ภาพยนตร์ชุดพยัคฆ์ร้าย 007 แทบจะเป็นเอกสิทธิ์ของอีออนโปรดักชั่นส์ แต่เพียงผู้เดียว (สมัยก่อน มีการผลิตหนังบอนด์โดยค่ายอื่นเรื่องสองเรื่อง) ...
ภาพยนตร์ชุดพยัคฆ์ร้าย 007 แทบจะเป็นเอกสิทธิ์ของอีออนโปรดักชั่นส์ แต่เพียงผู้เดียว (สมัยก่อน มีการผลิตหนังบอนด์โดยค่ายอื่นเรื่องสองเรื่อง)
ซึ่งหากนับรวม No Time to Die แล้วจะมีภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ โดยอีออนทั้งหมด 25 เรื่อง
บทความจะพาคุณย้อนกลับไปมองวันวาน ของผลงานอีออนที่ใช้ดารานำเป็น ฌอน คอนเนอรี่ & จอร์จ ลาเซนบี้, ตามรายการดังต่อไปนี้
ฌอน คอนเนอรี่
- Dr. No (1962)
- From Russia with Love (1963)
- Goldfinger (1964)
- Thunderball (1965)
- You Only Live Twice (1967)
- Diamonds Are Forever (1971)
จอร์จ ลาเซนบี้
- On Her Majesty's Secret Service (1969)
Dr. No (1962)
ฮอลลีวูดช่วงปี 60s ยังเน้นผลิตหนังจบในตัว ดูเสร็จ 1 เรื่องก็แยกย้ายทางใครทางมัน
แต่อาจเพราะต้นฉบับของด็อกเตอร์โนคือหนังสือ 1 เล่ม (จากนิยายชุดซึ่งตอนหนังฉายมีอยู่ประมาณ 10 เล่มแล้ว)... มันจึงพร้อมจะเป็น "จุดเริ่มต้นของแฟรนไชส์"
ค่ายอีออนที่หัวหอกแบบ อัลเบิร์ต บร็อคโคลี่กับแฮรี่ ซอลซ์แมน (Albert Broccoli and Harry Saltzman) เคยเป็นคู่แข่งกันมาก่อน, ผนึกกำลังกันดัดแปลง ผลงานจากปลายปากกาของเอียน เฟลมมิง
บอนด์ (คอนเนอรี่) ถูกส่งไปจาไมก้า เพื่อสืบสวนเกี่ยวกับการหายตัวปริศนาของจารชนคนอื่น ๆ
และด้วยความช่วยเหลือของฮันนี่ ไรเดอร์ (เออร์ซูล่า แอนเดรส) เขาก็พร้อมทำลายแผนการชั่วร้ายของดร. โน (โจเซฟ ไวส์แมน) ผู้หมายครอบครองโลก
ภาคแรกมีองค์ประกอบตามสูตร ซึ่งหนังบอนด์จะใช้ซ้ำอีกหลายครั้งอยู่ครบ
ทั้งตัวโกงที่สนุกกับการเฉลยแผนตัวเอง, รังของวายร้ายที่ใหญ่โตอลังการ, สาวบอนด์สุดแซ่บ, แอ็คชั่นสุดปัง และเพลงธีมอมตะที่ประพันธ์โดยมอร์ตี้ นอร์แมน (Monty Norman)
From Russia With Love (1963)
เพราะความสำเร็จของภาคแรก, เจมส์ บอนด์เลยเว้นวรรคเพียง 1 ปี ก่อนจะกลับมาวาดลวดลายบนแผ่นฟิล์ม
