ภาพยนตร์บู๊เลือดสาดที่กระแสตอบรับบน Netflix ดีแบบ Extraction มีฉากแอ็คชั่นที่ดูเสมือนเดินกล้องถ่ายทำเพียงครั้งเดียวต่อเนื่อง (one-shot) ซึ...
ภาพยนตร์บู๊เลือดสาดที่กระแสตอบรับบน Netflix ดีแบบ Extraction
มีฉากแอ็คชั่นที่ดูเสมือนเดินกล้องถ่ายทำเพียงครั้งเดียวต่อเนื่อง (one-shot)
ซึ่งสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ชมรู้สึกราวกับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยหลายฉาก
และความยาวทั้งหมดรวมๆ กันก็นานถึงประมาณ 30 นาที
ฉะนั้นสื่อต่างประเทศอย่าง gamesradar จึงอดไม่ได้ที่จะถาม 'แซม ฮาร์เกรฟ'
ซึ่งเคยเป็นผู้ประสานงานสตั๊นท์แมนของ Avengers: Endgame, Deadpool 2, Suicide Squad ว่าเขาทำลองเทค (long take) พวกนั้นยังไง
และคำตอบคือแค่ขั้นตอนส่วนหนึ่งก็ใช้เวลานานตั้ง "3-5 เดือน" ในการผลักดัน
คุณกับพี่น้องรุสโซเริ่มเตรียมตัวสร้างหนังตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ผมอ่านบทภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อนโน่น, สมัยโน้นมันยังถูกเรียกว่าซิวดัด (Ciudad) ตามนิยายภาพต้นฉบับ
แต่กว่าโครงการจะย้อนกลับมาหาผมอีกครั้งก็ตอนค.ศ. 2017 ขณะกำลังอยู่ในกองถ่ายของ Avengers: Infinity War
เราสนทนากันเรื่องที่ผมอยากกำกับหนังให้สมดังฝัน, ตอนนั้นโจบอกกับผมว่า "เฮ้ยนี่, ฉันเจอบทที่เหมาะจะเป็นหนังเปิดตัวของนายละ"
พอผมอ่านแล้วก็จำมันได้ แต่ในเวลาดังกล่าวฉากหลังกลายเป็นธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ
เรื่องราวยังคงเดิม, หัวใจของเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง แถมเปิดโอกาสให้เกิดการบู๊ระห่ำยิ่งกว่าเก่า
ผมเลยตอบเขา "รู้สึกเป็นเกียรติมากครับ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้"
คุณเคยกำกับและแสดงในหลายฉาก ในฐานะผู้กำกับกองถ่ายสอง (second unit director) ของ Deadpool, Avengers และอีกสารพัด
คุณน่าจะมีโอกาสเลือกทำภาพยนตร์เรื่องอื่นอีกมาก อะไรทำให้ถึงขั้นออกปากทำนองว่า "ผมต้องทำเรื่องนี้ให้ได้"
ผมเติบโตมากับพวกหนังยุค 80s และ 90s ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผมหวนรำลึกถึงผลงานพวกนั้น
มันมีฮีโร่ผู้มาพร้อมข้อบกพร่อง และเขาต้องกระเสือกกระสนเพื่อหลุดพ้นจากปัญหาบางอย่าง
ซึ่งนั่นก็เหมาะสมกับเรื่องราว ที่ว่าด้วยการพยายามไถ่บาปของตัวละคร พร้อมการออกลีลาท่าต่อสู้สุดดุเดือด
ชีวิตผมหายใจเข้าออกเป็นฉากบู๊เสียส่วนใหญ่
การได้เอาองค์ประกอบสองอย่าง คือหนังแอ็คชั่นและเรื่องราวที่ซึ้งกินใจมารวมกัน
มันช่างน่าพิศมัย ชวนให้อยากเริ่มงานกำกับเต็มตัวตรงนี้นัก
ภาพยนตร์แอ็คชั่นเรื่องใดบ้าง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณ ยามผลิต Extraction ?
