สิ่งที่โดดเด่นสุดในภาพยนตร์ชุด John Wick คือฉากบู๊แน่ๆ แต่เอกลักษณ์แท้จริงอันทำให้มันดูมีความ 'เฉพาะตัว' ต่างจากเรื่องราวเกี่ยวกับสั...
สิ่งที่โดดเด่นสุดในภาพยนตร์ชุด John Wick คือฉากบู๊แน่ๆ แต่เอกลักษณ์แท้จริงอันทำให้มันดูมีความ 'เฉพาะตัว' ต่างจากเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมอาชญากรรมบนสื่อบันเทิงอื่นๆ แบบเห็นชัด
มันคือสิ่งที่โดดเด่นรองลงมาอย่าง 'โลกแห่งนักฆ่า' อันวางระบบเอาไว้ได้ดีจนน่าประทับใจ
คนในโลกอาชญากรรมแห่งนี้ดูราวกับแทรกซึมอยู่ในทุกอณูของสังคม
คุณไม่มีทางรู้เลยว่าชายรูปร่างอ้วนท้วนแบบนักซูโม่, นักดนตรีหญิงที่เปิดแสดงข้างทาง, พนักงานทำความสะอาดสถานีรถไฟ หรือคนไร้บ้านนอนข้างถนน จะเป็นนักฆ่าแฝงตัวมา หรือเบื้องหลังคือสมาชิกแก๊งค์อาชญากรที่คุมเมืองอยู่หรือไม่
ซึ่งในหนังภาค 1-2 ก็มีองค์ประกอบบนโลกของ John Wick ที่แสดงให้คนดูเห็นไว้ราวๆ นี้
ดูเหมือนเหล่าองค์กรอาชญากรรมใต้ดิน และบรรดาผู้มีอิทธิพลนอกกฎหมายในโลกของ John Wick ช่างมีอำนาจบาตรใหญ่เสียยิ่งกระไร
เพราะขนาดเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายขั้นรุนแรงระดับมีคนตายหลายศพ หรือไฟไหม้บ้านคนแบบเห็นชัด เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายยังต้องเกรงใจไม่กล้าแทรกแซงเท่าไหร่นัก
สาเหตุอาจมาจากรากฐานที่แข็งแรง เนื่องจากแก๊งค์อาชญากรรมขนาดใหญ่+ทรงอิทธิพลทั่วโลกได้รวมตัวกันก่อตั้งสภาสูงขึ้น
สภาสูงประกอบด้วยคณะปกครอง 12 ที่นั่ง ซึ่งสมาชิกผู้ปกครองมีที่มาจากแก๊งค์ใหญ่ๆ อย่าง คามอรา, เอนดรังเกตา, แก๊งค์คนจีน, แก๊งค์รัสเซีย และพวกมาเฟียอื่นๆ
คาดว่าพวกเขาคือกลุ่มที่มีอำนาจสูงสุดบนโลกอาชญากรรม
คอนทิเนนทัลนั้นหรือ คือชื่อของกิจการโรงแรมแฟรนไชส์หนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดว่ามีสาขาอยู่ในเมืองนิวยอร์ค และกรุงโรม
อย่างไรก็ตาม ความจริงคอนทิเนนทัลน่าจะมีสาขาอยู่ทั่วโลก เพื่อคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานของเหล่านักฆ่าทั่วทุกแห่งหน
มองจากภายนอก คอนทิเนนทัลเป็นโรงแรมแสนดูดีมีสง่าราศีที่คุณพบเห็นได้โดยทั่วไป
แต่เนื้อแท้ของคอนทิเนนทัลนั้นไซร้ คือสถานที่มอบสารพัดบริการทุกระดับสุดประทับใจให้แก่พวกนักฆ่าโดยเฉพาะ
บริการของคอนทิเนนทัลค่อนข้างครบวงจร
เริ่มตั้งแต่ยามคุณ (นักฆ่า) เดินเข้าสู่โรงแรมเพื่อติดต่อขอรับบริการ พนักงานผู้เฝ้าประตู (concierge/กองซีแอจ) จะต้อนรับขับสู้ พร้อมให้คำแนะนำที่สุภาพและเปี่ยมด้วยไมตรี
