ในขณะที่มีภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์สมมติ (Science fiction) ซึ่งความถูกต้องสูงอยู่ (เช่น Interstellar) แต่หลายครั้งหลายคราที่ภาพยนตร์แนวไซไฟ (S...
ในขณะที่มีภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์สมมติ (Science fiction) ซึ่งความถูกต้องสูงอยู่ (เช่น Interstellar)
แต่หลายครั้งหลายคราที่ภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-fi) ไม่ได้ขายความถูกต้องแม่นยำทางวิทยาศาสตร์
และทางเว็บไซต์ Yahoo! ก็ได้ลองสัมภาษณ์ด็อกเตอร์เดวิด เอ. เคอร์บี้ (Dr. David A. Kirby) อาจารย์อาวุโสด้านการสื่อสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ผู้แต่งหนังสือชื่อ Lab Coats in Hollywood ดู
ว่าสื่อบันเทิงทั้ง 10 เรื่องดังต่อไปนี้ มีทฤษฎีที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงมากน้อยแค่ไหน
"(ผู้กำกับ) ลุค เบซง แสดงออกโดยชัดแจ้งว่าไม่แคร์เรื่องความแย่ของวิทยาศาสตร์ในผลงาน" ดร.เคอร์บี้กล่าวถึงหนังบู๊แหลกลาญ ที่สการ์เล็ต โจแฮนสันได้รับยา อันเปลี่ยนเธอสู่สภาพยอดมนุษย์
"ตำนานเรื่องคนเราใช้พื้นที่สมองเพียง 10% มีมานมนาน แต่ว่ามันไม่ถูกต้องทั้งหมด
และผมก็ไม่ชอบที่หนังทำให้คนยิ่งเชื่อเรื่องนี้นานกว่าเก่า แถมเอามาขยายความแบบฉาบฉวย"
แต่นั่นยังไม่ใช่ความผิดพลาดทั้งหมดเพราะ "มันมีแนวคิดที่ไม่ถูกต้องว่าวิวัฒนาการคืออะไรและมีความหมายอย่างไร" เขาเสริม "ไม่มีวิวัฒนาการที่รวดเร็วปานนั้นหรอก"
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน สร้างเหตุการณ์น่าหวาดหวั่น ที่ผู้คนจำนวนมากพากันฆ่าตัวตายหมู่กะทันหัน และมันก็มีสาเหตุมาจาก 'ต้นไม้'
"มีหลายอย่างขาดเหตุผล--ทำไมต้นไม้เจาะจงเลือกแค่มนุษย์ ? แถมต้องอยู่รวมเป็นกลุ่มด้วยแน่ะ ?" ดร.เคอร์บี้บ่น
แล้วต้นไม้ 'โจมตี' ได้รึเปล่า ? "แนวคิดที่ให้พืชสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมออกจะสมจริง--หัวหอมก็ส่งผลกระทบต่อพืชอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ
แต่หนทางการนำเสนอของภาพยนตร์ และการขยายความจนโหดแบบนั้นก็เวอร์เกิน"
"ที่แย่กว่าอีกคือมาร์ค วอห์ลเบิร์กรับบทครูสอนวิทยาศาสตร์แท้ๆ แต่ปรัชญาส่วนตัวดันเป็น 'มีหลายสิ่งที่เรามิอาจทำความเข้าใจ'
ผมไม่ทราบคุณคิดว่าไง แต่ตามความเข้าใจของผมคือนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ใฝ่รู้
คำพูดที่ดูสวยหรูใน The Happening นี้ช่างร้ายกาจ และอาจไม่สมควรจะเอ่ยยิ่ง"
"ในหนังสือของผม, มีบทสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของหนังเรื่องนี้อยู่" ดร.เคอร์บี้อธิบาย "เขาผิดหวังน่าดูเพราะผู้เขียนบททำเหมือนรู้ทฤษฎีมากกว่านักวิทย์
แนวคิดเรื่องแกนโลกหยุดหมุนไม่มีความสมเหตุสมผล แต่ผู้เขียนบทซึ่งไม่ได้มีปริญญาวิชาฟิสิกส์สักใบ ทึกทักว่าข้อสมมตินี้มีเหตุผล"