ผมเติบโตมาโดยการรับชมหนังเอเชียและฮ่องกงยุค 80s กับ 90s
ผมชื่นชมเฉินหลง, เจ็ต ลี, ดอนนี่ เยน และบรรดาแอ็คชั่นสตาร์ชาวเอเชีย
สไตล์, จังหวะ, กระบวนท่า, วิธีตัดต่อ, รูปแบบการถ่ายทำของหนังเหล่านั้น มีอิทธิพลต่อผมเยอะ
ผมเอาไปผสมกับงานฝั่งตะวันตกแบบ Die Hard, True Lies, Rambo ที่ได้ดูมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยอยู่เช่นกัน
ผมกลับไปดูหนังพวกนี้ซ้ำเพื่อซึมซับอรรถรสมา แต่ก็อย่างว่าคืองานฝั่งเอเชียยังคงทรงอิทธิพลต่อผมมากกว่า
คุณจะเห็นได้จากการพิจารณาฉากบู๊ของ Extraction เหมือนกับที่คงสังเกตเจอเช่นกันใน John Wick ซึ่งอดีตผู้ประสานงานสตั๊นท์แมนก็ผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
บางทีนี่อาจเป็นเทรนด์ใหม่หลังจากนี้ ที่หนังแนวต่อสู้ของตะวันตกจะใช้สไตล์ของเอเชียมาผสมละมั้ง ?
มาพูดถึง one-shot กันดีกว่า ฉากต่อเนื่องในหนังดูแล้วรู้สึกคล้ายพวกวิดีโอเกมจำพวก Call of Duty เลยนะ
จุดประสงค์ของฉากทำนองนี้ คือให้ผู้ชมจดจ่ออยู่กับอารมณ์บู๊ดุเดือด
มันไม่ใช่มุมมองบุคคลที่หนึ่งเหมือนในเกม คนดูคงอินน้อยกว่าเล่นเกมนิด แต่คิดว่าการนำพวกเขาไปอยู่จุดเดียวกับตัวละครสำเร็จอยู่
ผมให้มุมกล้องเป็นตัวแทนของอีกตัวละครนึง ซึ่งเวลาถ่ายทำผมก็ไปยืนร่วมกับเหล่านักแสดงตรงนั้น
ผมเลยได้รับประสบการณ์เสมือนขึ้นรถคันเดียวกัน, เผชิญสถานการณ์ต่างๆ ร่วมกับเขา และก็หวังว่าผู้ชมจะเข้าถึงอารมณ์ลักษณะเดียวกัน
มุมกล้องของผมควรทำให้คุณรู้สึกราวกับบุคคลที่สาม ซึ่งร่วมทางผจญภัยใน Extraction
คุณจะสัมผัสประสบการณ์ได้ราวกับว่าตัวเองหันหน้าตามมุมกล้อง และมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเวลาในโลกความจริง
คุณวางแผนเกี่ยวกับ one-shot ล่วงหน้านานแค่ไหน ? และอะไรคือส่วนยากสุดของงาน ?
