ภาพยนตร์แนวซุปเปอร์ฮีโร่ไตรภาคของผู้กำกับมาโนช เนลลิยัตตู ชยามาลาน ที่สองภาคแรกซึ่งเริ่มต้นด้วย Unbreakable (2000) แล้วทิ้งช่วงยาวก่อนออก Sp...
ภาพยนตร์แนวซุปเปอร์ฮีโร่ไตรภาคของผู้กำกับมาโนช เนลลิยัตตู ชยามาลาน ที่สองภาคแรกซึ่งเริ่มต้นด้วย Unbreakable (2000) แล้วทิ้งช่วงยาวก่อนออก Split (2016) ตามหลัง
ต่างก็ได้รับคำชื่นชมจากบรรดานักวิจารณ์ต่างประเทศพอสมควร (ในเว็บรวมคำวิจารณ์ Rottentomatoes นักวิจารณ์โหวตให้ Unbreakable อยู่ในเกณฑ์ดี 69% ส่วน Split 76%)
แต่จู่ๆ ภาคสามอย่าง Glass กลับโดนเทกระจาดวิจารณ์เสียๆ หายๆ ยกใหญ่ คะแนนโหวตเกณฑ์ดี ณ ตอนที่เขียนบทความมีเพียง 37%
หากพิจารณาเหตุผลประกอบคำวิจารณ์แบบรวมๆ และตีความดู สาเหตุโดยสรุปคือถ้าแบ่งหนังออกเป็น 3 ช่วงแล้ว
ช่วงแรกเปิดเรื่องได้เร้าอารมณ์ แต่เล่าเรื่องน่าเบื่อในช่วงสอง ก่อนจะใช้บทสรุปจบแบบที่ไม่ชอบก็เกลียดไปเลยในช่วงสาม
ทำให้มัน 'ทรยศความคาดหวัง' ของนักวิจารณ์ ที่คงต้องการจะเห็นศึกประชันพลังระหว่างฮีโร่กับวายร้ายเหนือมนุษย์อันสมศักดิ์ศรีให้สมใจอยาก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนังเป็นเช่นนั้นจริง แต่เสียงคนดูทั่วไปส่วนใหญ่กลับชื่นชอบ Glass ตรงข้ามกับบรรดานักวิจารณ์
ซึ่งโดยมากหนังที่เหล่าคนดูทั่วไปคิดเห็นไม่ตรงกับนักวิจารณ์นั้น มักให้ความบันเทิงเริงใจยามรับชม จนชวนให้มองข้ามข้อเสียด้านบทและองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆ
เพียงแต่นั่นไม่ใช่ Glass แน่ๆ เพราะจากการสังเกตองค์ประกอบต่างๆ ในภาพยนตร์ เช่น การแสดงของนักแสดง, การกำกับเล่าเรื่อง หรือเนื้อหาบท
ผมมองไม่เห็นช่องโหว่ใหญ่เท่าฝาบ้าน หรือความเละเทะระดับสร้างความหงุดหงิดขณะรับชมเลยสักอย่าง
แปลว่า Glass ทำให้นักวิจารณ์ผิดหวัง แต่ตอบสนองความคาดหวังของคนดูได้ แม้ไม่ใช่หนังสายสร้างความบันเทิงนั่นเอง
นักวิจารณ์ที่ให้หนังห่วยคงมี 3 ประเภท คือ
[1] ไม่เคยดู Unbreakable หรือ Split แล้วพอมาพบ Glass ดื้อๆ ก็อารมณ์ 'อ้าว! ทำไมหนังฮีโร่ไม่บันเทิงละ ขนาดจักรวาลดีซีช่วงแรกที่ขึ้นชื่อด้านความซีเรียสเครียดจัด เค้ายังจัดหนักบู๊ระเบิดตึกรามบ้านช่องซะบันเทิงได้เลยนะ'
[2] จะคุ้นเคยกับไตรภาคนี้หรือเปล่าไม่เกี่ยว
ทว่ารับไม่ได้กับบทสรุปเส้นทางของเหล่าตัวละคร และฉากปะทะเดือดช่วงจบที่ปูทางเหมือนจะเล่นใหญ่ แต่ดันไพล่ไปจอดติดแหงกกลางทาง
