ภาพยนตร์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์อันโด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น 'ก็อดซิลลา' ภาคแรก เป็นหนังขาวดำที่เผยแพร่เมื่อค.ศ. 1954 และมันก็ไ...
ภาพยนตร์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์อันโด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น 'ก็อดซิลลา' ภาคแรก เป็นหนังขาวดำที่เผยแพร่เมื่อค.ศ. 1954
และมันก็ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมีการผลิตผลงานซึ่งเกี่ยวข้องกับก็อดซิลลาออกมาอีกเรื่อยๆ
หลังภาพยนตร์ถูกเผยแพร่เกือบ 30 เรื่อง, หนังก็อดซิลลาของทางญี่ปุ่นก็หยุดพักได้ราว 10 ปี (ภาคสุดท้ายก่อนเว้นช่วงคือ Godzilla: Final Wars ที่ฉายค.ศ. 2004)
ก่อนภาพยนตร์ก็อดซิลลาฉบับฮอลลีวูดซึ่งคนฝั่งซีกโลกตะวันตกเป็นผู้ผลิต
'Godzilla' ปี 2014 ที่ผู้กำกับกาเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส์สร้าง จะได้ฉาย
แม้หนังใช้กลวิธีเล่าเรื่องแบบแอบซ่อนตัวก็อดซิลลากับศัตรูของมันเกือบตลอดเรื่อง
แต่ก็อดซิลลา 2014 ก็ทำรายรับรวมทั่วโลกสูงถึง 529 ล้านดอลลาร์
หนังทุนสร้าง 160 ล้านจึงถูกมองว่ามีศักยภาพพอจะจุดประกายแฟรนไชส์ใหม่
Godzilla 2014 เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ 'จักรวาลหนังสัตว์ประหลาด' (The MonsterVerse)
และแผนการที่ทางผู้สร้างวางไว้ คือปล่อยหนังของสัตว์ประหลาดสุดโด่งดังฝั่งตะวันตก 'Kong: Skull Island' มาแนะนำตัววานรยักษ์ 'คิงคอง' ฉบับปี 2017
ตามด้วยฉายภาคต่อของก็อดซิลลา 2014 เรื่อง 'Godzilla: King of the Monsters' ในค.ศ. 2019 นี้
ก่อนพาราชาวานรเข้าปะทะก็อดซิลลาใน Godzilla vs. Kong ปีหน้า (2020)
Godzilla: King of the Monsters จะขนสัตว์ประหลาดตัวเด่นๆ จากในงานต้นฉบับของทางญี่ปุ่น อย่างนกยักษ์โรแดน, ผีเสื้อขนาดมหึมา/มอธรา และมังกร 3 หัว/กิโดรา มาพร้อมหน้า จึงถือเป็นผลงานน่าจับตามอง
และสื่อต่างประเทศก็ได้ทำหลายอย่างเพื่อตอบสนองความสนใจ เช่น เยี่ยมเยือนกองถ่าย, สอบถามนักแสดง และสัมภาษณ์ผู้กำกับภาคนี้ 'ไมเคิล โดเฮอร์ตี้' ไว้หลายเรื่อง
สื่อที่ไปเยือนกองถ่ายเล่าว่า ในห้องประชุมแผนการของทีมสร้าง มีภาพงานออกแบบวางไว้ให้เห็นเยอะแยะ และมันก็ทำให้พวกเขาเล็งเห็นว่า
[1] หนังเปิดเรื่องด้วยฉากโรงเก็บดักแด้ของมอธรา
[2] โรแดนและมอธรา จะปะทะกับก็อดซิลลาและกิโดราหลายต่อหลายครั้ง
[3] กิโดราจะถล่มเฟนเวย์ ปาร์คจนเละ (สนามกีฬาเบสบอลในเมืองบอสตัน/รัฐแมสซาชูเซตส์)
[4] ภูเขาไฟที่โรแดนผุดออกมาอยู่ในแถบประเทศเม็กซิโก
[5] หนังจะมีฉากไล่ล่ากลางเวหาของยานพาหนะที่คนของโมนาร์คใช้
ซึ่งมันถูกเรียกว่า 'อาร์โก้' (ชื่อเรือของเจสัน/วีรบุรุษในเทพนิยายกรีก ผู้ออกเรือเพื่อค้นหาขนแกะทองคำ)
[6] คิงคองจะไม่ปรากฏตัวในหนัง และมีเพียงฉากที่กล่าวถึงหรือบอกใบ้เกี่ยวกับมันไว้เท่านั้น
[7] น้ำแข็งที่กิโดราจะทลายออกมา อยู่ในฐานทัพแถบแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้)