เวลาเข้าพักก็มีคลับบาร์ให้ไปนั่งดื่มสังสรรค์ และผู้จัดการของโรงแรมจะประจำสถานที่ พร้อมสนทนาธุระสำคัญอยู่เสมอ
ก่อนออกล่าทำภารกิจปลิดชีวิตใคร ควรเตรียมตัวให้พร้อม
คอนทิเนนทัลจัดสรรได้ทั้งแผนผังของสถานที่ซึ่งคุณเล็งไว้ว่าเหมาะเหม็งสำหรับกำจัดเป้าหมาย
แฟชั่นสวยๆ เช่น สูทสั่งตัด สำหรับแอบเนียนเดินเข้าไปลอบสังหารเป้าหมายในงานเลี้ยงเลิศหรู
พร้อมเพิ่มความปลอดภัยแก่ชีวิตด้วยการผลิตซับในแบบกันกระสุน
และอย่าลืมแวะหาซอมเมอลิเยร์ (sommelier) ซึ่ง ณ ที่นี้มิใช่ผู้รู้ด้านไวน์มามอบบริการด้านเครื่องดื่มแต่อย่างใด
เขาจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาวุธเพื่อใช้ลอบสังหารและต่อสู้
ซึ่งคอนทิเนนทัลมีขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมีดเล่มงามจับถนัดมือ, ปืนพก, ปืนลูกซอง หรือปืนกลติดลำกล้องเล็ง ที่ปกติควรเป็นยุทโธปกรณ์ทางการทหาร
เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นลง หากต้องการจัดการอะไรๆ ให้มันเรียบร้อย สามารถเรียกตัวหน่วยเก็บกวาดได้
พวกเขาจะทำหน้าที่ลบร่องรอยทั้งหลายให้หายไปเสมือนมิเคยเกิดความรุนแรงใดๆ, เก็บศพ และทำความสะอาดให้แบบหมดจด
อาชีพนักฆ่าย่อมมาพร้อมความเสี่ยง แต่ไม่ว่าคุณบาดเจ็บประการใด ที่นี่มีหมอรักษา
ซึ่งดีกว่าหาหมอทั่วไปแน่ เนื่องจากเค้าเข้าใจความจำเป็นทางอาชีพของมือสังหารดี
ต่อให้มีธุระโป้งป้างรอสะสางเพิ่มเติมหลังบาดเจ็บ เค้าก็จะจ่ายยาที่คุณกินแล้วไปสู้ต่อไหวมา เพราะรู้ว่าคนไข้พักผ่อนเยียวยาร่างกายให้ฟื้นฟู 100% ก่อนมันไม่ทันเหตุการณ์
เรียกว่าสภาสูงคือผู้ปกครอง ส่วนคอนทิเนนทัลเป็นฝ่ายบริหารของโลกมืดคงได้
คอนทิเนนทอลคอยรักษากฎของวงการให้ศักดิ์สิทธิ์เสมออยู่เช่นกัน
ซึ่งกฎเหล็กระดับห้ามฝ่าฝืนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร (มิฉะนั้นตายแน่) มี 2 ข้อ
[1] คือคอนทิเนนทัล = เขตเป็นกลาง ในโรงแรมงดเว้นทุกความขัดแย้ง นักฆ่าทุกคนต้องงดเว้นเรื่องงานเมื่อเข้าเขตโรงแรม (ห้ามก่อเหตุนองเลือดในนี้เด็ดขาด)
[2] ต้องให้เกียรติตราพันธะ
และการดำเนินกิจการด้านธุรกิจมืดครอบคลุมถึงขั้นนี้ ย่อมต้องมีหน่วยประสานงาน
คอนทิเนนทัลเองก็มีสำนักงานบริหาร คอยดูแลเรื่องต่างๆ อย่างที่กิจการใหญ่ๆ พึงมี
สำนักงานใช้พนักงานหญิงล้วนสวมเครื่องแบบสีชมพูทุกคน ซึ่งไม่แปลกอะไร
แต่เรื่องแปลกคือที่นี่มีโทรศัพท์แบบหมุนตัวเลขเพื่อโทรออก และใช้คอมพิวเตอร์รุ่นดึกดำบรรพ์อย่าง Commodore 64 (รุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปีค.ศ. 1982)