[3] ไม่เคยลองย้อนมอง Unbreakable และ Split ในฐานะ 'หนังซุปเปอร์ฮีโร่' เหมือนเหล่าแฟนคลับหรือผู้สนใจผลงานสไตล์มาโนช
สองประเภทแรกเข้าใจง่าย ส่วนประเภทสุดท้ายคงต้องขยายความหน่อย
ตอน Unbreakable และ Split ฉาย ทั้ง 2 เรื่องถูกเสนอขายในฐานะภาพยนตร์แนวกระตุกขวัญ หรือนำเสนอเกี่ยวกับจิตวิทยา
การเสนอตัวทำนองนั้นมันจะไม่ถูกคาดหวังให้เล่าเรื่องสนุกสนานเร้าอารมณ์, สร้างความบันเทิงเริงใจ หรือช่วงสุดท้ายต้องเล่นใหญ่
ต่อให้ตัวละครยืนนั่งสนทนากันซะ 80-90% ของเนื้อหาก็โอเค
และพอหักมุมเฉลยยังชวนประทับใจว่า 'เฮ้ย! แนวฮีโร่หรอกเรอะ มาแบบนี้ได้ด้วยรึ'
ยุคปัจจุบันหนังฮีโร่กลายเป็นกระแสความนิยมหลัก และเพราะแปะยี่ห้อภาคต่อตั้งแต่แรกไม่เหมือนคราว Split
Glass จึงไม่สามารถปิดบังแนวตัวเองได้เหมือนที่ผ่านมา
ย่อมก่อความคาดหวังผิดๆ แก่คนที่ไม่เคยดูสองภาคแรก หรือกระทั่งคนเคยดูแต่ไม่เคยชื่นชม Unbreakable และ Split ในฐานะหนังซุปเปอร์ฮีโร่
พอเจอการเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาเต็มรูปแบบ และบทสรุปของ Glass เข้าเลยผิดหวัง
แต่หากมองทะลุถึงเนื้อแท้ ผู้สนใจหนังสไตล์มาโนชเขา และเหล่าแฟนคลับไตรภาคนี้ทราบดีแน่ ว่านี่เป็น 'หนังฮีโร่อันมีความเฉพาะตัวสูง'
ฉะนั้นถ้าเป็นผู้ให้ความสนใจ, เคยลิ้มลองสองภาคแรกแล้วชอบทั้งคู่ และมีมุมมองเปิดกว้างเรื่องวิธีนำเสนอบทสรุปของเรื่องราว
ผมเชื่อว่ายากนะที่จะไม่ชอบ Glass ได้
แม้ชยามาลานไม่เคยสร้างหนังภาคต่อเป็นชิ้นเป็นอัน (Split เหมือนภาคแยกมากกว่า เพราะเนื้อหาเชื่อมโยงกับ Unbreakable แค่ฉากสุดท้ายฉากเดียว)
เขาก็ยังทำ Glass ในฐานะภาคต่อได้อย่างดี เพราะเส้นเรื่องของตัวละครนำทั้ง 6 (พวกเหนือมนุษย์ 3+ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกชาย, มารดา, คนเคยโดนลักพาตัว)
ถูกเล่าต่อจากสองภาคแรกแบบไม่มีใครโดนละเลย และชักนำเข้าสู่บทสรุปครบหมด
สิ่งที่น่าชื่นชมอีกอย่างคือ Glass ยังยึดมั่นในแนวทางเฉพาะตัวของหนังชุดนี้เหนียวแน่นแบบคุณภาพไม่ตก
เพราะขับเคลื่อนเรื่องราวด้วยตัวละครเต็มสูบ โดยใช้วิธีโปรยบทสนทนาเรื่อยๆ เพื่อให้เข้าใจความคิดตัวละคร
และเพิ่มฉากนึกย้อนความหลัง (flashback) เสริมมากกว่าสมัยสองภาคแรก
ซึ่งมีประโยชน์ 2 ต่อ คือเข้าใจความคิดตัวละครมากขึ้นอีกขั้น และการใช้ฉากย้อนความจากภาคเก่าๆ มันก็เพิ่มความประทับใจให้คนเคยดูหนังเรื่องก่อนหน้า