[8] ฉากฐานทัพขั้วโลกไม่ได้ใช้หิมะของจริง แต่ใช้ดีเกลือฝรั่ง (Epsom salts/แมกนีเซียมซัลเฟต) กว่า 44,000 ปอนด์ (ประมาณ 20,000 กิโลกรัม) มาทำเป็นของเทียมแทน
[9] ณ จุดหนึ่งของภาพยนตร์, ตัวละครส่วนใหญ่ในหนังจะมารวมตัวกันที่นี่
[10] ฉากนี้ดูเหมือนเต็มไปด้วยหิมะ แต่เวลาย่ำจริงๆ รู้สึกเหมือนวิ่งบนทราย
[11] หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ภาคแรกที่ฉายเมื่อ ค.ศ. 2014 ประมาณ 5 ปี
"เวลาในหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เราวางเหตุการณ์ภาคแรกไว้แถวปี 2014 ฉะนั้นภาคสองก็อยู่ที่ราวๆ 5 ปีต่อมา แต่ไม่ใช่ว่าจู่ๆ พวกสัตว์ประหลาดพากันโผล่แบบไร้ที่มา พวกมันอยู่ที่นี่ก่อนหน้าพวกเรา แนวคิดของหนังคือโลกเป็นของพวกมัน พวกเราต่างหากคือสายพันธุ์ผู้รุกราน แล้วเพิ่งมาค้นพบสิ่งที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าตัวเองเข้า"
[12] Godzilla: King of the Monsters เป็นเหมือนหนัง Alien ภาค 2 ของผู้กำกับเจมส์ คาเมรอน (แปลว่าบู๊จัดหนักกว่าเก่า) และจะมุ่งเน้นไปที่องค์กรโมนาร์คซึ่งคอยศึกษาพวกสัตว์ประหลาดมากขึ้น
[13] โดเฮอร์ตี้อยากให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ในหนังเป็นฮีโร่ที่จะช่วยมนุษย์จากภัยพิบัติสัตว์ประหลาด เหมือนที่พวกเขากำลังช่วยเราจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
[14] เขาลงแรงตัดต่อคลิปรวมเสียงของพวกสัตว์ประหลาดในหนังต้นฉบับ(ญี่ปุ่น) ด้วยตนเอง แล้วส่งให้ทีมงานที่ดูแลเรื่องเสียงในภาพยนตร์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการ
[15] เขาเปิดเสียงของเหล่าสัตว์ประหลาดให้บรรดานักแสดงฟังขณะถ่ายทำด้วย เพื่อช่วยให้นักแสดงเข้าถึงบทบาทง่ายขึ้น
[16] ทีมงานออกแบบสัตว์ประหลาดโดยเริ่มจากร่าง 'เงา' ของพวกมัน เพื่อให้เห็นภาพทั้งตัวชัดเจนและแน่ใจว่าสัตว์ประหลาดบางตัว เช่น กิโดรา จะดูเป็นมังกรแนวตะวันออกจริงๆ ไม่ใช่ไปดูเหมือนมังกรแนวตะวันตกแบบในซีรีส์ Game of Thrones
[17] ค่ายญี่ปุ่น 'โตโฮ' ที่ถือครองลิขสิทธิ์ก็อดซิลลา ได้ช่วยแนะนำว่าสัตว์ประหลาดแต่ละตัวควรหน้าตายังไง
เอกลักษณ์ของพวกมันนั้นสำคัญ มอธราแค่หน้าเหมือนผีเสื้อยักษ์หรือโรแดนแค่หน้าเหมือนไดโนเสาร์ไม่ได้
[18] การปรับรูปลักษณ์ของมอธรา/ผีเสื้อยักษ์ในตำนานให้ดูดี มีความยากที่สุดในบรรดาสัตว์ประหลาดที่ปรากฏในเรื่อง
"ความท้าทายใหญ่สุดคือมอธรา คุณลองนึกดูสิว่าจะทำให้ผีเสื้อยักษ์มันเท่ยังไง ? แค่ขยายไซส์ผีเสื้อหน้าตาปกติมันใช้ไม่ได้
ผมต้องค้นคว้าเรื่องผีเสื้ออย่างจริงจังอยู่หลายเดือน ผมพบว่าแมลงพวกนั้นช่างสวยงามและเจ๋งเป้งสุดๆ มีหลายสปีชีส์และสารพัดรูปร่าง
บางชนิดก็ดูคล้ายสัตว์นักล่าที่ขนเป็นมันเงากับดูน่ากลัวกว่ามอธราแบบญี่ปุ่นหน่อยๆ ซึ่งทำให้ผมได้ไอเดียเพิ่มเติมมา
เราต้องสร้างภาพของแมลงไซส์ใหญ่ยักษ์ให้ดูมีความสมจริงจากหลายๆ มุมมองรวมถึงตอนมันเคลื่อนไหว และพิจารณาว่าจะรังสรรค์ละอองปีกเรืองแสงให้ดูเป็นธรรมชาติได้อย่างไร
แล้วนึกย้อนไปที่แนวคิดว่าสัตว์ประหลาดพวกนี้คือเทพเจ้า เพื่อพิจารณาว่าหล่อนควรดูเป็นยังไงในท้องฟ้ายามค่ำคืน