คาดว่าสำนักงานบริหารใช้อุปกรณ์โบราณ เพื่อป้องกันความลับรั่วไหลสู่ผู้คนนอกวงการ
สำหรับโลกของพวกอาชญากร ต่อให้อีกฝ่ายเคยมอบความช่วยเหลือสิ่งใดหรือเคยสัญญิงสัญญาอะไร
หลายคนคงพร้อมหักหลังโดยไม่สนบุญคุณที่ติดค้างไว้ หรือเมินเฉยต่อคำมั่นสัญญาที่ตนลั่นวาจาไป
แต่นั่นไม่ใช่ในโลกของจอห์น วิค หรอก เพราะมันมีตราพันธะ
ทันทีที่คุณใช้เลือดจากนิ้วของตัวเองประทับลงบนตราพันธะร่วมกับอีกฝ่าย
ทางเดียวที่จะหลุดพ้นมัน คือใช้หนี้พันธะซะ
หากอยากลองดีฆ่าผู้ถือตรา, ปฏิเสธใช้หนี้ หรือหนีเพื่อเบี้ยวสัญญา
ความตายเท่านั้นที่รออยู่บนปลายทางข้างหน้า
คอนทิเนนทัลก็รับงานดูแลเรื่องพันธสัญญาอยู่
ผู้จัดการโรงแรมพร้อมเป็นสักขีพยาน ยามทั้งสองฝ่ายสาบานด้วยวัตถุกลมสีเงิน
รวมถึงคอยติดตามว่าพวกเขาให้เกียรติตราพันธะหรือไม่
แชด สตาเฮลสกี้/ผู้กำกับ John Wick: Chapter 2 อธิบายสาเหตุที่เหรียญทองถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนทุกอย่างบนโลกใต้ดินแทนเงินตราทั่วไปไว้ว่า "เหตุผลที่พวกเราใช้เหรียญ เพราะมีตัวอย่างแบบในสงครามเย็นให้เห็น สายลับยุคนั้นใช้เหรียญทองกัน
คุณหลอมมันได้, ตรวจสอบที่มาไม่ได้ และทุกคนยอมรับคุณค่าของทองคำ
เราคิดว่า 'เงินตราสากลคืออะไร ? เหรียญทองใช่ไหม ? เรียบร้อย' แล้วก็ 'ประทับตราแบบพิเศษลงไปละกัน'
เลยได้เหรียญทองไว้เป็นบัตรสมาชิกและจ่ายพวกค่าตอบแทนต่างๆ"
นั่นคือเหรียญทองพิเศษในโลกแห่งนักฆ่าของ John Wick น่าจะมีคุณค่าต่อทุกคนเหมือนเหรียญทองบนโลกความเป็นจริง คงเอาไปแลกอะไรกับใครที่ไหนก็ได้
ทว่าสิ่งที่แตกต่างคือมูลค่าต่อเหรียญ ซึ่งไม่แน่นอนแบบว่า 1 เหรียญ = .... บาท
เหรียญทองจะมีคุณค่าแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณค่าของบุคคลผู้ถือครอง (อย่างที่ผู้กำกับบอกว่ามันคล้ายๆ พวกบัตรสมาชิกด้วย)
ตัวอย่างเช่น สำหรับ จอห์น วิค ใช้เพียง 1 เหรียญทอง ก็สามารถเข้าถึงบริการสั่งตัดสูทสวยๆ พร้อมซับในกันกระสุน
แต่นักฆ่าชื่อแคสเซี่ยนใช้ 1 เหรียญทอง แลกได้เพียงเครื่องดื่มในบาร์เพียงไม่กี่แก้วเท่านั้น
และสำหรับภาค 3 ผู้กำกับแชด สตาเฮลสกี้ ที่ยังทำหน้าที่ต่อ ก็แย้มพรายไว้ว่ามันจะมีองค์ประกอบอีกมากมายมานำเสนอให้ผู้ชมได้ดูอีก เพราะเขาเล่าว่าจะมีทั้ง "ม้า, หมา, แมว, นกกาเหว่า, นกพิราบฝูงใหญ่, ฉากไล่ล่าด้วยมอเตอร์ไซค์, ฉากขับรถไล่ล่า, ฮัลลี่ เบอร์รี่ (โซเฟีย/ตัวละครใหม่), ลอเรนซ์ ฟิชเบิร์น (ราชาแห่งแก๊งค์อาชญากรเมืองนิวยอร์ค), เอียน แมคเชน (ผู้จัดการคอนทิเนนทัลสาขานิวยอร์ค), แลนซ์ เรดดิค (ผู้เฝ้าประตู), ปืนลูกซอง และนินจา"
