รายได้ประมาณการวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2017 ของภาพยนตร์ที่ฉายในสหรัฐอเมริกา Star Wars: The Last Jedi ยังคงครองอันดับหนึ่งไว้ตามความคาดหมาย แ...
รายได้ประมาณการวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2017 ของภาพยนตร์ที่ฉายในสหรัฐอเมริกา Star Wars: The Last Jedi ยังคงครองอันดับหนึ่งไว้ตามความคาดหมาย
แต่เรื่องน่าสนใจคือ "Jumanji: Welcome to the Jungle" หนังภาคต่อกึ่งยกเครื่องใหม่ของ Jumanji ภาคแรก(1995) ที่คนน่าจะไม่ค่อยชอบกัน เพราะดูจากตัวอย่าง แล้วคงเป็นการผจญภัยมันๆ ฮาๆในโลกวิดีโอเกมแบบสูตรสำเร็จ(ผจญภัยสนุกสนานฮาเฮเสร็จก็แยกย้ายกันกลับบ้าน จบแบบแฮปปี้มีความสุขอะไรทำนองนั้น)
แถมขัดใจแฟนหนังภาคแรกที่เนื้อหาดั้งเดิมเป็นเรื่องของเหล่าตัวละครจากเกมกระดานออกมาป่วนโลกแห่งความเป็นจริง
ทว่า Jumanji ภาคต่อ ดันทำเงินเปิดตัววันแรกดีกว่า หนังมิวสิคัลเน้นเพลงไพเราะซึ่งช่วงนี้ไม่ค่อยมีและคนน่าจะคิดถึงกันอย่าง "The Greatest Showman" เสียอีก
The Last Jedi 16.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Jumanji: Welcome to the Jungle 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
The Greatest Showman 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา: boxofficemojo.com
บางคนอาจบอกว่าเดอะร็อค(ดเวย์น จอห์นสัน)นักแสดงนำ Jumanji ดึงดูดคนดูได้มากกว่า ฮิวจ์ แจ็คแมน กับแซ็ค เอฟรอนจาก The Greatest Showman
บางคนอาจบอกว่าหนังผจญภัย-ตลก-แอ็คชั่นดึงดูดคนได้มากกว่าหนังเพลงย้อนยุค
แต่ผมอยากบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ "คำวิจารณ์ส่งผลต่อรายได้ภาพยนตร์" ในสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญ (เพราะคำวิจารณ์ของ Jumanji ที่ปล่อยก่อนหนังฉายออกมาดีทีเดียว)
ขัดกับงานวิจัยที่ว่า Rotten Tomatoes (เว็บไซต์รวมคำวิจารณ์หนังชื่อดัง) ไม่มีผลต่อรายได้หนังในอเมริกา
http://variety.com/2017/film/news/rotten-tomatoes-scores-dont-impact-box-office-study-finds-1202554546/
จะบอกว่าขัดกันไปหมดเลยอาจเกินไปหน่อย สาระสำคัญของงานวิจัยนี้เท่าที่อ่านดูคือ
คนดูกับนักวิจารณ์มักให้คะแนนหนังในทิศทางเดียวกัน
และ หนังทำเงินที่จริงแล้วเป็นหนังคำวิจารณ์กลางๆ
ซึ่งตีความได้ว่า คนดูไม่ได้ชอบหนังเพราะคำวิจารณ์
และคำวิจารณ์หนังไม่ต้องดีจริงๆ ก็ทำเงินได้
เพียงแต่มันไม่ได้หมายความว่า "คำวิจารณ์ไม่ส่งผลต่อรายได้เปิดตัวของภาพยนตร์" อันเป็นโอกาสทำเงินสูงสุดของหนัง (ถ้าเปิดตัวไม่แรงพอย่อมเจ็บหนัก รายได้รวมย่อมลดลงแน่นอน)
คือภาพยนตร์แย่ๆ สมัยสังคมอินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย คำวิจารณ์ของนักวิจารณ์มาถึงคนดูช้า-ไม่ทันส่งผลต่อคนดูหนังช่วงอาทิตย์แรก หนังยังสามารถเก็บรายได้เข้ากระเป๋ามากพอสมควร-ผู้สร้างหนังเจ็บตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ขณะที่ปัจจุบันหากคำวิจารณ์ก่อนฉายออกมาแย่ หนังแย่ๆ จะหมดโอกาสโกยเงิน-ผู้สร้างหนังเจ็บหนัก-หมอไม่รับเย็บเลยทีเดียว :P