เมื่อคุณเห็นมอธราเหินผ่านนภากาศ คุณจะเข้าใจผิดว่ากำลังมองนางฟ้า, มองเห็นเทพเสด็จมา"
[19] ภาคแรกก็อตซิลลากลายเป็นผู้กอบกู้เมืองของเหล่ามนุษย์จากสัตว์ประหลาด MUTO แต่ใน 'Godzilla: King of the Monsters' นั้น
มันจะถูกนำเสนอในฐานะเทพเจ้า (god) อีกครั้ง ตามแบบฉบับดั้งเดิมที่เคยถูกตีความไว้ในงานสร้างของทางญี่ปุ่น
"ผมและแซ็ค ชิลด์/คู่หูผู้ช่วยเขียนบท คุยกันตลอดว่าอยากใส่ความเป็น 'เทพ' คืนแก่ก็อตซิลลา ซึ่งความหมายของสิ่งที่ผมบอกคือ ตั้งแต่เล็กจนโตผมไม่เคยมองมันเป็นแค่สัตว์ประหลาด ผมไม่ได้เห็นคนใส่ชุดยางเดินไปมา แต่เห็นสัตว์โบราณสุดทรงพลังระดับตำนาน
สำหรับผมสัตว์ประหลาดพวกนั้นคือสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาที่ต่อสู้กันมาตั้งแต่กาลก่อน
พวกมันเหมือนเหล่ามังกร, ยักษ์ และสัตว์ประหลาดที่คุณคงเคยอ่านเจอในคัมภีร์ไบเบิลกับเทพนิยายต่างๆ และเราอยากใส่องค์ประกอบทำนองนั้นลงไป"
[20] King of the Monsters ไม่ใช่หนังสยองขวัญ แต่ก็มีองค์ประกอบของความสยองอยู่
[21] โดเฮอร์ตี้มองว่ามอธรา, โรแดน, กิโดรา และก็อดซิลลาคือเหล่า 'เพชรยอดมงกุฎ' ในบรรดาสัตว์ประหลาดมากมายของค่ายโตโฮ
[22] Godzilla 2014 มักถูกกล่าวถึงในแง่ที่มีฉากแอ็คชั่นของสัตว์ประหลาดน้อยเกินไป
แต่ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ บอกว่าหนังของกาเร็ธมีข้อดีที่หลายคนคงมองข้าม
นั่นคือมันเป็นหนังสัตว์ประหลาดที่ให้อารมณ์สมจริงยิ่งนัก
"เราจะเห็นสัตว์ประหลาดในภาคสองเยอะกว่าภาคแรกมาก แต่ขอบอกหน่อยว่าผมชอบงานภาพในหนังของกาเร็ธ เขาถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือ
คืองี้นะ, ในหนังมันไม่มีมุมกล้องเหินฟ้าแบบที่ต้องใช้ซีจีสร้างเลย ทุกฉากที่สัตว์ประหลาดปรากฏตัวเหมือนถูกถ่ายด้วยมนุษย์ตัวเป็นๆ ตอนอยู่บนเครน, เฮลิคอปเตอร์ หรือใช้กล้องมือถือ
ไม่มีการเลื่อนมุมกล้องไหนที่ดูราวกับใช้เครื่องจักรประดิษฐ์ขึ้น
และนั่นก็เป็นสไตล์ที่พวกเราจะเอามาใช้ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้คุณหลุดจากความอินยามรับชมตอนเห็นฉากแบบที่ 'โอ้, มุมกล้องแบบนั้นไม่มีทางใช้คนถ่ายได้หรอก'
มันช่วยเพิ่มน้ำหนักของความสมจริง ซึ่งผมคิดว่าหนังฟอร์มใหญ่ในยุคหลังขาดหายไป"
ใน Godzilla: King of the Monsters ครอบครัวนักวิทยาศาสตร์ตระกูล 'รัสเซลล์' (Russell) จะมีบทบาทสำคัญ
ซึ่งไคล์ แชนด์เลอร์ เจ้าของบท 'มาร์ค รัสเซลล์' ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการมารับบทนี้ของเขา และเรื่องของตัวละครเอาไว้ ดังนี้
[23] มาร์ค รัสเซลล์ คือตัวละครที่การตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ของเขา มักถูกผลักดันไปด้วยความรักที่มีต่อลูกสาวอย่าง เมดิสัน (เด็กผู้หญิงที่เราเห็นหน้าเธอเสมอในตัวอย่าง)
[24] แม้เขาเคยประสบเหตุการณ์แย่ๆ เพราะสัตว์ประหลาด แต่ความรู้สึกของมาร์คต่อพวกมัน จะซับซ้อนกว่าการอยากให้สัตว์ประหลาดตายไปหมดๆ "เขาไม่ได้มีแค่ความเกลียดชังต่อพวกมันเท่านั้น" แชนด์เลอร์บอก