มันคือสิ่งที่โดดเด่นรองลงมาอย่าง 'โลกแห่งนักฆ่า' อันวางระบบเอาไว้ได้ดีจนน่าประทับใจ
คนในโลกอาชญากรรมแห่งนี้ดูราวกับแทรกซึมอยู่ในทุกอณูของสังคม
คุณไม่มีทางรู้เลยว่าชายรูปร่างอ้วนท้วนแบบนักซูโม่, นักดนตรีหญิงที่เปิดแสดงข้างทาง, พนักงานทำความสะอาดสถานีรถไฟ หรือคนไร้บ้านนอนข้างถนน จะเป็นนักฆ่าแฝงตัวมา หรือเบื้องหลังคือสมาชิกแก๊งค์อาชญากรที่คุมเมืองอยู่หรือไม่
ซึ่งในหนังภาค 1-2 ก็มีองค์ประกอบบนโลกของ John Wick ที่แสดงให้คนดูเห็นไว้ราวๆ นี้
สภาสูง (High Table)
ดูเหมือนเหล่าองค์กรอาชญากรรมใต้ดิน และบรรดาผู้มีอิทธิพลนอกกฎหมายในโลกของ John Wick ช่างมีอำนาจบาตรใหญ่เสียยิ่งกระไร
เพราะขนาดเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายขั้นรุนแรงระดับมีคนตายหลายศพ หรือไฟไหม้บ้านคนแบบเห็นชัด เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายยังต้องเกรงใจไม่กล้าแทรกแซงเท่าไหร่นัก
สาเหตุอาจมาจากรากฐานที่แข็งแรง เนื่องจากแก๊งค์อาชญากรรมขนาดใหญ่+ทรงอิทธิพลทั่วโลกได้รวมตัวกันก่อตั้งสภาสูงขึ้น
สภาสูงประกอบด้วยคณะปกครอง 12 ที่นั่ง ซึ่งสมาชิกผู้ปกครองมีที่มาจากแก๊งค์ใหญ่ๆ อย่าง คามอรา, เอนดรังเกตา, แก๊งค์คนจีน, แก๊งค์รัสเซีย และพวกมาเฟียอื่นๆ
คาดว่าพวกเขาคือกลุ่มที่มีอำนาจสูงสุดบนโลกอาชญากรรม
คอนทิเนนทัล (The Continental)
คอนทิเนนทัลนั้นหรือ คือชื่อของกิจการโรงแรมแฟรนไชส์หนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดว่ามีสาขาอยู่ในเมืองนิวยอร์ค และกรุงโรม
อย่างไรก็ตาม ความจริงคอนทิเนนทัลน่าจะมีสาขาอยู่ทั่วโลก เพื่อคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานของเหล่านักฆ่าทั่วทุกแห่งหน
มองจากภายนอก คอนทิเนนทัลเป็นโรงแรมแสนดูดีมีสง่าราศีที่คุณพบเห็นได้โดยทั่วไป
แต่เนื้อแท้ของคอนทิเนนทัลนั้นไซร้ คือสถานที่มอบสารพัดบริการทุกระดับสุดประทับใจให้แก่พวกนักฆ่าโดยเฉพาะ
บริการของคอนทิเนนทัลค่อนข้างครบวงจร
เริ่มตั้งแต่ยามคุณ (นักฆ่า) เดินเข้าสู่โรงแรมเพื่อติดต่อขอรับบริการ พนักงานผู้เฝ้าประตู (concierge/กองซีแอจ) จะต้อนรับขับสู้ พร้อมให้คำแนะนำที่สุภาพและเปี่ยมด้วยไมตรี
ชารอน ผู้เฝ้าประตู
เวลาเข้าพักก็มีคลับบาร์ให้ไปนั่งดื่มสังสรรค์ และผู้จัดการของโรงแรมจะประจำสถานที่ พร้อมสนทนาธุระสำคัญอยู่เสมอ
วินสตัน ผู้จัดการโรงแรม
ก่อนออกล่าทำภารกิจปลิดชีวิตใคร ควรเตรียมตัวให้พร้อม