คอนเนอรี่คืนสังเวียน เช่นเดียวกับผกก. Dr. No (เทอเรนซ์ ยัง/Terence Young)
บอนด์ต้องสนับสนุนการหลบหนีของ ทาเทียน่า โรมาโนวา (เสมียนสถานกงสุลโซเวียต) จากคนขององค์กรร้ายสเปกเตอร์
เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ จะได้เครื่องถอดรหัสลับ
สมัยโน้นผู้ชมตลาดอเมริกา สนใจหนังบอนด์ภาค 2 กันเต็มพิกัด, เพราะประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ บอกว่า From Russia With Love คือนิยายเล่มโปรดของเขา
และภาคนี้เป็นครั้งแรกที่ จอห์น แบรี่/ผู้ประพันธ์ดนตรี (ซึ่งอยู่กับแฟรนไชส์ต่อยันช่วงปี 80s)
กับเดสมอนด์ เลเวลีน (Desmond Llewellyn) ผู้รับบท "คิว" (ซึ่งหลังจากนี้จะยึดบทยาวมาก)...โผล่มาร่วมวง
Goldfinger (1964)
ภาคที่ 3 ของหนังบอนด์คือความสำเร็จระดับ 'ปรากฏการณ์' ครั้งแรกของแฟรนไชส์
กาย แฮมิลตัน (ซึ่งอนาคต มีวนกลับมารับงานอีก) คือผู้กำกับ
ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ วางแผนใช้นิวเคลียร์ ทำให้ทองมหาศาลในคลังลับสหรัฐฯ (ฟอร์ธน็อกซ์) ปนเปื้อนรังสี
เพื่อเพิ่มมูลค่าทองที่ตนครอบครอง และกลายเป็นผู้ชี้นำโลก
โกลด์ฟิงเกอร์นำเทรนด์ใหม่ ที่หนังบอนด์ยุคหลังจะเอาไปใช้ต่อ เข้ามาเพิ่ม
เช่น การที่สาวบอนด์บางคนโดนตัวร้ายเก็บ ให้ 007 เศร้าเล่น
หรือตัวร้ายไม่เฉลยแผนเฉยๆ แต่เพิ่มกิจกรรมทารุณพยัคฆ์ร้ายสายลับเข้าไปด้วย
กรณีของโกลด์ฟิงเกอร์คือตรึง 007 ไว้บนโต๊ะเหล็ก แล้วยิงแสงเลเซอร์ใส่โต๊ะ, พร้อมกับค่อยๆ เลื่อนลำแสง เข้าสู่เป้ากางเกงของเจมส์ บอนด์
Thunderball (1965)
องค์กร SPECTRE ขโมยหัวรบนิวเคลียร์ไปและขู่ว่าจะระเบิดสถานที่สำคัญ เว้นแต่ทางการจะยอมจ่ายค่าไถ่
แต่แน่นอนว่า มันกลายเป็นสเปกเตอร์ต้องเผชิญหน้า 007 อีกครั้งแทน
อันที่จริงเบื้องหลังแฟรนไชส์สายลับพระกาฬ เกิดความขัดแย้งเนืองๆ เสมอ
เนื่องจากพันธมิตรระหว่าง อัลเบิร์ต บร็อคโคลี่ กับแฮรี่ ซอลซ์แมน, เกิดขึ้นเพียงเพื่อรักษาสิทธิ์ในการดัดแปลงงานเฟลมมิง ไว้ให้มั่น
ปัญหาของผลงานนี้เริ่มจากการที่ 'เควิน แมกคลอรี่ & แจ็ค วิททิงแฮม' เคยพัฒนาบทธันเดอร์บอลขึ้น เพื่ออีออน...