[25] แชนด์เลอร์ ชอบหนังก็อดซิลลายุคแรกๆ ของญี่ปุ่นมาก เพราะมันสะท้อนถึงสังคมญี่ปุ่น ยุคพ่ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ดี
[26] King of the Monsters เอง ก็แฝงประเด็นทางสังคมไว้เหมือนในหนังก็อดซิลลาของทางญี่ปุ่น "สารที่จะสื่อถึงผู้ชม คือเราจะเยียวยาให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้อย่างไร" แชนด์เลอร์อธิบาย "ผมว่าตอนดูหนังคุณจะรู้เลยว่าผู้กำกับใส่ใจเรื่องนี้แค่ไหน"
[27] แชนด์เลอร์ ค่อนข้างตื่นเต้นเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้บทเด่นในหนังฟอร์มใหญ่ (ก่อนหน้านี้เคยเป็นแค่ตัวละครระดับรองใน King Kong ฉบับปี 2005 กับหนังเรื่อง Super 8)
[28] ช่วงอาทิตย์แรกๆ ของการถ่ายทำ เหล่านักแสดงได้แต่วิ่งไปมา, โดนฉีดน้ำเย็นๆ ใส่ และถูกพัดลมยักษ์เป่าให้กระเด็น
[29] ดาราหญิง 'เวรา ฟาร์มิกา' ซึ่งเคยเล่นเป็นนักปราบผีในหนัง The Conjuring บอกใบ้ว่าตัวละครของเธอนั้น สามารถชี้นำพฤติกรรมพวกสัตว์ประหลาดได้
"ฉันเล่นเป็นนักชีววิทยาสัตว์โบราณ, เธอพยายามหาทางสื่อสารกับสัตว์ประหลาด และหาความเป็นไปได้ในการควบคุมพวกมัน โดยใช้การตอบสนองต่อคลื่นเสียงโซนาร์ของสัตว์เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เธอเลยเป็นเหมือนดีเจสำหรับพวกสัตว์ประหลาด"
[30] ชื่อภาค Godzilla: King of the Monsters เคยถูกใช้เรียกภาพยนตร์ก็อดซิลลาญี่ปุ่นภาคแรกสุด (หนังขาวดำปี 1954) ฉบับที่ได้รับการตัดต่อใหม่ เพื่อฉายให้คนอเมริกาดูตอนค.ศ. 1956 มาก่อน
ยุคนั้นยังไม่มีเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกให้ใช้
การสร้างชุดสัตว์ประหลาดให้คนใส่, ไล่ทำลายแบบจำลองตึกรามบ้านช่องที่ทำด้วยมือของญี่ปุ่นจึงน่าตื่นตานัก
แต่ด้วยรสนิยมอันแตกต่างระหว่างคนดูฝั่งตะวันตกและตะวันออก หนังจึงถูกตัดต่อใหม่, เพิ่มตัวละครนักข่าวอเมริกันเข้าไปคอยเล่าเรื่อง และตัดหลายๆ ฉากทิ้ง (หายไป 16 นาทีได้) เพื่อลดประเด็นทางสังคม, วัฒนธรรม และการต่อต้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ที่แฝงอยู่ในงานต้นฉบับ
[31] หนังจักรวาลสัตว์ประหลาดถูกวางแผนสร้างไว้ 4 ภาคด้วยกัน
แปลว่ามันจะจบลงที่การปะทะกันของคิงคองกับก็อดซิลลา
แต่ถ้าผลตอบรับดีแล้วมีโอกาสสร้างเพิ่มขึ้นมา จักรวาลควรเดินหน้าไปทางไหนต่อ?
ไมเคิล โดเฮอร์ตี้/ผู้กำกับ Godzilla: King of the Monsters บอกว่าอยากสำรวจโลกสมัยที่พวกสัตว์ประหลาดได้รับการบูชาดุจเทพเจ้า
"ผมชอบไอเดียที่จะย้อนเวลาไปเล่าเรื่องของพวกสัตว์ประหลาดในหลายๆ ยุคสมัย, Skull Island เคยจัดให้เจอคองตอนยุค 70s แต่โดยส่วนตัวผมอยากทำ GODZILLA B.C. (ก็อดซิลลายุคก่อนคริสต์ศักราช) ย้อนสู่ยุคโบราณและแสดงโลกแห่งสัตว์ประหลาดในแบบของเรย์ แฮรี่เฮาเซน (Ray Harryhausen) ที่มนุษย์ดึกดำบรรพ์พยายามเอาตัวรอดในโลกของพวกสัตว์ประหลาด บางทีเราอาจเห็นครั้งแรกที่มนุษย์พบก็อดซิลลาด้วย แล้วก็จะได้ดูกันว่าทำไมพวกเราถึงบูชามัน"
[ปล.] เรย์ แฮรี่เฮาเซน (1920-2013) ถือเป็นเจ้าพ่อหนังสัตว์ประหลาดยุคบุกเบิก ที่สมัยนั้นวิธีถ่ายทำหุ่นจำลองโดยเทคนิค Stop motion (ถ่ายภาพนิ่งหลายๆ ฉาก เพื่อเอามาทำภาพเคลื่อนไหว) ถือว่าล้ำ
