม กับการถกเถียงด้านจริยธรรมทั่วโลก"
การตัดสินใจทำลายเกาะซึ่งทั้งสวนสนุกจูราสสิคพาร์ค+จูราสสิคเวิลด์เคยตั้งอยู่ ไม่ใช่ทำโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง แต่ผ่านการพิจารณาอย่างระมัดระวัง "เราปฏิบัติกัับเกาะด้วยความเคารพยิ่ง, เราจริงจังกับการตัดสินใจครั้งนี้มาก, เรามองเกาะเหมือนตัวละครตัวหนึ่ง และพิจารณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวละคร มันเหมือนเราเป็นพยานการเผาทำลายโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์
ผมคิดว่ามันเหมือนการฆ่าตัวละครทิ้งแบบนึง และเวลาคุณต้องทำ คุณสมควรให้เกียรติและคารวะตัวละครอย่างเหมาะสม รวมถึงตระหนักว่าสิ่งที่คุณจะทำไม่สามารถย้อนกลับได้ และหวังให้ผู้คนตอบสนองแบบซาบซึ้ง ไม่ใช่สาบแช่ง"
4) แฟรงคลินกับซิอา
ตัวละคร 'โลเวอรี่' ผู้ทำงานในสวนสนุกจูราสสิคเวิลด์และช่วยแคลร์ (นางเอก) เปิดกรงทีเร็กซ์ตอนท้ายเรื่อง ไม่ได้กลับมามีบทใน Jurassic World 2 เพราะไม่เข้ากับทิศทางของเรื่องราวที่หนังต้องการนำเสนอ
โลเวอรี่
"ในบทร่างแรกๆ โลเวอรี่จะมีบทแทนตัวละครแฟรงคลิน (หนุ่มแว่นเนิร์ด) เพราะเขามีศักยภาพเหมาะสมกับงาน" คอลิน เทรวอโรว์บอก
"แต่เขาไม่ได้มีจิตวิญญาณแบบเดียวกับแฟรงคลิน เราชอบไอเดียที่ [ซิอา (หมอหญิง) กับแฟรงคลิน] เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง, เป็นนักเคลื่อนไหวทำเพื่ออุดมการณ์ พวกเขาเชื่ออย่างแรงกล้าในสิ่งเดียวกันกับแคลร์ ผมไม่สามารถดันทุรัง ผลักดันให้โลเวอรี่ไปทำแบบนั้นได้ เพราะเขาเป็นคนประเภททำอะไรตามความสนใจของตัวเอง"
แฟรงคลิน
ส่วนคุณหมอสาว 'ดร.ซิอา โรดริเกซ' สมาชิกกลุ่มคุ้มครองไดโนเสาร์ก็เป็นตัวละคร 'เลสเบี้ยน' (หญิงรักหญิง) ตามคำบอกเล่าของ 'ดานิเอลลา พิเนดา' นักแสดงหญิงผู้รับบท
"ฉันเข้าใจนะว่าพวกเขาตัดออกทำไม--เพราะเรื่องเวลาฉาย ตอนฉันและคริส แพรตต์ (พระเอก) อยู่ในรถหุ้มเกราะกับพวกทหารรับจ้าง ฉันมองไปที่คริสแล้วทำตัวประมาณว่า 'ช่าย, คางเหลี่ยม กระดูกเรียงสวย ตัวสูง กล้ามล่ำ, ฉันไม่เดตกับผู้ชาย แต่ถ้าต้องทำ ฉันจะไปกับนาย มันคงทำให้ฉันคลื่นไส้ แต่ฉันจะทำแน่'"
เป็นการเพิ่มความหลากหลายทางเพศในหนัง ตามแบบฉบับภาพยนตร์ฮอลลีวูดยุคปัจจุบัน แต่ฉากนี้ขาดความจำเป็นต่อการเล่าเรื่องจึงโดนตัดทิ้ง
5) บราคิโอซอรัส
ไดโนเสาร์คอยาวพันธ์ุบราคิโอซอรัส ตัวที่ติดอยู่บนเกาะขณะกำลังล่มสลายเพราะภูเขาไฟระเบิด คือตัวเดียวกันกับที่กลุ่มตัวเอกในหนัง Jurassic Park ภาค 1 พบเห็นเป็นครั้งแรก