อ้าว แปลว่าแกนดาวของเราไม่มีทางหยุดหมุนหรือ ? "ไอเดียเรื่องแกนหยุดหมุนน่ะไร้สาระ โดยพื้นฐานแล้วมันคือโลหะที่หลอมละลายซึ่งเป็นแม่เหล็ก ภายในดวงดาวไม่เหมือนข้างในลูกบอลธรรมดาที่หมุนอยู่สักหน่อย"
ภาคต้นแฟรนไชส์ Alien ของริดลีย์ สก็อต พยายามใส่ความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ลงไปบ้าง แต่ก็ไม่มากพอจะทำให้ดร.เคอร์บี้ นึกชื่นชม
"การเห็นพฤติกรรมของเหล่านักวิทยาศาสตร์ในหนัง รังแต่จะทำให้ผมเป็นบ้า" เขาว่า "นักธรณีวิทยาดันหลงทาง, นักชีววิทยาที่เพิ่งเจอรูปแบบชีวิตต่างดาวครั้งแรก กลับปฏิบัติต่อมันราวกับแมวที่เข้ามาซุกอยู่ใต้โซฟา การแสดงออกของพวกเขาช่างไร้ความสมเหตุสมผลสิ้นดี"
ไมเคิล เบย์ คงผิดหวังเอามากๆ หากได้ยินว่าวิทยาศาสตร์ในผลงานบล็อคบัสเตอร์ที่บรูซ วิลลิส พยายามหยุดยั้งมิให้อุกกาบาตชนโลก เป็นแค่ขยะ
"อุกกาบาตขนาดใหญ่เท่ารัฐเท็กซัสแท้ๆ แต่เรากลับตรวจจับไม่พบ จนกระทั่งเหลือเวลาก่อนชนเพียง 19 วัน, นี่มันบ้าชัดๆ" ดร.เคอร์บี้แขวะ
"ดาวเคราะห์น้อยไม่เหมือนดาวหาง คุณสามารถตรวจสอบวิถีโคจรของมันล่วงหน้าได้"
การส่งทีมของนักขุดเจาะบ่อน้ำมัน ไปฝังระเบิดนิวเคลียร์ใส่ผิวดาวเคราะห์น้อย ก็ไม่ใช่เรื่องสมควรทำ "คนที่ผมเคยคุยเรื่องนี้ด้วยเขาแนะนำว่า ใช้วิธียิงอาวุธนิวเคลียร์จากดาวโลก หรือใช้ยานอวกาศไร้คนขับ จะเข้าท่ากว่า"
นาซ่าไม่ยอมเข้ามามีส่วนร่วมกับภาพยนตร์ เพราะในผลงานนี้มีนักบินอวกาศคนนึงฆ่าพวกเดียวกัน
แต่เหตุผลที่ดร.เคอร์บี้เกลียดหนัง คือแนวคิดเก่าๆ เกี่ยวกับอาณานิคมบนดาวอังคาร
"แนวคิดของเรื่องราวทั้งหมด อิงบนทฤษฎีว่ามีพวกแมลงนอนเฉยๆ บนแผ่นดินดาวอังคาร ก่อนจะผุดกลับขึ้นมาเพราะเราเอาตะไคร่น้ำไปปลูก" เขาอธิบาย
"แค่เรื่องฝูงแมลงมีตัวตนอยู่บนดาวอังคาร ก็พาลพาให้ผมคลั่งละ" ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเรียกพวกมันว่าไส้เดือนฝอย (nematodes) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นหนอนขนาดเล็ก แต่ในภาพยนตร์พวก nematodes นี้ กลับมีหน้าตาคล้ายตัวด้วง
ซ้ำร้ายกว่านั้น บทหนังยังกล่าวถึงลำดับ DNA แบบผิดๆ ด้วย
"พวกเขาพูดถึง A, G, T และ P ในขณะที่ของจริงน่ะ A, G, T และ C นี่มันแค่วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานนะ"
คุณคงไม่แปลกใจว่าอุบัติการณ์วันสิ้นโลกของโรแลนด์ เอ็มเมอริชเรื่องนี้ มิได้สมจริงสักเท่าไหร่
"มันมีบทพูดเปิ่นๆ แบบ 'นิวตริโนกลายพันธุ์! (the neutrinos are mutating!)' ซึ่งไร้สาระและไร้ความหมาย" ดร.เคอร์บี้ว่า "ไม่แปลกเล้ยที่เรื่องนี้มาอยู่ในรายการ การหาคำอธิบายว่าสิ่งต่างๆ ในหนังเกิดขึ้นได้ยังไง มันเปล่าประโยชน์"
นิโคลัส เคจ คือศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของ MIT ที่ลูกชายค้นพบว่า บรรดาตัวเลขที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเขียนขึ้น ดูเหมือนกับคำทำนายสารพัดเหตุหายนะและสภาวะวันสิ้นโลก