ด้านรัศมีดาราของนักแสดง ผมมองว่าตัวละครนำทั้ง 7 (พวกเหนือมนุษย์ 3+ผู้เกี่ยวข้อง 3+จิตแพทย์หญิง)
ต่างเปล่งประกายอย่างเหมาะสมตามบทบาทของตัวเองกันแล้ว (มากบ้างน้อยบ้าง)
ไม่ใช่เล่นดีแค่เจมส์ แมคเอวอย (ชายหลายบุคลิก) คนเดียว
แต่เขาค่อนข้างเจิดจรัสกว่าใครเพื่อน เนื่องจากภาคนี้เปลี่ยนบุคลิกรัวๆ ประมาณ 20 แบบได้ (งานหนักเอาเรื่อง)
การตีความพลังเหนือมนุษย์ = ความผิดปกติ เสียพวกเค้าคล้ายคนป่วย ยังคงถูกนำเสนอต่อ
และเรียกว่าแนวคิดได้รับการต่อยอดด้วยซ้ำ เพราะชายเหนือมนุษย์ทั้ง 3 เข้าโรงพยาบาลบำบัดจิตเหมือนผู้ป่วยวิปลาส
แถมการเข้าโรงพยาบาลบำบัดจิตนี้ ความจริงมีเบื้องหลังซ่อนไว้
ซึ่งมันนำพาเหล่าตัวละครและคนดูสู่บทสรุป พร้อมพบตอนจบหักมุมตามสไตล์ผู้กำกับมาโนชอีกต่างหาก
สุดท้าย; เผื่อใครยังไม่ได้รับชม Glass หรือหนังไตรภาคนี้สักเรื่อง แต่สนใจมันอยู่
ลองถามตัวเองดูว่าคุณสนุกกับการติดตามบทสนทนาของตัวละคร เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์และความรู้สึกนึกคิดพวกเขามั้ย ?
รับได้เวลาหนังไม่จบแบบที่ปูทางไว้หรือเปล่า ?
อยากลองหนังฮีโร่ที่เสพยากกว่าเรื่องอื่นตามท้องตลาดไหม ?
ถ้าคำตอบคือใช่หมด ลองลิ้มชิมรสหนังฮีโร่ที่ยึดมั่นในแนวทางเฉพาะตัวอย่างเหนียวแน่นชุดนี้ดูสักหน่อยสิครับ
ต่างก็ได้รับคำชื่นชมจากบรรดานักวิจารณ์ต่างประเทศพอสมควร (ในเว็บรวมคำวิจารณ์ Rottentomatoes นักวิจารณ์โหวตให้ Unbreakable อยู่ในเกณฑ์ดี 69% ส่วน Split 76%)
แต่จู่ๆ ภาคสามอย่าง Glass กลับโดนเทกระจาดวิจารณ์เสียๆ หายๆ ยกใหญ่ คะแนนโหวตเกณฑ์ดี ณ ตอนที่เขียนบทความมีเพียง 37%
หากพิจารณาเหตุผลประกอบคำวิจารณ์แบบรวมๆ และตีความดู สาเหตุโดยสรุปคือถ้าแบ่งหนังออกเป็น 3 ช่วงแล้ว
ช่วงแรกเปิดเรื่องได้เร้าอารมณ์ แต่เล่าเรื่องน่าเบื่อในช่วงสอง ก่อนจะใช้บทสรุปจบแบบที่ไม่ชอบก็เกลียดไปเลยในช่วงสาม
ทำให้มัน 'ทรยศความคาดหวัง' ของนักวิจารณ์ ที่คงต้องการจะเห็นศึกประชันพลังระหว่างฮีโร่กับวายร้ายเหนือมนุษย์อันสมศักดิ์ศรีให้สมใจอยาก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนังเป็นเช่นนั้นจริง แต่เสียงคนดูทั่วไปส่วนใหญ่กลับชื่นชอบ Glass ตรงข้ามกับบรรดานักวิจารณ์