อันที่จริงบท (ซึ่งโจเขียนไว้ดีมากๆ ) ไม่ได้กำหนดให้เป็น one-shot
ตอนอ่านมันผมตาลุกวาวออกอาการ "พระเจ้าช่วย ยังกับหนัง James Bond หรือ Jason Bourne" แต่ก็ตระหนักว่ามันไม่ใช่ผลงานระดับนั้น
ผมไม่อยากพยายามทำเกินตัว เพื่อให้คนมาตบหลังปลอบใจว่า "เอาน่า นายพยายามแล้ว"
ผมอยากทำอะไรเฉพาะตัว โดยผสมผสานองค์ประกอบหลายประการ
ฉากต่อสู้กับฉากไล่ล่ายาวๆ คือการนำองค์ประกอบด้านสตั๊นท์หลายอย่าง มาประสานเข้าด้วยกันในช่วงเวลาต่อเนื่องนั่น, พอตั้งเป้าได้ดังนั้นผมจึงเริ่มต้นลองดู
เราไม่หวังสูงจะเทียบชั้นหนังบอนด์ เราเพียงลองใส่ความต้องการของตนลงผลงาน
เราไม่เน้นกระบวนท่าหรือการออกแบบลีลา แต่เราเน้นทำตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ต่างหาก
หลังผมวางเป้าหมาย มันใช้เวลาพัฒนาจากแนวคิดสู่การกระทำประมาณ 3-5 เดือน
เราวาดรูปบนกระดาษโดยใช้บทภาพยนตร์นำทางเนื้อหา
ผมคอยเช็คบทหาสิ่งที่ผู้แต่งอยากนำเสนอเสมอ และเลือกรักษาสิ่งที่สำคัญต่อการบอกเล่าเรื่องราวไว้
แล้วใส่รายละเอียดปลีกย่อยของฉากบู๊เสริม เพื่อเพิ่มความน่าตื่นเต้น
และในอีกด้านหนึ่งก็ต้องไม่ปล่อยเนื้อเรื่องของซาจู ซึ่งคอยสนับสนุนเรื่องราวของไทเลอร์ เรคอยู่ ให้บกพร่อง
เพื่อจะตอบโจทย์ทั้งหมดนั่น เราจึงต้องยอมเสี่ยง
ระหว่างวางกลยุทธ์มีเสียงเสนอว่า "เราควรทิ้งพระเอกไปบ้างหรือเปล่า ?" เพราะคนส่วนใหญ่จะอยากติดตามพระเอกตั้งแต่ต้นยันจบ
ลงท้ายเราก็ลองทิ้งพระเอก, ตามดูซาจูบ้าง ก่อนจะหันมองทางด้านผู้ร้ายตัวจริง
เราแอบหวั่นใจพอสมควรว่าคนดูจะชอบไหม แต่ผมเองเชื่อว่าที่ทำไปใช้ได้นะ
มันสร้างความตึงเครียด และดึงดูดให้ผู้ชมลุ้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อ
พอวาดภาพทุกอย่างเสร็จ ผมก็ไปพูดกับแผนกสถานที่และงานออกแบบว่า "นี่แหละองค์ประกอบต่างๆ ที่ผมต้องการ ช่วยรวบรวมข้อมูลมาหน่อย"
พวกเขาแสวงหาสถานที่เด็ดๆ มาประเคน และผมก็ตามไปดูเพื่อเลือกฉากหลังที่เข้ากับบรรยากาศของแต่ละช่วง
เรามองหาความสะดวกในการถ่ายทำเช่นกัน จากนั้นจึงเริ่มซักซ้อมคิวงาน
เราสำรวจสถานที่ 7-8 แห่ง แม้เอาเข้าจริงจะใช้เพียง 1-2 แห่งเท่านั้น
เราพาทีมงานทุกคนเยือนตามสถานที่ต่างๆ , ทุกคนจะได้เข้าใจตรงกันว่าเราจะทำอะไรหรือต้องการสิ่งใด
มันเหนื่อยเป็นบ้า เพราะผมแวะตามสถานที่เหล่านั้นนับครั้งไม่ถ้วน พร้อมกับทีมสตั๊นท์
เราซักซ้อมเตรียมตัวในโรงยิมล่วงหน้า แล้วพาทีมไปเช็คสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งไม่โล่งกว้างสะดวกสบายต่อการเคลื่อนไหวเสมอไป และปรับเปลี่ยนฉากต่อสู้ให้เข้ากับพื้นที่
บางครั้งเราถ่ายทำรอบทดลองบนสถานที่จริงก่อน เพื่อทดสอบว่าเมื่อทีมงานและนักแสดงทุกคนมาเยือนอาจจะเจอปัญหาใด
เมื่อวางแผนจนแน่ใจแล้วว่าจะไร้อุปสรรคใหญ่ ค่อยถ่ายทำ, ตัดต่อ, ยกขบวนกลับไปถ่ายทำ แล้วก็ตัดต่อ
ผลลัพธ์ออกมาดีจนบางครั้งถ้าคริส เฮมส์เวิร์ธ รู้สึกว่าอารมณ์มันไม่ได้ หรือขณะถ่ายทำเรานึกไอเดียแจ่มกว่าเดิมออก
ก็สามารถด้นสดหน้างานได้ทันที เพราะเราเตรียมตัวมาพร้อม
1917 ของแซม เมนเดส ซึ่งเน้น one shot เช่นกัน เป็นอะไรที่ต้องผ่านการวางแผนละเอียดแบบน่าอัศจรรย์
และจากที่คุณว่ามาการถ่ายทำ one-shot มันก็เปลืองพลังงานจัด ฉะนั้นคุณยังอยากทำเรื่องพวกนี้อีกไหม ?