"ไอเดียเกี่ยวกับตัวเลขทำนายชะตาช่างเป็นปัญหา" ดร.เคอร์บี้กล่าว
"การที่เราเอาแถวของตัวเลขมาตีความ เพื่อมองหาว่าเหตุการณ์อะไรกำลังจะเกิดขึ้น เหมือนความเชื่อมากกว่าวิทยาศาสตร์
มันคือวิทยาศาสตร์จอมปลอม และภาพยนตร์ก็ทำราวกับมันคือวิทยาศาสตร์ของจริง ซึ่งนั่นแหละปัญหา"
ภาพของทอมมี่ ลี โจนส์ เผชิญลาวาที่อยู่ตามท้องถนนช่างน่าดูชม แต่นั่นไม่สมเหตุสมผลสักนิดเดียว "ไอเดียเรื่องมีภูเขาไฟสงบใต้ลอสแองเจลิส คือความผิดพลาดด้านธรณีวิทยา จึงมีนักธรณีวิทยาหลายคนที่ไม่ปลื้มกับการป่าวประกาศเรื่องนี้"
"แถวนั้นพอมีกิจกรรมใต้เปลือกโลกอยู่บ้าง แต่อย่างมากก็แค่ระดับภูเขาไฟปะทุในแมนเชสเตอร์ ไม่มีทางเกิดเหตุร้ายระดับในหนังแน่"
ภาพยนตร์ที่อาโนลด์ ชวาเซเนกเกอร์มีร่างโคลน ขาดความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน
"มนุษย์โคลนของเรื่องนี้โตเต็มวัย โดยได้รับความทรงจำของร่างต้นติดมาด้วย" ดร.เคอร์บี้เกริ่น "ในมุมมองทางชีววิทยา เรื่องนี้มันประหลาดสิ้นดี
ตัวโคลนคือสำเนาทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ก็เหมือนเจ้าแกะดอลลี่ ที่เริ่มต้นจากเซลล์เพียง 1 เซลล์ แล้วผ่านกระบวนการพัฒนาปกติ, เติบโตตามธรรมชาติต่อไป
ไม่มีการสืบทอดความทรงจำผ่านโคลนนิ่ง, เคยมีการศึกษาที่ใช้หนอนตัวแบนในยุค 1970s อยู่ ซึ่งผู้คนหวังว่าจะค้นพบอะไร แต่ปรากฏว่าไม่พบเลยสักอย่าง"
แต่หลายครั้งหลายคราที่ภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-fi) ไม่ได้ขายความถูกต้องแม่นยำทางวิทยาศาสตร์
และทางเว็บไซต์ Yahoo! ก็ได้ลองสัมภาษณ์ด็อกเตอร์เดวิด เอ. เคอร์บี้ (Dr. David A. Kirby) อาจารย์อาวุโสด้านการสื่อสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ผู้แต่งหนังสือชื่อ Lab Coats in Hollywood ดู
ว่าสื่อบันเทิงทั้ง 10 เรื่องดังต่อไปนี้ มีทฤษฎีที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงมากน้อยแค่ไหน
***แม้หนังพวกนี้เก่าแล้ว แต่ขอเตือนหน่อยว่า บทความเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์***
[1] Lucy (2014)
"(ผู้กำกับ) ลุค เบซง แสดงออกโดยชัดแจ้งว่าไม่แคร์เรื่องความแย่ของวิทยาศาสตร์ในผลงาน" ดร.เคอร์บี้กล่าวถึงหนังบู๊แหลกลาญ ที่สการ์เล็ต โจแฮนสันได้รับยา อันเปลี่ยนเธอสู่สภาพยอดมนุษย์
"ตำนานเรื่องคนเราใช้พื้นที่สมองเพียง 10% มีมานมนาน แต่ว่ามันไม่ถูกต้องทั้งหมด
และผมก็ไม่ชอบที่หนังทำให้คนยิ่งเชื่อเรื่องนี้นานกว่าเก่า แถมเอามาขยายความแบบฉาบฉวย"
แต่นั่นยังไม่ใช่ความผิดพลาดทั้งหมดเพราะ "มันมีแนวคิดที่ไม่ถูกต้องว่าวิวัฒนาการคืออะไรและมีความหมายอย่างไร" เขาเสริม "ไม่มีวิวัฒนาการที่รวดเร็วปานนั้นหรอก"
[2] The Happening (2008)
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน สร้างเหตุการณ์น่าหวาดหวั่น ที่ผู้คนจำนวนมากพากันฆ่าตัวตายหมู่กะทันหัน และมันก็มีสาเหตุมาจาก 'ต้นไม้'