คอนทิเนนทัลจัดสรรได้ทั้งแผนผังของสถานที่ซึ่งคุณเล็งไว้ว่าเหมาะเหม็งสำหรับกำจัดเป้าหมาย
แฟชั่นสวยๆ เช่น สูทสั่งตัด สำหรับแอบเนียนเดินเข้าไปลอบสังหารเป้าหมายในงานเลี้ยงเลิศหรู
พร้อมเพิ่มความปลอดภัยแก่ชีวิตด้วยการผลิตซับในแบบกันกระสุน
และอย่าลืมแวะหาซอมเมอลิเยร์ (sommelier) ซึ่ง ณ ที่นี้มิใช่ผู้รู้ด้านไวน์มามอบบริการด้านเครื่องดื่มแต่อย่างใด
เขาจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาวุธเพื่อใช้ลอบสังหารและต่อสู้
ซึ่งคอนทิเนนทัลมีขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมีดเล่มงามจับถนัดมือ, ปืนพก, ปืนลูกซอง หรือปืนกลติดลำกล้องเล็ง ที่ปกติควรเป็นยุทโธปกรณ์ทางการทหาร
เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นลง หากต้องการจัดการอะไรๆ ให้มันเรียบร้อย สามารถเรียกตัวหน่วยเก็บกวาดได้
พวกเขาจะทำหน้าที่ลบร่องรอยทั้งหลายให้หายไปเสมือนมิเคยเกิดความรุนแรงใดๆ, เก็บศพ และทำความสะอาดให้แบบหมดจด
อาชีพนักฆ่าย่อมมาพร้อมความเสี่ยง แต่ไม่ว่าคุณบาดเจ็บประการใด ที่นี่มีหมอรักษา
ซึ่งดีกว่าหาหมอทั่วไปแน่ เนื่องจากเค้าเข้าใจความจำเป็นทางอาชีพของมือสังหารดี
ต่อให้มีธุระโป้งป้างรอสะสางเพิ่มเติมหลังบาดเจ็บ เค้าก็จะจ่ายยาที่คุณกินแล้วไปสู้ต่อไหวมา เพราะรู้ว่าคนไข้พักผ่อนเยียวยาร่างกายให้ฟื้นฟู 100% ก่อนมันไม่ทันเหตุการณ์
เรียกว่าสภาสูงคือผู้ปกครอง ส่วนคอนทิเนนทัลเป็นฝ่ายบริหารของโลกมืดคงได้
คอนทิเนนทอลคอยรักษากฎของวงการให้ศักดิ์สิทธิ์เสมออยู่เช่นกัน
ซึ่งกฎเหล็กระดับห้ามฝ่าฝืนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร (มิฉะนั้นตายแน่) มี 2 ข้อ
[1] คือคอนทิเนนทัล = เขตเป็นกลาง ในโรงแรมงดเว้นทุกความขัดแย้ง นักฆ่าทุกคนต้องงดเว้นเรื่องงานเมื่อเข้าเขตโรงแรม (ห้ามก่อเหตุนองเลือดในนี้เด็ดขาด)
[2] ต้องให้เกียรติตราพันธะ
และการดำเนินกิจการด้านธุรกิจมืดครอบคลุมถึงขั้นนี้ ย่อมต้องมีหน่วยประสานงาน
คอนทิเนนทัลเองก็มีสำนักงานบริหาร คอยดูแลเรื่องต่างๆ อย่างที่กิจการใหญ่ๆ พึงมี
สำนักงานใช้พนักงานหญิงล้วนสวมเครื่องแบบสีชมพูทุกคน ซึ่งไม่แปลกอะไร
แต่เรื่องแปลกคือที่นี่มีโทรศัพท์แบบหมุนตัวเลขเพื่อโทรออก และใช้คอมพิวเตอร์รุ่นดึกดำบรรพ์อย่าง Commodore 64 (รุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปีค.ศ. 1982)
คาดว่าสำนักงานบริหารใช้อุปกรณ์โบราณ เพื่อป้องกันความลับรั่วไหลสู่ผู้คนนอกวงการ
ตราพันธะ (Markers)
สำหรับโลกของพวกอาชญากร ต่อให้อีกฝ่ายเคยมอบความช่วยเหลือสิ่งใดหรือเคยสัญญิงสัญญาอะไร