ผมจะจัดหนักเล่นใหญ่กว่าเก่า, มันตลกดีนะที่ตอนเราถ่ายหนังไม่รู้ว่าแซมกำลังทำอะไร
แล้วพอ 1917 ได้เริ่มการประชาสัมพันธ์ คนในกองก็พลันสบถว่า "ไอ้บ้าเอ๊ย, ดันมาตัดหน้าเรา"
ผมชอบ 1917 แต่ก็ริษยาเล็กน้อย เพราะเขาทำสิ่งที่ผมคิดจะลองในสักวัน
เรากังวลอยู่แล้วว่าอาจมีคนทำตัดหน้า แต่ความจริงคือถ้าคุณมอบบทภาพยนตร์ 1 เรื่องให้ผู้กำกับ 10 คน ผลลัพธ์จะออกมาแตกต่างกันหมด
สไตล์ของเขา, สไตล์ของผม, สไตล์ของภาพยนตร์ Birdman แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ผลงานทุกชิ้นมีเอกลักษณ์ของตนเอง นั่นแหละที่ส่งผลให้ภาพยนตร์เป็นเรื่องน่าสนุก
ขอถามถึง Endgame สักนิด, ความทรงจำล้ำค่าที่สุดของคุณตอนถ่ายทำอยู่คืออะไร ?
ความทรงจำล้ำค่าที่สุดของผมจาก Avengers: Endgame คือฉากกัปตันอเมริกายุคปัจจุบัน ซัดกับกัปตันอเมริกาในอดีต ตอนที่เขาย้อนเวลา
จุดสตาร์ทอาชีพการงานของผมกับมาร์เวลคือ Avengers ภาคแรก
โดยเล่นเป็นสตั๊นท์แมนของคริส อีแวนส์ สวมชุดกัปตันอเมริกา
ผมได้รับมอบหมายให้กำกับฉากดังกล่าวของ Endgame และช่วยออกแบบท่วงท่า
ผมตัดสินใจโกนหนวดและตัดผมทิ้ง เพื่อสวมชุดกัปตันอเมริกาครั้งสุดท้าย เนื่องจากน้องชายคือสตั๊นท์แมนของกัปตันฯ ใน Endgame
ผมเลยเหมาเรียบทั้งกำกับ, ออกแบบท่า และแสดงแทนในชุดสูทรัดรูป
ความหลังตั้งแต่เริ่มงานกับจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล, การร่วมงานกับน้องชาย, สหายที่ดีแบบคริส อีแวนส์ และกำลังใจจากคุณพ่อที่แวะมาดูตอนถ่ายทำ 3 วัน
ทั้งหมดประดังประเดกันเข้ามา และถูกหลอมรวมให้กลายเป็นฉากนั้นในหนัง
มันจึงเป็นความทรงจำล้ำค่าที่สุด ในชีวิตการทำงานบนเส้นทางภาพยนตร์ของผม
มีฉากแอ็คชั่นที่ดูเสมือนเดินกล้องถ่ายทำเพียงครั้งเดียวต่อเนื่อง (one-shot)
ซึ่งสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ชมรู้สึกราวกับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยหลายฉาก
และความยาวทั้งหมดรวมๆ กันก็นานถึงประมาณ 30 นาที
ฉะนั้นสื่อต่างประเทศอย่าง gamesradar จึงอดไม่ได้ที่จะถาม 'แซม ฮาร์เกรฟ'