ก่อนโครงการโดนยกเลิก และเฟลมมิงเอาบทชุดนี้ไปทำนิยายเล่มนึงขาย
แมกคลอรี่ & วิททิงแฮม ฟ้องร้องเฟลมมิง, เรียกร้องสิทธิ์ร่วมในผลงาน
ผลการตัดสินของศาล ส่งผลให้แมกคลอรี่มีสิทธิ์ในธันเดอร์บอลด้วย
และเวลาต่อมาเขาเอาเนื้อเรื่องธันเดอร์บอล ไปผลิตเป็นภาพยนตร์บอนด์อีกเรื่อง (ที่แค่เปลี่ยนชื่อ) อย่าง Never Say Never Again (1983) ได้
กรณีคล้ายกันคือ Casino Royale ที่ก็อยู่เหนือการควบคุมโดยสมบูรณ์ของอีออน
เพราะแต่เดิมมันถูกเฟลมมิงขายไป เพื่อทำเป็นซีรีส์โทรทัศน์ตอนนึงในปี 1954
You Only Live Twice (1967)
มันเคยถูกกำหนดให้เป็นบอนด์ภาคสุดท้ายของฌอน คอนเนอรี
ยานอวกาศของอเมริกากับรัสเซีย สูญหายไปในบริเวณเดียวกัน, จนความสัมพันธ์อันย่ำแย่ของขั้วตรงข้ามในสงครามเย็น ใกล้ถึงจุดแตกหัก
แต่ MI6 เชื่อว่านี่คือกับดักขององค์กร SPECTRE จึงเป็นหน้าที่ 007 พิสูจน์
ผู้กำกับคือลูอิส กิลเบิร์ต ที่อนาคตมีโอกาสร่วมงานกับโรเจอร์ มัวร์
และภาคนี้คือครั้งแรกที่เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (บอสของสเปกเตอร์) เผยหน้าตา
หลังจากหนังภาคก่อนๆ คนดูเห็นแค่เค้าร่างของชายผู้เลี้ยงแมว มาตลอด
On Her Majesty's Secret Service (1969)
ผลงานเรื่องเดียวจอดของจอร์จ ลาเซนบี, ชายผู้ไม่เคยมีประวัติทางการแสดงก่อนหน้า
โดยแผนเดิมของอีออนคือใช้ 'โรเจอร์ มัวร์' เป็นบอนด์คนที่ 2 และถ่าย The Man With the Golden Gun ในกัมพูชา
ทว่าสงครามเวียดนามส่งผลให้ทำตามแผนมิได้, โรเจอร์ มัวร์ เลยโบกมือลาไป (ชั่วคราว)
เมื่อใช้บริการมัวร์ไม่ได้, อีออนจึงดำริจะลองใช้ดาราโนเนม
เพราะมีความเป็นไปได้ที่คนดู... อาจสนใจตัวดาราผู้ดังอยู่แล้ว มากกว่าบอนด์ (ตอนนั้นมัวร์ดังอยู่แล้ว ในวงการโทรทัศน์)
อีกทั้งลาเซนบี้ก็มีรูปร่างใกล้เคียงฌอน คอนเนอรี่, ซึ่งหมายความว่าใช้เสื้อผ้า และอุปกรณ์เดิมต่อได้ทันที (ประหยัดงบไปอีก)
บอนด์ปะทะโบลเฟลด์เพื่อขัดขวาง แผนแพร่เชื้อโรคใส่แหล่งทรัพยากรหลักของโลก
โดยเซอร์ไพรส์ของภาค คือสายลับพระกาฬพบรักแท้ จริงจังถึงขั้น "แต่งงาน" กับเคาน์เตส เทรซี่ ดิ วิเซนโซ่ (ไดอาน่า ริกก์) ก่อนเธอจบชีวิตเพราะวายร้าย
ส่วนลาเซนบี้ปรากฏข่าวลือภายหลังว่า เขาเป็นคนที่ร่วมงานด้วยยาก
หนังภาคนี้ไม่ทำเงิน และหลังจากนั้นเขาปฏิเสธจะหวนคืนบทเดิมด้วย, แฟรนไชส์บอนด์เลยต้องไปต่อ โดยไร้ลาเซนบี้
Diamonds Are Forever (1971)
คนของอีออนควานหาดารา มาแทนลาเซนบี้กันให้ควั่ก
แต่เดวิด พิคเกอร์/หัวหน้ายูไนเต็ด อาร์ตติส สตูดิโอ (United Artists Studio) ปฏิเสธตัวเลือกทั้งหลายเรียบ
และยืนกรานว่ามีเพียงฌอน คอนเนอรี่ที่ใช่ สำหรับเขา
คอนเนอรี่จึงเป็นบอนด์อีกคำรบ โดยเงื่อนไขคือค่าจ้าง 2 ล้านดอลลาร์ ที่เขาขอบริจาค แก่สหกรณ์เพื่อการศึกษานานาชาติของสก็อต (Scottish International Education Trust)
ผกก.กาย แฮมิลตัน คืนสนามหลังกำกับ Goldfinger และภาพยนตร์บอนด์กลับมาทำรายได้งาม
แต่ปัญหาเรื่องดารานี่ ทำให้ผู้สร้างขยาดพอควร
จนหนังบอนด์ยุคถัดไปใช้บริการโรเจอร์ มัวร์ยาวเหยียด
ที่มา: ultimateclassicrock
COMMENTS