"นั่นคือบราคิโอซอรัสตัวเดียวกับที่เราเห็นเป็นครั้งแรก นั่นคือบราคิโอซอรัสที่อลัน แกรนท์ (พระเอก Jurassic Park ภาค 1) เห็นตอนเยือน Jurassic Park ครั้งแรก... และเรานำมันกลับมาด้วยอนิเมชั่นอันเดียวกัน ถ้าคุณสังเกตอนิเมชั่นของบราคิโอซอรัสดีๆ มันคืออันเดียวกับที่คุณเห็นตอนมุมกล้องกว้างออกในฉากดั้งเดิมเลยละ" ผู้กำกับเจ.เอ.บาโยนาเผย
6) เบนจามิน ล็อควูด
เทรวอโรว์ไม่ได้มโนเอาตัวละครใหม่ใส่ในหนังเองแบบไร้ที่มาเสียทีเดียวเพราะ "มันมาจากหนังสือ, แม้ในหนังสือจะไม่มีตัวละครนี้ แต่เราย้อนมองนิยาย แล้วพวกตัวละครกล่าวถึงช่วงต้นๆ ที่พวกเขานำลูกช้างซึ่งสูญพันธ์ุไปกลับมา เราเลยนึก 'งั้นเวลานั้นก็คงมีหุ้นส่วนที่ไม่ถูกพูดถึงอยู่ และมีคนเกี่ยวข้องกับโครงการอีกเยอะ' [ล็อควูด] คือหนึ่งในนั้น มันรู้สึกคล้ายการทำหนังภาคต้นแต่ก็ไม่ใช่น่ะนะ ยิ่งเราขุดคุ้ยลึกลงไป ยิ่งพบเรื่องคล้ายๆ ประวัติศาสตร์เบื้องหลัง"
7) เมซี่ ล็อควูด
เหตุผลที่ตัวละครมนุษย์โคลนอยู่ในภาพยนตร์คือ "เราอยากพูดถึงผลกระทบจากพลังด้านเทคโนโลยีพันธุกรรมที่ใหญ่กว่าเดิม ผลกระทบจากศักยภาพของมนุษย์และผลกระทบด้านอารมณ์จากสิ่งนั้น" เทรวอโรว์กล่าวถึงประเด็นหลักของหนัง
"และเรารู้ว่าเราไม่ได้ต้องการจะสร้างหนังเกี่ยวกับอันตรายอันเกิดจากการใช้วิทยาศาสตร์ตามอำเภอใจต่อไปเรื่อยๆ เราต้องการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นหลังเราใช้อำนาจวิทยาศาสตร์ตามอำเภอใจ, เราเปลี่ยนแปลงสิ่งที่โลกเคยเป็นอยู่ และตอนนี้ก็ต้องรับมือกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นตามมา"
เทรวอโรว์มองว่ามีแค่เด็กหญิงเมซี่ที่จะตัดสินใจกดปุ่มปลดปล่อยไดโนเสาร์สู่โลกภายนอก "ผมพบว่ามันสร้างความพึงพอใจอย่างลึกซึ้ง ในการสร้างตัวละครให้แสดงความเป็นมนุษย์ผู้เจอวันแย่ๆ เพราะค้นพบว่าการมีตัวตนของเธอเชื่อมโยงกับเหล่าสรรพสัตว์ และความรู้สึก 'ฉันจะปล่อยพวกเราเป็นอิสระเดี๋ยวนี้' มันก็เกิดจากการทำตามสัญชาตญาณของเด็ก นั่นคือการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือ ? ผมตอบไม่ได้ แต่รู้สึกว่า ณ เวลาดังกล่าวเธอตัดสินใจโดยไม่มีทางเลือก"
ภาพยนตร์แฟรนไชส์จูราสสิค พาร์ค/เวิลด์มีนักแสดงเด็กหน้าใหม่ปรากฏตัว ร่วมวิ่งหนีไดโนเสาร์พร้อมผู้ใหญ่ทุกภาค ซึ่งไม่ใช่จะได้เห็นหน้าเด็กทุกคนในภาคต่ออีกรอบเสมอ แต่คราวนี้เราคงได้พบหน้า 'เมซี่ ล็อควูด' กันอีก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับคู่พระนางประจำเรื่องยังดำเนินต่อหลังหนังจบ