ซึ่งเคยเป็นผู้ประสานงานสตั๊นท์แมนของ Avengers: Endgame, Deadpool 2, Suicide Squad ว่าเขาทำลองเทค (long take) พวกนั้นยังไง
และคำตอบคือแค่ขั้นตอนส่วนหนึ่งก็ใช้เวลานานตั้ง "3-5 เดือน" ในการผลักดัน
คุณกับพี่น้องรุสโซเริ่มเตรียมตัวสร้างหนังตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ผมอ่านบทภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อนโน่น, สมัยโน้นมันยังถูกเรียกว่าซิวดัด (Ciudad) ตามนิยายภาพต้นฉบับ
แต่กว่าโครงการจะย้อนกลับมาหาผมอีกครั้งก็ตอนค.ศ. 2017 ขณะกำลังอยู่ในกองถ่ายของ Avengers: Infinity War
เราสนทนากันเรื่องที่ผมอยากกำกับหนังให้สมดังฝัน, ตอนนั้นโจบอกกับผมว่า "เฮ้ยนี่, ฉันเจอบทที่เหมาะจะเป็นหนังเปิดตัวของนายละ"
พอผมอ่านแล้วก็จำมันได้ แต่ในเวลาดังกล่าวฉากหลังกลายเป็นธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ
เรื่องราวยังคงเดิม, หัวใจของเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง แถมเปิดโอกาสให้เกิดการบู๊ระห่ำยิ่งกว่าเก่า
ผมเลยตอบเขา "รู้สึกเป็นเกียรติมากครับ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้"
ปกของนิยายภาพต้นฉบับ
คุณเคยกำกับและแสดงในหลายฉาก ในฐานะผู้กำกับกองถ่ายสอง (second unit director) ของ Deadpool, Avengers และอีกสารพัด
คุณน่าจะมีโอกาสเลือกทำภาพยนตร์เรื่องอื่นอีกมาก อะไรทำให้ถึงขั้นออกปากทำนองว่า "ผมต้องทำเรื่องนี้ให้ได้"
ผมเติบโตมากับพวกหนังยุค 80s และ 90s ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผมหวนรำลึกถึงผลงานพวกนั้น
มันมีฮีโร่ผู้มาพร้อมข้อบกพร่อง และเขาต้องกระเสือกกระสนเพื่อหลุดพ้นจากปัญหาบางอย่าง
ซึ่งนั่นก็เหมาะสมกับเรื่องราว ที่ว่าด้วยการพยายามไถ่บาปของตัวละคร พร้อมการออกลีลาท่าต่อสู้สุดดุเดือด
ชีวิตผมหายใจเข้าออกเป็นฉากบู๊เสียส่วนใหญ่
การได้เอาองค์ประกอบสองอย่าง คือหนังแอ็คชั่นและเรื่องราวที่ซึ้งกินใจมารวมกัน
มันช่างน่าพิศมัย ชวนให้อยากเริ่มงานกำกับเต็มตัวตรงนี้นัก
ภาพยนตร์แอ็คชั่นเรื่องใดบ้าง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณ ยามผลิต Extraction ?