และมันก็ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมีการผลิตผลงานซึ่งเกี่ยวข้องกับก็อดซิลลาออกมาอีกเรื่อยๆ
หลังภาพยนตร์ถูกเผยแพร่เกือบ 30 เรื่อง, หนังก็อดซิลลาของทางญี่ปุ่นก็หยุดพักได้ราว 10 ปี (ภาคสุดท้ายก่อนเว้นช่วงคือ Godzilla: Final Wars ที่ฉายค.ศ. 2004)
ก่อนภาพยนตร์ก็อดซิลลาฉบับฮอลลีวูดซึ่งคนฝั่งซีกโลกตะวันตกเป็นผู้ผลิต
'Godzilla' ปี 2014 ที่ผู้กำกับกาเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส์สร้าง จะได้ฉาย
แม้หนังใช้กลวิธีเล่าเรื่องแบบแอบซ่อนตัวก็อดซิลลากับศัตรูของมันเกือบตลอดเรื่อง
แต่ก็อดซิลลา 2014 ก็ทำรายรับรวมทั่วโลกสูงถึง 529 ล้านดอลลาร์
หนังทุนสร้าง 160 ล้านจึงถูกมองว่ามีศักยภาพพอจะจุดประกายแฟรนไชส์ใหม่
Godzilla 2014 เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ 'จักรวาลหนังสัตว์ประหลาด' (The MonsterVerse)
และแผนการที่ทางผู้สร้างวางไว้ คือปล่อยหนังของสัตว์ประหลาดสุดโด่งดังฝั่งตะวันตก 'Kong: Skull Island' มาแนะนำตัววานรยักษ์ 'คิงคอง' ฉบับปี 2017
ตามด้วยฉายภาคต่อของก็อดซิลลา 2014 เรื่อง 'Godzilla: King of the Monsters' ในค.ศ. 2019 นี้
ก่อนพาราชาวานรเข้าปะทะก็อดซิลลาใน Godzilla vs. Kong ปีหน้า (2020)
Godzilla: King of the Monsters จะขนสัตว์ประหลาดตัวเด่นๆ จากในงานต้นฉบับของทางญี่ปุ่น อย่างนกยักษ์โรแดน, ผีเสื้อขนาดมหึมา/มอธรา และมังกร 3 หัว/กิโดรา มาพร้อมหน้า จึงถือเป็นผลงานน่าจับตามอง
และสื่อต่างประเทศก็ได้ทำหลายอย่างเพื่อตอบสนองความสนใจ เช่น เยี่ยมเยือนกองถ่าย, สอบถามนักแสดง และสัมภาษณ์ผู้กำกับภาคนี้ 'ไมเคิล โดเฮอร์ตี้' ไว้หลายเรื่อง
ข้อมูลจากภาพงานออกแบบ (Concept Art)
สื่อที่ไปเยือนกองถ่ายเล่าว่า ในห้องประชุมแผนการของทีมสร้าง มีภาพงานออกแบบวางไว้ให้เห็นเยอะแยะ และมันก็ทำให้พวกเขาเล็งเห็นว่า
[1] หนังเปิดเรื่องด้วยฉากโรงเก็บดักแด้ของมอธรา
[2] โรแดนและมอธรา จะปะทะกับก็อดซิลลาและกิโดราหลายต่อหลายครั้ง
[3] กิโดราจะถล่มเฟนเวย์ ปาร์คจนเละ (สนามกีฬาเบสบอลในเมืองบอสตัน/รัฐแมสซาชูเซตส์)
[4] ภูเขาไฟที่โรแดนผุดออกมาอยู่ในแถบประเทศเม็กซิโก
[5] หนังจะมีฉากไล่ล่ากลางเวหาของยานพาหนะที่คนของโมนาร์คใช้
ซึ่งมันถูกเรียกว่า 'อาร์โก้' (ชื่อเรือของเจสัน/วีรบุรุษในเทพนิยายกรีก ผู้ออกเรือเพื่อค้นหาขนแกะทองคำ)
[6] คิงคองจะไม่ปรากฏตัวในหนัง และมีเพียงฉากที่กล่าวถึงหรือบอกใบ้เกี่ยวกับมันไว้เท่านั้น
[7] น้ำแข็งที่กิโดราจะทลายออกมา อยู่ในฐานทัพแถบแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้)
ฐานทัพขั้วโลกขององค์กรเฝ้าระวังสัตว์ประหลาด 'โมนาร์ค' (Monarch)
[8] ฉากฐานทัพขั้วโลกไม่ได้ใช้หิมะของจริง แต่ใช้ดีเกลือฝรั่ง (Epsom salts/แมกนีเซียมซัลเฟต) กว่า 44,000 ปอนด์ (ประมาณ 20,000 กิโลกรัม) มาทำเป็นของเทียมแทน
[9] ณ จุดหนึ่งของภาพยนตร์, ตัวละครส่วนใหญ่ในหนังจะมารวมตัวกันที่นี่
[10] ฉากนี้ดูเหมือนเต็มไปด้วยหิมะ แต่เวลาย่ำจริงๆ รู้สึกเหมือนวิ่งบนทราย
รายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์ จากปากคำผู้กำกับไมเคิล โดเฮอร์ตี้
[11] หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ภาคแรกที่ฉายเมื่อ ค.ศ. 2014 ประมาณ 5 ปี
"เวลาในหนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เราวางเหตุการณ์ภาคแรกไว้แถวปี 2014 ฉะนั้นภาคสองก็อยู่ที่ราวๆ 5 ปีต่อมา แต่ไม่ใช่ว่าจู่ๆ พวกสัตว์ประหลาดพากันโผล่แบบไร้ที่มา พวกมันอยู่ที่นี่ก่อนหน้าพวกเรา แนวคิดของหนังคือโลกเป็นของพวกมัน พวกเราต่างหากคือสายพันธุ์ผู้รุกราน แล้วเพิ่งมาค้นพบสิ่งที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าตัวเองเข้า"
[12] Godzilla: King of the Monsters เป็นเหมือนหนัง Alien ภาค 2 ของผู้กำกับเจมส์ คาเมรอน (แปลว่าบู๊จัดหนักกว่าเก่า) และจะมุ่งเน้นไปที่องค์กรโมนาร์คซึ่งคอยศึกษาพวกสัตว์ประหลาดมากขึ้น
[13] โดเฮอร์ตี้อยากให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ในหนังเป็นฮีโร่ที่จะช่วยมนุษย์จากภัยพิบัติสัตว์ประหลาด เหมือนที่พวกเขากำลังช่วยเราจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
[14] เขาลงแรงตัดต่อคลิปรวมเสียงของพวกสัตว์ประหลาดในหนังต้นฉบับ(ญี่ปุ่น) ด้วยตนเอง แล้วส่งให้ทีมงานที่ดูแลเรื่องเสียงในภาพยนตร์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการ
[15] เขาเปิดเสียงของเหล่าสัตว์ประหลาดให้บรรดานักแสดงฟังขณะถ่ายทำด้วย เพื่อช่วยให้นักแสดงเข้าถึงบทบาทง่ายขึ้น
[16] ทีมงานออกแบบสัตว์ประหลาดโดยเริ่มจากร่าง 'เงา' ของพวกมัน เพื่อให้เห็นภาพทั้งตัวชัดเจนและแน่ใจว่าสัตว์ประหลาดบางตัว เช่น กิโดรา จะดูเป็นมังกรแนวตะวันออกจริงๆ ไม่ใช่ไปดูเหมือนมังกรแนวตะวันตกแบบในซีรีส์ Game of Thrones
[17] ค่ายญี่ปุ่น 'โตโฮ' ที่ถือครองลิขสิทธิ์ก็อดซิลลา ได้ช่วยแนะนำว่าสัตว์ประหลาดแต่ละตัวควรหน้าตายังไง
เอกลักษณ์ของพวกมันนั้นสำคัญ มอธราแค่หน้าเหมือนผีเสื้อยักษ์หรือโรแดนแค่หน้าเหมือนไดโนเสาร์ไม่ได้
[18] การปรับรูปลักษณ์ของมอธรา/ผีเสื้อยักษ์ในตำนานให้ดูดี มีความยากที่สุดในบรรดาสัตว์ประหลาดที่ปรากฏในเรื่อง
"ความท้าทายใหญ่สุดคือมอธรา คุณลองนึกดูสิว่าจะทำให้ผีเสื้อยักษ์มันเท่ยังไง ? แค่ขยายไซส์ผีเสื้อหน้าตาปกติมันใช้ไม่ได้
ผมต้องค้นคว้าเรื่องผีเสื้ออย่างจริงจังอยู่หลายเดือน ผมพบว่าแมลงพวกนั้นช่างสวยงามและเจ๋งเป้งสุดๆ มีหลายสปีชีส์และสารพัดรูปร่าง
บางชนิดก็ดูคล้ายสัตว์นักล่าที่ขนเป็นมันเงากับดูน่ากลัวกว่ามอธราแบบญี่ปุ่นหน่อยๆ ซึ่งทำให้ผมได้ไอเดียเพิ่มเติมมา
เราต้องสร้างภาพของแมลงไซส์ใหญ่ยักษ์ให้ดูมีความสมจริงจากหลายๆ มุมมองรวมถึงตอนมันเคลื่อนไหว และพิจารณาว่าจะรังสรรค์ละอองปีกเรืองแสงให้ดูเป็นธรรมชาติได้อย่างไร
แล้วนึกย้อนไปที่แนวคิดว่าสัตว์ประหลาดพวกนี้คือเทพเจ้า เพื่อพิจารณาว่าหล่อนควรดูเป็นยังไงในท้องฟ้ายามค่ำคืน
เมื่อคุณเห็นมอธราเหินผ่านนภากาศ คุณจะเข้าใจผิดว่ากำลังมองนางฟ้า, มองเห็นเทพเสด็จมา"