"มีหลายอย่างขาดเหตุผล--ทำไมต้นไม้เจาะจงเลือกแค่มนุษย์ ? แถมต้องอยู่รวมเป็นกลุ่มด้วยแน่ะ ?" ดร.เคอร์บี้บ่น
แล้วต้นไม้ 'โจมตี' ได้รึเปล่า ? "แนวคิดที่ให้พืชสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมออกจะสมจริง--หัวหอมก็ส่งผลกระทบต่อพืชอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ
แต่หนทางการนำเสนอของภาพยนตร์ และการขยายความจนโหดแบบนั้นก็เวอร์เกิน"
"ที่แย่กว่าอีกคือมาร์ค วอห์ลเบิร์กรับบทครูสอนวิทยาศาสตร์แท้ๆ แต่ปรัชญาส่วนตัวดันเป็น 'มีหลายสิ่งที่เรามิอาจทำความเข้าใจ'
ผมไม่ทราบคุณคิดว่าไง แต่ตามความเข้าใจของผมคือนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ใฝ่รู้
คำพูดที่ดูสวยหรูใน The Happening นี้ช่างร้ายกาจ และอาจไม่สมควรจะเอ่ยยิ่ง"
[3] The Core (2003)
"ในหนังสือของผม, มีบทสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของหนังเรื่องนี้อยู่" ดร.เคอร์บี้อธิบาย "เขาผิดหวังน่าดูเพราะผู้เขียนบททำเหมือนรู้ทฤษฎีมากกว่านักวิทย์
แนวคิดเรื่องแกนโลกหยุดหมุนไม่มีความสมเหตุสมผล แต่ผู้เขียนบทซึ่งไม่ได้มีปริญญาวิชาฟิสิกส์สักใบ ทึกทักว่าข้อสมมตินี้มีเหตุผล"
อ้าว แปลว่าแกนดาวของเราไม่มีทางหยุดหมุนหรือ ? "ไอเดียเรื่องแกนหยุดหมุนน่ะไร้สาระ โดยพื้นฐานแล้วมันคือโลหะที่หลอมละลายซึ่งเป็นแม่เหล็ก ภายในดวงดาวไม่เหมือนข้างในลูกบอลธรรมดาที่หมุนอยู่สักหน่อย"
[4] Prometheus (2012)
ภาคต้นแฟรนไชส์ Alien ของริดลีย์ สก็อต พยายามใส่ความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ลงไปบ้าง แต่ก็ไม่มากพอจะทำให้ดร.เคอร์บี้ นึกชื่นชม
"การเห็นพฤติกรรมของเหล่านักวิทยาศาสตร์ในหนัง รังแต่จะทำให้ผมเป็นบ้า" เขาว่า "นักธรณีวิทยาดันหลงทาง, นักชีววิทยาที่เพิ่งเจอรูปแบบชีวิตต่างดาวครั้งแรก กลับปฏิบัติต่อมันราวกับแมวที่เข้ามาซุกอยู่ใต้โซฟา การแสดงออกของพวกเขาช่างไร้ความสมเหตุสมผลสิ้นดี"
[5] Armageddon (1998)
ไมเคิล เบย์ คงผิดหวังเอามากๆ หากได้ยินว่าวิทยาศาสตร์ในผลงานบล็อคบัสเตอร์ที่บรูซ วิลลิส พยายามหยุดยั้งมิให้อุกกาบาตชนโลก เป็นแค่ขยะ
"อุกกาบาตขนาดใหญ่เท่ารัฐเท็กซัสแท้ๆ แต่เรากลับตรวจจับไม่พบ จนกระทั่งเหลือเวลาก่อนชนเพียง 19 วัน, นี่มันบ้าชัดๆ" ดร.เคอร์บี้แขวะ
"ดาวเคราะห์น้อยไม่เหมือนดาวหาง คุณสามารถตรวจสอบวิถีโคจรของมันล่วงหน้าได้"
การส่งทีมของนักขุดเจาะบ่อน้ำมัน ไปฝังระเบิดนิวเคลียร์ใส่ผิวดาวเคราะห์น้อย ก็ไม่ใช่เรื่องสมควรทำ "คนที่ผมเคยคุยเรื่องนี้ด้วยเขาแนะนำว่า ใช้วิธียิงอาวุธนิวเคลียร์จากดาวโลก หรือใช้ยานอวกาศไร้คนขับ จะเข้าท่ากว่า"
[6] Red Planet (2000)
นาซ่าไม่ยอมเข้ามามีส่วนร่วมกับภาพยนตร์ เพราะในผลงานนี้มีนักบินอวกาศคนนึงฆ่าพวกเดียวกัน
แต่เหตุผลที่ดร.เคอร์บี้เกลียดหนัง คือแนวคิดเก่าๆ เกี่ยวกับอาณานิคมบนดาวอังคาร