ซึ่งโดยมากหนังที่เหล่าคนดูทั่วไปคิดเห็นไม่ตรงกับนักวิจารณ์นั้น มักให้ความบันเทิงเริงใจยามรับชม จนชวนให้มองข้ามข้อเสียด้านบทและองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆ
เพียงแต่นั่นไม่ใช่ Glass แน่ๆ เพราะจากการสังเกตองค์ประกอบต่างๆ ในภาพยนตร์ เช่น การแสดงของนักแสดง, การกำกับเล่าเรื่อง หรือเนื้อหาบท
ผมมองไม่เห็นช่องโหว่ใหญ่เท่าฝาบ้าน หรือความเละเทะระดับสร้างความหงุดหงิดขณะรับชมเลยสักอย่าง
แปลว่า Glass ทำให้นักวิจารณ์ผิดหวัง แต่ตอบสนองความคาดหวังของคนดูได้ แม้ไม่ใช่หนังสายสร้างความบันเทิงนั่นเอง
นักวิจารณ์ที่ให้หนังห่วยคงมี 3 ประเภท คือ
[1] ไม่เคยดู Unbreakable หรือ Split แล้วพอมาพบ Glass ดื้อๆ ก็อารมณ์ 'อ้าว! ทำไมหนังฮีโร่ไม่บันเทิงละ ขนาดจักรวาลดีซีช่วงแรกที่ขึ้นชื่อด้านความซีเรียสเครียดจัด เค้ายังจัดหนักบู๊ระเบิดตึกรามบ้านช่องซะบันเทิงได้เลยนะ'
[2] จะคุ้นเคยกับไตรภาคนี้หรือเปล่าไม่เกี่ยว
ทว่ารับไม่ได้กับบทสรุปเส้นทางของเหล่าตัวละคร และฉากปะทะเดือดช่วงจบที่ปูทางเหมือนจะเล่นใหญ่ แต่ดันไพล่ไปจอดติดแหงกกลางทาง
[3] ไม่เคยลองย้อนมอง Unbreakable และ Split ในฐานะ 'หนังซุปเปอร์ฮีโร่' เหมือนเหล่าแฟนคลับหรือผู้สนใจผลงานสไตล์มาโนช
สองประเภทแรกเข้าใจง่าย ส่วนประเภทสุดท้ายคงต้องขยายความหน่อย
ตอน Unbreakable และ Split ฉาย ทั้ง 2 เรื่องถูกเสนอขายในฐานะภาพยนตร์แนวกระตุกขวัญ หรือนำเสนอเกี่ยวกับจิตวิทยา
การเสนอตัวทำนองนั้นมันจะไม่ถูกคาดหวังให้เล่าเรื่องสนุกสนานเร้าอารมณ์, สร้างความบันเทิงเริงใจ หรือช่วงสุดท้ายต้องเล่นใหญ่
ต่อให้ตัวละครยืนนั่งสนทนากันซะ 80-90% ของเนื้อหาก็โอเค
และพอหักมุมเฉลยยังชวนประทับใจว่า 'เฮ้ย! แนวฮีโร่หรอกเรอะ มาแบบนี้ได้ด้วยรึ'
ยุคปัจจุบันหนังฮีโร่กลายเป็นกระแสความนิยมหลัก และเพราะแปะยี่ห้อภาคต่อตั้งแต่แรกไม่เหมือนคราว Split
Glass จึงไม่สามารถปิดบังแนวตัวเองได้เหมือนที่ผ่านมา
ย่อมก่อความคาดหวังผิดๆ แก่คนที่ไม่เคยดูสองภาคแรก หรือกระทั่งคนเคยดูแต่ไม่เคยชื่นชม Unbreakable และ Split ในฐานะหนังซุปเปอร์ฮีโร่
พอเจอการเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาเต็มรูปแบบ และบทสรุปของ Glass เข้าเลยผิดหวัง
แต่หากมองทะลุถึงเนื้อแท้ ผู้สนใจหนังสไตล์มาโนชเขา และเหล่าแฟนคลับไตรภาคนี้ทราบดีแน่ ว่านี่เป็น 'หนังฮีโร่อันมีความเฉพาะตัวสูง'
ฉะนั้นถ้าเป็นผู้ให้ความสนใจ, เคยลิ้มลองสองภาคแรกแล้วชอบทั้งคู่ และมีมุมมองเปิดกว้างเรื่องวิธีนำเสนอบทสรุปของเรื่องราว