อย่างไรก็ตามการสร้างหนังคือธุรกิจ-เงินรายได้คือชีวิต ผู้สร้างภาพยนตร์จึงต้องหาทางรับมือ ทางออกของปัญหาอย่างหนึ่งเป็นสิ่งที่ค่ายหนังใหญ่ๆ ทุกค่ายเวลานี้พยายามทำ "การสร้างหนังแฟรนไชส์-Franchise" นั่นเอง
หนังแฟรนไชส์คือบรรดาหนังที่มีภาคต่อหรือภาคแยกตามออกมาหลายภาค หรือหนังหลายเรื่องที่เนื้อหาเชื่อมโยง-ส่งผลกระทบต่อกัน หากสร้างภาพยนตร์ดีๆ มีความต่อเนื่องออกมาได้สัก 2-3 ภาค ผู้ชมย่อมต้องการติดตามเรื่องราวและตัวละครที่พวกเขาคุ้นเคย, องค์ประกอบที่พวกเขาชื่นชอบด้วยความลังเลน้อยลง ความเสีี่ยงในการขาดทุน-เจ็บตัวของผู้สร้างหนังย่อมน้อยตาม
จึงมีความพยายามสร้างหนังแฟรนไชส์หลายๆ แบบ เช่น
- สร้างหนังภาคต่อหรือภาคแยก จากหนังที่ได้รับความนิยม
- สร้างหนังทีี่มีเรื่องราวจากสื่ออื่น(เกม, การ์ตูน, นิยาย) มีเนื้อหาต้นฉบับให้เล่นยาวๆ มีฐานคนดูอยู่แล้ว
- นำหนังที่ทิ้งช่วงนานมาปลุกผี สานต่อเรื่องราวเพิ่มเติม
ทว่าการสร้างหนังแฟรนไชส์ติดตลาดสักชุดไม่ใช่เรื่องง่าย
หลายเรื่องตั้งใจสร้างแฟรนไชส์ดิบดีดันดับตั้งแต่ 1-2 ภาคแรก
บางแฟรนไชส์ออกมาหลายเรื่อง แต่คุณภาพไม่ดีสัก 2-3 เรื่อง แฟรนไชส์ก็พร้อมดับได้ทุกเมื่อ
พวกเรื่องที่ทิ้งช่วงนาน บางทีก็ปลุกผีไม่ขึ้น
สาเหตุไม่ได้เข้าใจยาก เพราะสิ่งที่คนดูต้องการหนีไม่พ้น "ภาพยนตร์ดีๆ มีคุณภาพ" คนดูไม่ได้ติดตามหนังแฟรนไชส์ด้วยความชื่นชอบเสียจนมองข้ามคุณภาพหนัง(อย่างที่ผู้สร้างหนังฮอลลีวู้ดบางคนน่าจะต้องการ)
หนังแฟรนไชส์เป็นแค่วิธี "ลดความเสี่ยง" ในการลงทุนสร้างภาพยนตร์ ท่ามกลางยุคสมัยแห่งอินเตอร์เน็ต-คำวิจารณ์ส่งถึงผู้ชมไวกว่าเดิม สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ต้องทำคือ "การสร้างหนังดีมีคุณภาพ" ออกมาให้ได้ ไม่ว่าจะยากเย็นแค่ไหนก็ตาม
แต่เรื่องน่าสนใจคือ "Jumanji: Welcome to the Jungle" หนังภาคต่อกึ่งยกเครื่องใหม่ของ Jumanji ภาคแรก(1995) ที่คนน่าจะไม่ค่อยชอบกัน เพราะดูจากตัวอย่าง แล้วคงเป็นการผจญภัยมันๆ ฮาๆในโลกวิดีโอเกมแบบสูตรสำเร็จ(ผจญภัยสนุกสนานฮาเฮเสร็จก็แยกย้ายกันกลับบ้าน จบแบบแฮปปี้มีความสุขอะไรทำนองนั้น)
แถมขัดใจแฟนหนังภาคแรกที่เนื้อหาดั้งเดิมเป็นเรื่องของเหล่าตัวละครจากเกมกระดานออกมาป่วนโลกแห่งความเป็นจริง
Jumanji: Welcome to the Jungle (ตัวอย่างที่ 2 Official Trailer) ซับไทย
Jumanji (1995) - Trailer
ทว่า Jumanji ภาคต่อ ดันทำเงินเปิดตัววันแรกดีกว่า หนังมิวสิคัลเน้นเพลงไพเราะซึ่งช่วงนี้ไม่ค่อยมีและคนน่าจะคิดถึงกันอย่าง "The Greatest Showman" เสียอีก
The Last Jedi 16.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Jumanji: Welcome to the Jungle 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
The Greatest Showman 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา: boxofficemojo.com