"แนวคิดของเรื่องราวทั้งหมด อิงบนทฤษฎีว่ามีพวกแมลงนอนเฉยๆ บนแผ่นดินดาวอังคาร ก่อนจะผุดกลับขึ้นมาเพราะเราเอาตะไคร่น้ำไปปลูก" เขาอธิบาย
"แค่เรื่องฝูงแมลงมีตัวตนอยู่บนดาวอังคาร ก็พาลพาให้ผมคลั่งละ" ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเรียกพวกมันว่าไส้เดือนฝอย (nematodes) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นหนอนขนาดเล็ก แต่ในภาพยนตร์พวก nematodes นี้ กลับมีหน้าตาคล้ายตัวด้วง
ซ้ำร้ายกว่านั้น บทหนังยังกล่าวถึงลำดับ DNA แบบผิดๆ ด้วย
"พวกเขาพูดถึง A, G, T และ P ในขณะที่ของจริงน่ะ A, G, T และ C นี่มันแค่วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานนะ"
[7] 2012 (2009)
คุณคงไม่แปลกใจว่าอุบัติการณ์วันสิ้นโลกของโรแลนด์ เอ็มเมอริชเรื่องนี้ มิได้สมจริงสักเท่าไหร่
"มันมีบทพูดเปิ่นๆ แบบ 'นิวตริโนกลายพันธุ์! (the neutrinos are mutating!)' ซึ่งไร้สาระและไร้ความหมาย" ดร.เคอร์บี้ว่า "ไม่แปลกเล้ยที่เรื่องนี้มาอยู่ในรายการ การหาคำอธิบายว่าสิ่งต่างๆ ในหนังเกิดขึ้นได้ยังไง มันเปล่าประโยชน์"
[8] Knowing (2009)
นิโคลัส เคจ คือศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของ MIT ที่ลูกชายค้นพบว่า บรรดาตัวเลขที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเขียนขึ้น ดูเหมือนกับคำทำนายสารพัดเหตุหายนะและสภาวะวันสิ้นโลก
"ไอเดียเกี่ยวกับตัวเลขทำนายชะตาช่างเป็นปัญหา" ดร.เคอร์บี้กล่าว
"การที่เราเอาแถวของตัวเลขมาตีความ เพื่อมองหาว่าเหตุการณ์อะไรกำลังจะเกิดขึ้น เหมือนความเชื่อมากกว่าวิทยาศาสตร์
มันคือวิทยาศาสตร์จอมปลอม และภาพยนตร์ก็ทำราวกับมันคือวิทยาศาสตร์ของจริง ซึ่งนั่นแหละปัญหา"
[9] Volcano (1997)
ภาพของทอมมี่ ลี โจนส์ เผชิญลาวาที่อยู่ตามท้องถนนช่างน่าดูชม แต่นั่นไม่สมเหตุสมผลสักนิดเดียว "ไอเดียเรื่องมีภูเขาไฟสงบใต้ลอสแองเจลิส คือความผิดพลาดด้านธรณีวิทยา จึงมีนักธรณีวิทยาหลายคนที่ไม่ปลื้มกับการป่าวประกาศเรื่องนี้"
"แถวนั้นพอมีกิจกรรมใต้เปลือกโลกอยู่บ้าง แต่อย่างมากก็แค่ระดับภูเขาไฟปะทุในแมนเชสเตอร์ ไม่มีทางเกิดเหตุร้ายระดับในหนังแน่"
[10] The 6th Day (2000)
ภาพยนตร์ที่อาโนลด์ ชวาเซเนกเกอร์มีร่างโคลน ขาดความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน
"มนุษย์โคลนของเรื่องนี้โตเต็มวัย โดยได้รับความทรงจำของร่างต้นติดมาด้วย" ดร.เคอร์บี้เกริ่น "ในมุมมองทางชีววิทยา เรื่องนี้มันประหลาดสิ้นดี
ตัวโคลนคือสำเนาทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ก็เหมือนเจ้าแกะดอลลี่ ที่เริ่มต้นจากเซลล์เพียง 1 เซลล์ แล้วผ่านกระบวนการพัฒนาปกติ, เติบโตตามธรรมชาติต่อไป
ไม่มีการสืบทอดความทรงจำผ่านโคลนนิ่ง, เคยมีการศึกษาที่ใช้หนอนตัวแบนในยุค 1970s อยู่ ซึ่งผู้คนหวังว่าจะค้นพบอะไร แต่ปรากฏว่าไม่พบเลยสักอย่าง"
ที่มา: yahoo
COMMENTS