ผมเติบโตมาโดยการรับชมหนังเอเชียและฮ่องกงยุค 80s กับ 90s
ผมชื่นชมเฉินหลง, เจ็ต ลี, ดอนนี่ เยน และบรรดาแอ็คชั่นสตาร์ชาวเอเชีย
สไตล์, จังหวะ, กระบวนท่า, วิธีตัดต่อ, รูปแบบการถ่ายทำของหนังเหล่านั้น มีอิทธิพลต่อผมเยอะ
ผมเอาไปผสมกับงานฝั่งตะวันตกแบบ Die Hard, True Lies, Rambo ที่ได้ดูมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยอยู่เช่นกัน
ผมกลับไปดูหนังพวกนี้ซ้ำเพื่อซึมซับอรรถรสมา แต่ก็อย่างว่าคืองานฝั่งเอเชียยังคงทรงอิทธิพลต่อผมมากกว่า
คุณจะเห็นได้จากการพิจารณาฉากบู๊ของ Extraction เหมือนกับที่คงสังเกตเจอเช่นกันใน John Wick ซึ่งอดีตผู้ประสานงานสตั๊นท์แมนก็ผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
บางทีนี่อาจเป็นเทรนด์ใหม่หลังจากนี้ ที่หนังแนวต่อสู้ของตะวันตกจะใช้สไตล์ของเอเชียมาผสมละมั้ง ?
มาพูดถึง one-shot กันดีกว่า ฉากต่อเนื่องในหนังดูแล้วรู้สึกคล้ายพวกวิดีโอเกมจำพวก Call of Duty เลยนะ
เกม Call of Duty ภาค Modern Warfare 3
จุดประสงค์ของฉากทำนองนี้ คือให้ผู้ชมจดจ่ออยู่กับอารมณ์บู๊ดุเดือด
มันไม่ใช่มุมมองบุคคลที่หนึ่งเหมือนในเกม คนดูคงอินน้อยกว่าเล่นเกมนิด แต่คิดว่าการนำพวกเขาไปอยู่จุดเดียวกับตัวละครสำเร็จอยู่
ผมให้มุมกล้องเป็นตัวแทนของอีกตัวละครนึง ซึ่งเวลาถ่ายทำผมก็ไปยืนร่วมกับเหล่านักแสดงตรงนั้น
ผมเลยได้รับประสบการณ์เสมือนขึ้นรถคันเดียวกัน, เผชิญสถานการณ์ต่างๆ ร่วมกับเขา และก็หวังว่าผู้ชมจะเข้าถึงอารมณ์ลักษณะเดียวกัน
มุมกล้องของผมควรทำให้คุณรู้สึกราวกับบุคคลที่สาม ซึ่งร่วมทางผจญภัยใน Extraction
คุณจะสัมผัสประสบการณ์ได้ราวกับว่าตัวเองหันหน้าตามมุมกล้อง และมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเวลาในโลกความจริง
คุณวางแผนเกี่ยวกับ one-shot ล่วงหน้านานแค่ไหน ? และอะไรคือส่วนยากสุดของงาน ?