บางคนอาจบอกว่าเดอะร็อค(ดเวย์น จอห์นสัน)นักแสดงนำ Jumanji ดึงดูดคนดูได้มากกว่า ฮิวจ์ แจ็คแมน กับแซ็ค เอฟรอนจาก The Greatest Showman
บางคนอาจบอกว่าหนังผจญภัย-ตลก-แอ็คชั่นดึงดูดคนได้มากกว่าหนังเพลงย้อนยุค
ความสัมพันธ์ของรายได้ กับคำวิจารณ์
ขัดกับงานวิจัยที่ว่า Rotten Tomatoes (เว็บไซต์รวมคำวิจารณ์หนังชื่อดัง) ไม่มีผลต่อรายได้หนังในอเมริกา
http://variety.com/2017/film/news/rotten-tomatoes-scores-dont-impact-box-office-study-finds-1202554546/
จะบอกว่าขัดกันไปหมดเลยอาจเกินไปหน่อย สาระสำคัญของงานวิจัยนี้เท่าที่อ่านดูคือ
คนดูกับนักวิจารณ์มักให้คะแนนหนังในทิศทางเดียวกัน
และ หนังทำเงินที่จริงแล้วเป็นหนังคำวิจารณ์กลางๆ
ซึ่งตีความได้ว่า คนดูไม่ได้ชอบหนังเพราะคำวิจารณ์
และคำวิจารณ์หนังไม่ต้องดีจริงๆ ก็ทำเงินได้
เพียงแต่มันไม่ได้หมายความว่า "คำวิจารณ์ไม่ส่งผลต่อรายได้เปิดตัวของภาพยนตร์" อันเป็นโอกาสทำเงินสูงสุดของหนัง (ถ้าเปิดตัวไม่แรงพอย่อมเจ็บหนัก รายได้รวมย่อมลดลงแน่นอน)
คือภาพยนตร์แย่ๆ สมัยสังคมอินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย คำวิจารณ์ของนักวิจารณ์มาถึงคนดูช้า-ไม่ทันส่งผลต่อคนดูหนังช่วงอาทิตย์แรก หนังยังสามารถเก็บรายได้เข้ากระเป๋ามากพอสมควร-ผู้สร้างหนังเจ็บตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ขณะที่ปัจจุบันหากคำวิจารณ์ก่อนฉายออกมาแย่ หนังแย่ๆ จะหมดโอกาสโกยเงิน-ผู้สร้างหนังเจ็บหนัก-หมอไม่รับเย็บเลยทีเดียว :P
อย่างไรก็ตามการสร้างหนังคือธุรกิจ-เงินรายได้คือชีวิต ผู้สร้างภาพยนตร์จึงต้องหาทางรับมือ ทางออกของปัญหาอย่างหนึ่งเป็นสิ่งที่ค่ายหนังใหญ่ๆ ทุกค่ายเวลานี้พยายามทำ "การสร้างหนังแฟรนไชส์-Franchise" นั่นเอง
การสร้างหนังแฟรนไชส์
จึงมีความพยายามสร้างหนังแฟรนไชส์หลายๆ แบบ เช่น
- สร้างหนังภาคต่อหรือภาคแยก จากหนังที่ได้รับความนิยม
- สร้างหนังทีี่มีเรื่องราวจากสื่ออื่น(เกม, การ์ตูน, นิยาย) มีเนื้อหาต้นฉบับให้เล่นยาวๆ มีฐานคนดูอยู่แล้ว
- นำหนังที่ทิ้งช่วงนานมาปลุกผี สานต่อเรื่องราวเพิ่มเติม
ทว่าการสร้างหนังแฟรนไชส์ติดตลาดสักชุดไม่ใช่เรื่องง่าย
หลายเรื่องตั้งใจสร้างแฟรนไชส์ดิบดีดันดับตั้งแต่ 1-2 ภาคแรก
บางแฟรนไชส์ออกมาหลายเรื่อง แต่คุณภาพไม่ดีสัก 2-3 เรื่อง แฟรนไชส์ก็พร้อมดับได้ทุกเมื่อ
พวกเรื่องที่ทิ้งช่วงนาน บางทีก็ปลุกผีไม่ขึ้น
สาเหตุไม่ได้เข้าใจยาก เพราะสิ่งที่คนดูต้องการหนีไม่พ้น "ภาพยนตร์ดีๆ มีคุณภาพ" คนดูไม่ได้ติดตามหนังแฟรนไชส์ด้วยความชื่นชอบเสียจนมองข้ามคุณภาพหนัง(อย่างที่ผู้สร้างหนังฮอลลีวู้ดบางคนน่าจะต้องการ)
หนังแฟรนไชส์เป็นแค่วิธี "ลดความเสี่ยง" ในการลงทุนสร้างภาพยนตร์ ท่ามกลางยุคสมัยแห่งอินเตอร์เน็ต-คำวิจารณ์ส่งถึงผู้ชมไวกว่าเดิม สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ต้องทำคือ "การสร้างหนังดีมีคุณภาพ" ออกมาให้ได้ ไม่ว่าจะยากเย็นแค่ไหนก็ตาม
COMMENTS