"ผมพบว่าหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องการสร้างครอบครัวคล้ายหนังเทพนิยายของดิสนีย์หลายเรื่อง วิวัฒนาการด้านความสัมพันธ์ของพวกเขาขยับจากการจิกกัดหยอกล้อกันในภาค 1, ในภาค 2 พวกเขาพัฒนาสู่ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ยิ่งกว่าตอนนั้นมาก ทุกสิ่งบ่งชี้สู่บทสรุปว่าพวกเขาพร้อมจะปกป้องและรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น และในหนังภาค 3 ความรับผิดชอบดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่อ"
8) Jurassic World 3
งานประมูลไดโนเสาร์โดนป่วนเสียวอดวาย และเกิดอะไรหลายอย่างระหว่างความวุ่นวาย, คนตายก็เยอะแยะ แต่เทรวอโรว์บอกว่า 'ไอริส' พี่เลี้ยงของเมซี่ผู้ถูกไล่ออกยังมีชีวิตอยู่ ส่วนเรื่องเธอจะมีบทในหนังภาคหน้าหรือไม่ ? เทรวอโรว์ยังไม่แน่ใจนัก
ไอริส
จูราสสิค เวิลด์ภาค 2 จบลงด้วยการปลดปล่อยไดโนเสาร์จำนวนหนึ่งสู่โลกภายนอก แต่ภาค 3 จะไม่ได้เล่นเพียงประเด็นนี้ต่อเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมที่ใช้สร้างพวกมันจะกระจายออกไปสู่มือผู้อื่น หลังจากก่อนหน้านี้มีดร.วู เพียงผู้เดียวสร้างไดโนเสาร์ได้
"ภาคสามจะเน้นเล่าเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่กระจายตัวไปทั่วโลก เราต้องการให้เทคโนโลยีนี้, พลังแห่งพันธุกรรมนี้, กระจายสู่ผู้คนทั่วไปในตอนจบของหนัง เราขอบอกเป็นนัยๆ ว่าไม่ใช่แค่สัตว์หลุดจากกรงพวกนี้เท่านั้นที่เราสนใจ แต่ความสามารถในการสร้างสัตว์พวกนี้เอง ก็จะแพร่ขยายออกไปไกลกว่าดร.วูเพื่อนของเราเล็กน้อย เทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้เหมือนระเบิดนิวเคลียร์, นั่นคือเรื่องน่ากลัวสำหรับผม"
9) Fallen Kingdom ไม่ใช่หนังสัตว์ประหลาด
ถึงจะมีไดโนเสาร์ออกอาละวาดไล่กินคน แต่ผู้กำกับเจ.เอ.บาโยนาให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่ได้มอง Jurassic World: Fallen Kingdom เป็นหนังสัตว์ประหลาด
"เราไม่ได้พูดถึงสัตว์ประหลาดตอนทำหนังจูราสสิค เราพูดถึงเหล่าสรรพสัตว์ และสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจเกี่ยวกับอินโดแรปเตอร์คือมันเป็นตัวต้นแบบที่ผิดพลาด มันเลยไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น เพราะอย่างนั้นคุณเลยทำให้คนดูรู้สึกเห็นใจมันได้หากคุณต้องการ
มีจังหวะหนึ่งซึ่งผมขอให้ไบรซ์ (นางเอก) ถ่ายทอดออกมาหลังยิงปืนเลเซอร์, หลังไดโนเสาร์อินโดแรปเตอร์ตาย, ความรู้สึกโศกเศร้าเพราะความตายของอินโดแรปเตอร์อยู่บนใบหน้าของเธอ เนื่องจากผมรู้สึกแบบนั้นกับอินโดแรปเตอร์จริงๆ เช่นกัน ดังนั้นต่อให้พวกคุณคิดว่านี่มันหนังสัตว์ประหลาดชัดๆ แต่สำหรับผมเรื่องนี้ไม่มีสัตว์ประหลาด มีแค่ผลงานที่มนุษย์สร้างจากเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์"
ที่มา
COMMENTS