หลายคนคงพร้อมหักหลังโดยไม่สนบุญคุณที่ติดค้างไว้ หรือเมินเฉยต่อคำมั่นสัญญาที่ตนลั่นวาจาไป
แต่นั่นไม่ใช่ในโลกของจอห์น วิค หรอก เพราะมันมีตราพันธะ
ทันทีที่คุณใช้เลือดจากนิ้วของตัวเองประทับลงบนตราพันธะร่วมกับอีกฝ่าย
ทางเดียวที่จะหลุดพ้นมัน คือใช้หนี้พันธะซะ
หากอยากลองดีฆ่าผู้ถือตรา, ปฏิเสธใช้หนี้ หรือหนีเพื่อเบี้ยวสัญญา
ความตายเท่านั้นที่รออยู่บนปลายทางข้างหน้า
คอนทิเนนทัลก็รับงานดูแลเรื่องพันธสัญญาอยู่
ผู้จัดการโรงแรมพร้อมเป็นสักขีพยาน ยามทั้งสองฝ่ายสาบานด้วยวัตถุกลมสีเงิน
รวมถึงคอยติดตามว่าพวกเขาให้เกียรติตราพันธะหรือไม่
เหรียญทอง
แชด สตาเฮลสกี้/ผู้กำกับ John Wick: Chapter 2 อธิบายสาเหตุที่เหรียญทองถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนทุกอย่างบนโลกใต้ดินแทนเงินตราทั่วไปไว้ว่า "เหตุผลที่พวกเราใช้เหรียญ เพราะมีตัวอย่างแบบในสงครามเย็นให้เห็น สายลับยุคนั้นใช้เหรียญทองกัน
คุณหลอมมันได้, ตรวจสอบที่มาไม่ได้ และทุกคนยอมรับคุณค่าของทองคำ
เราคิดว่า 'เงินตราสากลคืออะไร ? เหรียญทองใช่ไหม ? เรียบร้อย' แล้วก็ 'ประทับตราแบบพิเศษลงไปละกัน'
เลยได้เหรียญทองไว้เป็นบัตรสมาชิกและจ่ายพวกค่าตอบแทนต่างๆ"
นั่นคือเหรียญทองพิเศษในโลกแห่งนักฆ่าของ John Wick น่าจะมีคุณค่าต่อทุกคนเหมือนเหรียญทองบนโลกความเป็นจริง คงเอาไปแลกอะไรกับใครที่ไหนก็ได้
ทว่าสิ่งที่แตกต่างคือมูลค่าต่อเหรียญ ซึ่งไม่แน่นอนแบบว่า 1 เหรียญ = .... บาท
เหรียญทองจะมีคุณค่าแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณค่าของบุคคลผู้ถือครอง (อย่างที่ผู้กำกับบอกว่ามันคล้ายๆ พวกบัตรสมาชิกด้วย)
ตัวอย่างเช่น สำหรับ จอห์น วิค ใช้เพียง 1 เหรียญทอง ก็สามารถเข้าถึงบริการสั่งตัดสูทสวยๆ พร้อมซับในกันกระสุน
แต่นักฆ่าชื่อแคสเซี่ยนใช้ 1 เหรียญทอง แลกได้เพียงเครื่องดื่มในบาร์เพียงไม่กี่แก้วเท่านั้น
และสำหรับภาค 3 ผู้กำกับแชด สตาเฮลสกี้ ที่ยังทำหน้าที่ต่อ ก็แย้มพรายไว้ว่ามันจะมีองค์ประกอบอีกมากมายมานำเสนอให้ผู้ชมได้ดูอีก เพราะเขาเล่าว่าจะมีทั้ง "ม้า, หมา, แมว, นกกาเหว่า, นกพิราบฝูงใหญ่, ฉากไล่ล่าด้วยมอเตอร์ไซค์, ฉากขับรถไล่ล่า, ฮัลลี่ เบอร์รี่ (โซเฟีย/ตัวละครใหม่), ลอเรนซ์ ฟิชเบิร์น (ราชาแห่งแก๊งค์อาชญากรเมืองนิวยอร์ค), เอียน แมคเชน (ผู้จัดการคอนทิเนนทัลสาขานิวยอร์ค), แลนซ์ เรดดิค (ผู้เฝ้าประตู), ปืนลูกซอง และนินจา"
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
COMMENTS