อันที่จริงบท (ซึ่งโจเขียนไว้ดีมากๆ ) ไม่ได้กำหนดให้เป็น one-shot
ตอนอ่านมันผมตาลุกวาวออกอาการ "พระเจ้าช่วย ยังกับหนัง James Bond หรือ Jason Bourne" แต่ก็ตระหนักว่ามันไม่ใช่ผลงานระดับนั้น
ผมไม่อยากพยายามทำเกินตัว เพื่อให้คนมาตบหลังปลอบใจว่า "เอาน่า นายพยายามแล้ว"
ผมอยากทำอะไรเฉพาะตัว โดยผสมผสานองค์ประกอบหลายประการ
ฉากต่อสู้กับฉากไล่ล่ายาวๆ คือการนำองค์ประกอบด้านสตั๊นท์หลายอย่าง มาประสานเข้าด้วยกันในช่วงเวลาต่อเนื่องนั่น, พอตั้งเป้าได้ดังนั้นผมจึงเริ่มต้นลองดู
เราไม่หวังสูงจะเทียบชั้นหนังบอนด์ เราเพียงลองใส่ความต้องการของตนลงผลงาน
เราไม่เน้นกระบวนท่าหรือการออกแบบลีลา แต่เราเน้นทำตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ต่างหาก
หลังผมวางเป้าหมาย มันใช้เวลาพัฒนาจากแนวคิดสู่การกระทำประมาณ 3-5 เดือน
เราวาดรูปบนกระดาษโดยใช้บทภาพยนตร์นำทางเนื้อหา
ผมคอยเช็คบทหาสิ่งที่ผู้แต่งอยากนำเสนอเสมอ และเลือกรักษาสิ่งที่สำคัญต่อการบอกเล่าเรื่องราวไว้
แล้วใส่รายละเอียดปลีกย่อยของฉากบู๊เสริม เพื่อเพิ่มความน่าตื่นเต้น
และในอีกด้านหนึ่งก็ต้องไม่ปล่อยเนื้อเรื่องของซาจู ซึ่งคอยสนับสนุนเรื่องราวของไทเลอร์ เรคอยู่ ให้บกพร่อง
เพื่อจะตอบโจทย์ทั้งหมดนั่น เราจึงต้องยอมเสี่ยง
ระหว่างวางกลยุทธ์มีเสียงเสนอว่า "เราควรทิ้งพระเอกไปบ้างหรือเปล่า ?" เพราะคนส่วนใหญ่จะอยากติดตามพระเอกตั้งแต่ต้นยันจบ
ลงท้ายเราก็ลองทิ้งพระเอก, ตามดูซาจูบ้าง ก่อนจะหันมองทางด้านผู้ร้ายตัวจริง
เราแอบหวั่นใจพอสมควรว่าคนดูจะชอบไหม แต่ผมเองเชื่อว่าที่ทำไปใช้ได้นะ
มันสร้างความตึงเครียด และดึงดูดให้ผู้ชมลุ้นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อ
พอวาดภาพทุกอย่างเสร็จ ผมก็ไปพูดกับแผนกสถานที่และงานออกแบบว่า "นี่แหละองค์ประกอบต่างๆ ที่ผมต้องการ ช่วยรวบรวมข้อมูลมาหน่อย"
พวกเขาแสวงหาสถานที่เด็ดๆ มาประเคน และผมก็ตามไปดูเพื่อเลือกฉากหลังที่เข้ากับบรรยากาศของแต่ละช่วง
เรามองหาความสะดวกในการถ่ายทำเช่นกัน จากนั้นจึงเริ่มซักซ้อมคิวงาน
เราสำรวจสถานที่ 7-8 แห่ง แม้เอาเข้าจริงจะใช้เพียง 1-2 แห่งเท่านั้น
เราพาทีมงานทุกคนเยือนตามสถานที่ต่างๆ , ทุกคนจะได้เข้าใจตรงกันว่าเราจะทำอะไรหรือต้องการสิ่งใด
มันเหนื่อยเป็นบ้า เพราะผมแวะตามสถานที่เหล่านั้นนับครั้งไม่ถ้วน พร้อมกับทีมสตั๊นท์
เราซักซ้อมเตรียมตัวในโรงยิมล่วงหน้า แล้วพาทีมไปเช็คสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งไม่โล่งกว้างสะดวกสบายต่อการเคลื่อนไหวเสมอไป และปรับเปลี่ยนฉากต่อสู้ให้เข้ากับพื้นที่
บางครั้งเราถ่ายทำรอบทดลองบนสถานที่จริงก่อน เพื่อทดสอบว่าเมื่อทีมงานและนักแสดงทุกคนมาเยือนอาจจะเจอปัญหาใด
เมื่อวางแผนจนแน่ใจแล้วว่าจะไร้อุปสรรคใหญ่ ค่อยถ่ายทำ, ตัดต่อ, ยกขบวนกลับไปถ่ายทำ แล้วก็ตัดต่อ
ผลลัพธ์ออกมาดีจนบางครั้งถ้าคริส เฮมส์เวิร์ธ รู้สึกว่าอารมณ์มันไม่ได้ หรือขณะถ่ายทำเรานึกไอเดียแจ่มกว่าเดิมออก
ก็สามารถด้นสดหน้างานได้ทันที เพราะเราเตรียมตัวมาพร้อม
1917 ของแซม เมนเดส ซึ่งเน้น one shot เช่นกัน เป็นอะไรที่ต้องผ่านการวางแผนละเอียดแบบน่าอัศจรรย์
และจากที่คุณว่ามาการถ่ายทำ one-shot มันก็เปลืองพลังงานจัด ฉะนั้นคุณยังอยากทำเรื่องพวกนี้อีกไหม ?