ผมเชื่อว่ายากนะที่จะไม่ชอบ Glass ได้
แม้ชยามาลานไม่เคยสร้างหนังภาคต่อเป็นชิ้นเป็นอัน (Split เหมือนภาคแยกมากกว่า เพราะเนื้อหาเชื่อมโยงกับ Unbreakable แค่ฉากสุดท้ายฉากเดียว)
เขาก็ยังทำ Glass ในฐานะภาคต่อได้อย่างดี เพราะเส้นเรื่องของตัวละครนำทั้ง 6 (พวกเหนือมนุษย์ 3+ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกชาย, มารดา, คนเคยโดนลักพาตัว)
ถูกเล่าต่อจากสองภาคแรกแบบไม่มีใครโดนละเลย และชักนำเข้าสู่บทสรุปครบหมด
สิ่งที่น่าชื่นชมอีกอย่างคือ Glass ยังยึดมั่นในแนวทางเฉพาะตัวของหนังชุดนี้เหนียวแน่นแบบคุณภาพไม่ตก
เพราะขับเคลื่อนเรื่องราวด้วยตัวละครเต็มสูบ โดยใช้วิธีโปรยบทสนทนาเรื่อยๆ เพื่อให้เข้าใจความคิดตัวละคร
และเพิ่มฉากนึกย้อนความหลัง (flashback) เสริมมากกว่าสมัยสองภาคแรก
ซึ่งมีประโยชน์ 2 ต่อ คือเข้าใจความคิดตัวละครมากขึ้นอีกขั้น และการใช้ฉากย้อนความจากภาคเก่าๆ มันก็เพิ่มความประทับใจให้คนเคยดูหนังเรื่องก่อนหน้า
ด้านรัศมีดาราของนักแสดง ผมมองว่าตัวละครนำทั้ง 7 (พวกเหนือมนุษย์ 3+ผู้เกี่ยวข้อง 3+จิตแพทย์หญิง)
ต่างเปล่งประกายอย่างเหมาะสมตามบทบาทของตัวเองกันแล้ว (มากบ้างน้อยบ้าง)
ไม่ใช่เล่นดีแค่เจมส์ แมคเอวอย (ชายหลายบุคลิก) คนเดียว
แต่เขาค่อนข้างเจิดจรัสกว่าใครเพื่อน เนื่องจากภาคนี้เปลี่ยนบุคลิกรัวๆ ประมาณ 20 แบบได้ (งานหนักเอาเรื่อง)
การตีความพลังเหนือมนุษย์ = ความผิดปกติ เสียพวกเค้าคล้ายคนป่วย ยังคงถูกนำเสนอต่อ
และเรียกว่าแนวคิดได้รับการต่อยอดด้วยซ้ำ เพราะชายเหนือมนุษย์ทั้ง 3 เข้าโรงพยาบาลบำบัดจิตเหมือนผู้ป่วยวิปลาส
แถมการเข้าโรงพยาบาลบำบัดจิตนี้ ความจริงมีเบื้องหลังซ่อนไว้
ซึ่งมันนำพาเหล่าตัวละครและคนดูสู่บทสรุป พร้อมพบตอนจบหักมุมตามสไตล์ผู้กำกับมาโนชอีกต่างหาก
สุดท้าย; เผื่อใครยังไม่ได้รับชม Glass หรือหนังไตรภาคนี้สักเรื่อง แต่สนใจมันอยู่
ลองถามตัวเองดูว่าคุณสนุกกับการติดตามบทสนทนาของตัวละคร เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์และความรู้สึกนึกคิดพวกเขามั้ย ?
รับได้เวลาหนังไม่จบแบบที่ปูทางไว้หรือเปล่า ?
อยากลองหนังฮีโร่ที่เสพยากกว่าเรื่องอื่นตามท้องตลาดไหม ?
ถ้าคำตอบคือใช่หมด ลองลิ้มชิมรสหนังฮีโร่ที่ยึดมั่นในแนวทางเฉพาะตัวอย่างเหนียวแน่นชุดนี้ดูสักหน่อยสิครับ
COMMENTS