[19] ภาคแรกก็อตซิลลากลายเป็นผู้กอบกู้เมืองของเหล่ามนุษย์จากสัตว์ประหลาด MUTO แต่ใน 'Godzilla: King of the Monsters' นั้น
มันจะถูกนำเสนอในฐานะเทพเจ้า (god) อีกครั้ง ตามแบบฉบับดั้งเดิมที่เคยถูกตีความไว้ในงานสร้างของทางญี่ปุ่น
"ผมและแซ็ค ชิลด์/คู่หูผู้ช่วยเขียนบท คุยกันตลอดว่าอยากใส่ความเป็น 'เทพ' คืนแก่ก็อตซิลลา ซึ่งความหมายของสิ่งที่ผมบอกคือ ตั้งแต่เล็กจนโตผมไม่เคยมองมันเป็นแค่สัตว์ประหลาด ผมไม่ได้เห็นคนใส่ชุดยางเดินไปมา แต่เห็นสัตว์โบราณสุดทรงพลังระดับตำนาน
สำหรับผมสัตว์ประหลาดพวกนั้นคือสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาที่ต่อสู้กันมาตั้งแต่กาลก่อน
พวกมันเหมือนเหล่ามังกร, ยักษ์ และสัตว์ประหลาดที่คุณคงเคยอ่านเจอในคัมภีร์ไบเบิลกับเทพนิยายต่างๆ และเราอยากใส่องค์ประกอบทำนองนั้นลงไป"
[20] King of the Monsters ไม่ใช่หนังสยองขวัญ แต่ก็มีองค์ประกอบของความสยองอยู่
[21] โดเฮอร์ตี้มองว่ามอธรา, โรแดน, กิโดรา และก็อดซิลลาคือเหล่า 'เพชรยอดมงกุฎ' ในบรรดาสัตว์ประหลาดมากมายของค่ายโตโฮ
[22] Godzilla 2014 มักถูกกล่าวถึงในแง่ที่มีฉากแอ็คชั่นของสัตว์ประหลาดน้อยเกินไป
แต่ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ บอกว่าหนังของกาเร็ธมีข้อดีที่หลายคนคงมองข้าม
นั่นคือมันเป็นหนังสัตว์ประหลาดที่ให้อารมณ์สมจริงยิ่งนัก
"เราจะเห็นสัตว์ประหลาดในภาคสองเยอะกว่าภาคแรกมาก แต่ขอบอกหน่อยว่าผมชอบงานภาพในหนังของกาเร็ธ เขาถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือ
คืองี้นะ, ในหนังมันไม่มีมุมกล้องเหินฟ้าแบบที่ต้องใช้ซีจีสร้างเลย ทุกฉากที่สัตว์ประหลาดปรากฏตัวเหมือนถูกถ่ายด้วยมนุษย์ตัวเป็นๆ ตอนอยู่บนเครน, เฮลิคอปเตอร์ หรือใช้กล้องมือถือ
ไม่มีการเลื่อนมุมกล้องไหนที่ดูราวกับใช้เครื่องจักรประดิษฐ์ขึ้น
และนั่นก็เป็นสไตล์ที่พวกเราจะเอามาใช้ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้คุณหลุดจากความอินยามรับชมตอนเห็นฉากแบบที่ 'โอ้, มุมกล้องแบบนั้นไม่มีทางใช้คนถ่ายได้หรอก'
มันช่วยเพิ่มน้ำหนักของความสมจริง ซึ่งผมคิดว่าหนังฟอร์มใหญ่ในยุคหลังขาดหายไป"
สิ่งที่ทราบจากการสัมภาษณ์ 'ไคล์ แชนด์เลอร์'
ใน Godzilla: King of the Monsters ครอบครัวนักวิทยาศาสตร์ตระกูล 'รัสเซลล์' (Russell) จะมีบทบาทสำคัญ
ซึ่งไคล์ แชนด์เลอร์ เจ้าของบท 'มาร์ค รัสเซลล์' ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการมารับบทนี้ของเขา และเรื่องของตัวละครเอาไว้ ดังนี้
[23] มาร์ค รัสเซลล์ คือตัวละครที่การตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ของเขา มักถูกผลักดันไปด้วยความรักที่มีต่อลูกสาวอย่าง เมดิสัน (เด็กผู้หญิงที่เราเห็นหน้าเธอเสมอในตัวอย่าง)
[24] แม้เขาเคยประสบเหตุการณ์แย่ๆ เพราะสัตว์ประหลาด แต่ความรู้สึกของมาร์คต่อพวกมัน จะซับซ้อนกว่าการอยากให้สัตว์ประหลาดตายไปหมดๆ "เขาไม่ได้มีแค่ความเกลียดชังต่อพวกมันเท่านั้น" แชนด์เลอร์บอก
[25] แชนด์เลอร์ ชอบหนังก็อดซิลลายุคแรกๆ ของญี่ปุ่นมาก เพราะมันสะท้อนถึงสังคมญี่ปุ่น ยุคพ่ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ดี