แซม เมนเดส ขณะทำ 1917
ผมจะจัดหนักเล่นใหญ่กว่าเก่า, มันตลกดีนะที่ตอนเราถ่ายหนังไม่รู้ว่าแซมกำลังทำอะไร
แล้วพอ 1917 ได้เริ่มการประชาสัมพันธ์ คนในกองก็พลันสบถว่า "ไอ้บ้าเอ๊ย, ดันมาตัดหน้าเรา"
ผมชอบ 1917 แต่ก็ริษยาเล็กน้อย เพราะเขาทำสิ่งที่ผมคิดจะลองในสักวัน
เรากังวลอยู่แล้วว่าอาจมีคนทำตัดหน้า แต่ความจริงคือถ้าคุณมอบบทภาพยนตร์ 1 เรื่องให้ผู้กำกับ 10 คน ผลลัพธ์จะออกมาแตกต่างกันหมด
สไตล์ของเขา, สไตล์ของผม, สไตล์ของภาพยนตร์ Birdman แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ผลงานทุกชิ้นมีเอกลักษณ์ของตนเอง นั่นแหละที่ส่งผลให้ภาพยนตร์เป็นเรื่องน่าสนุก
ขอถามถึง Endgame สักนิด, ความทรงจำล้ำค่าที่สุดของคุณตอนถ่ายทำอยู่คืออะไร ?
ความทรงจำล้ำค่าที่สุดของผมจาก Avengers: Endgame คือฉากกัปตันอเมริกายุคปัจจุบัน ซัดกับกัปตันอเมริกาในอดีต ตอนที่เขาย้อนเวลา
จุดสตาร์ทอาชีพการงานของผมกับมาร์เวลคือ Avengers ภาคแรก
โดยเล่นเป็นสตั๊นท์แมนของคริส อีแวนส์ สวมชุดกัปตันอเมริกา
ผมได้รับมอบหมายให้กำกับฉากดังกล่าวของ Endgame และช่วยออกแบบท่วงท่า
ผมตัดสินใจโกนหนวดและตัดผมทิ้ง เพื่อสวมชุดกัปตันอเมริกาครั้งสุดท้าย เนื่องจากน้องชายคือสตั๊นท์แมนของกัปตันฯ ใน Endgame
ผมเลยเหมาเรียบทั้งกำกับ, ออกแบบท่า และแสดงแทนในชุดสูทรัดรูป
ความหลังตั้งแต่เริ่มงานกับจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล, การร่วมงานกับน้องชาย, สหายที่ดีแบบคริส อีแวนส์ และกำลังใจจากคุณพ่อที่แวะมาดูตอนถ่ายทำ 3 วัน
ทั้งหมดประดังประเดกันเข้ามา และถูกหลอมรวมให้กลายเป็นฉากนั้นในหนัง
มันจึงเป็นความทรงจำล้ำค่าที่สุด ในชีวิตการทำงานบนเส้นทางภาพยนตร์ของผม
ที่มา https://www.gamesradar.com/extraction-netflix-sam-hargrave-interview/
COMMENTS