[26] King of the Monsters เอง ก็แฝงประเด็นทางสังคมไว้เหมือนในหนังก็อดซิลลาของทางญี่ปุ่น "สารที่จะสื่อถึงผู้ชม คือเราจะเยียวยาให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้อย่างไร" แชนด์เลอร์อธิบาย "ผมว่าตอนดูหนังคุณจะรู้เลยว่าผู้กำกับใส่ใจเรื่องนี้แค่ไหน"
[27] แชนด์เลอร์ ค่อนข้างตื่นเต้นเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้บทเด่นในหนังฟอร์มใหญ่ (ก่อนหน้านี้เคยเป็นแค่ตัวละครระดับรองใน King Kong ฉบับปี 2005 กับหนังเรื่อง Super 8)
[28] ช่วงอาทิตย์แรกๆ ของการถ่ายทำ เหล่านักแสดงได้แต่วิ่งไปมา, โดนฉีดน้ำเย็นๆ ใส่ และถูกพัดลมยักษ์เป่าให้กระเด็น
เกร็ดเพิ่มเติม
[29] ดาราหญิง 'เวรา ฟาร์มิกา' ซึ่งเคยเล่นเป็นนักปราบผีในหนัง The Conjuring บอกใบ้ว่าตัวละครของเธอนั้น สามารถชี้นำพฤติกรรมพวกสัตว์ประหลาดได้
"ฉันเล่นเป็นนักชีววิทยาสัตว์โบราณ, เธอพยายามหาทางสื่อสารกับสัตว์ประหลาด และหาความเป็นไปได้ในการควบคุมพวกมัน โดยใช้การตอบสนองต่อคลื่นเสียงโซนาร์ของสัตว์เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เธอเลยเป็นเหมือนดีเจสำหรับพวกสัตว์ประหลาด"
[30] ชื่อภาค Godzilla: King of the Monsters เคยถูกใช้เรียกภาพยนตร์ก็อดซิลลาญี่ปุ่นภาคแรกสุด (หนังขาวดำปี 1954) ฉบับที่ได้รับการตัดต่อใหม่ เพื่อฉายให้คนอเมริกาดูตอนค.ศ. 1956 มาก่อน
ยุคนั้นยังไม่มีเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกให้ใช้
การสร้างชุดสัตว์ประหลาดให้คนใส่, ไล่ทำลายแบบจำลองตึกรามบ้านช่องที่ทำด้วยมือของญี่ปุ่นจึงน่าตื่นตานัก
แต่ด้วยรสนิยมอันแตกต่างระหว่างคนดูฝั่งตะวันตกและตะวันออก หนังจึงถูกตัดต่อใหม่, เพิ่มตัวละครนักข่าวอเมริกันเข้าไปคอยเล่าเรื่อง และตัดหลายๆ ฉากทิ้ง (หายไป 16 นาทีได้) เพื่อลดประเด็นทางสังคม, วัฒนธรรม และการต่อต้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ที่แฝงอยู่ในงานต้นฉบับ
[31] หนังจักรวาลสัตว์ประหลาดถูกวางแผนสร้างไว้ 4 ภาคด้วยกัน
แปลว่ามันจะจบลงที่การปะทะกันของคิงคองกับก็อดซิลลา
แต่ถ้าผลตอบรับดีแล้วมีโอกาสสร้างเพิ่มขึ้นมา จักรวาลควรเดินหน้าไปทางไหนต่อ?
ไมเคิล โดเฮอร์ตี้/ผู้กำกับ Godzilla: King of the Monsters บอกว่าอยากสำรวจโลกสมัยที่พวกสัตว์ประหลาดได้รับการบูชาดุจเทพเจ้า
"ผมชอบไอเดียที่จะย้อนเวลาไปเล่าเรื่องของพวกสัตว์ประหลาดในหลายๆ ยุคสมัย, Skull Island เคยจัดให้เจอคองตอนยุค 70s แต่โดยส่วนตัวผมอยากทำ GODZILLA B.C. (ก็อดซิลลายุคก่อนคริสต์ศักราช) ย้อนสู่ยุคโบราณและแสดงโลกแห่งสัตว์ประหลาดในแบบของเรย์ แฮรี่เฮาเซน (Ray Harryhausen) ที่มนุษย์ดึกดำบรรพ์พยายามเอาตัวรอดในโลกของพวกสัตว์ประหลาด บางทีเราอาจเห็นครั้งแรกที่มนุษย์พบก็อดซิลลาด้วย แล้วก็จะได้ดูกันว่าทำไมพวกเราถึงบูชามัน"
[ปล.] เรย์ แฮรี่เฮาเซน (1920-2013) ถือเป็นเจ้าพ่อหนังสัตว์ประหลาดยุคบุกเบิก ที่สมัยนั้นวิธีถ่ายทำหุ่นจำลองโดยเทคนิค Stop motion (ถ่ายภาพนิ่งหลายๆ ฉาก เพื่อเอามาทำภาพเคลื่อนไหว) ถือว่าล้ำ
ที่มา
COMMENTS