ขณะที่กองยานของฝ่ายต่อต้านโดนไล่ล่าอย่างต่อเนื่อง จนจวนเจียนจะถูกเจี๋ยนเหี้ยนไม่เหลือ ใน The Last Jedi ตัวละครหญิงชื่อ 'โฮลโด' ตัดส...
ขณะที่กองยานของฝ่ายต่อต้านโดนไล่ล่าอย่างต่อเนื่อง จนจวนเจียนจะถูกเจี๋ยนเหี้ยนไม่เหลือ ใน The Last Jedi
ตัวละครหญิงชื่อ 'โฮลโด' ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม ด้วยการหันหัวยานอวกาศลำใหญ่ซึ่งเหลือเธอโดยสารอยู่เพียงคนเดียว
ไปยังทิศทางที่มีกองยานปฐมภาคีหลายลำ กำลังลอยเรียงแถวเป็นแนวสลอนสวยงาม
แล้วเดินเครื่องยนต์ส่งยานเข้าสู่ความเร็วแสง พุ่งชนยานแม่ของทัพปฐมภาคีด้วยความรุนแรง
ซึ่งแรงกระทบ+เศษซากจากการกระแทกอีกมาก ก็ได้กระจายออกเป็นรูปใบพัด ไปซัดยานลำอื่นๆ เกลี้ยง
ท่าทางวีรกรรมของสตรีผู้นี้ จะโด่งดังกึกก้องทั่วหล้า
เนื่องจากในช่วงท้ายของภาพยนตร์ภาคถัดมาแบบ The Rise of Skywalker มีบุรุษกองทัพฝ่ายต่อต้าน
เสนอให้เพื่อนๆ ใช้วิธีการเดียวกับโฮลโด กวาดล้างพวกปัจฉิมภาคี
แต่ผู้นำฝ่ายต่อต้านเวลาดังกล่าวแบบโพ ดาเมรอนก็ปฏิเสธทันที โดยชี้ว่าโอกาสสำเร็จมีเพียง '1 ในล้าน'
แม้ไม่มีใครในฝ่ายต่อต้านใช้วิธีของโฮลโด แต่กองยานฝ่ายต่อต้านที่จำนวนน้อยกว่าปัจฉิมภาคียิ่ง
ก็ยังตรงดิ่งสู่เอ็กซาโกล แล้วได้ชัยชนะเป็นของฝากกลับบ้าน เพราะชาวบ้านทั่วกาแล็คซี่แห่แหนมาช่วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อภาพยนตร์ชี้ให้เห็นความพ่ายแพ้ของปัจฉิมภาคีในส่วนอื่นๆ ของจักรวาล
ถ้าคุณสังเกตดีๆ จะพบว่าบนดวงจันทร์ของดาวเอนดอร์ (ซึ่งเป็นสมรภูมิหลักของหนังภาค Return of the Jedi)
มีคนที่ใช้วิธีพลีชีพแบบโฮลโดแล้วทำสำเร็จอยู่ด้วย
การมีคนใช้วิธีของโฮลโดซ้ำแล้วสำเร็จ อาจไม่ขัดกับการที่โพบอกว่าโอกาสทำได้มันน้อยนิดเหลือหลาย
ทว่าคำถามที่ตามมาคือ ในสงครามอื่นๆ อีกมากมายของ Star Wars ยุคก่อนหน้านี้ ทำไมไม่มีใครเคยคิดจะสร้างกองทัพคามิคาเซ่เลย
เพราะต่อให้มีเหตุผลเรื่องศีลธรรมค้ำคอ จนไม่กล้าใช้กองพันนักบินมีชีวิต
แต่ถ้าติดหุ่นยนต์ขับยานไปกับเครื่องบินเล็กจำนวนมาก แล้วส่งพวกมันพุ่งผ่านความเร็วแสงระยะสั้นๆ สู่ฐานทัพหรือยานแม่ฝ่ายตรงข้ามรัวๆ
ต่อให้โดนเป้าหมายจังๆ แค่ครั้งเดียว คุณก็ชนะศึกได้ชัวร์
ต้องยอมรับว่าภาพยนตร์ทั้งภาค Rise of Skywalker และ Last Jedi ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนนักเอาไว้
แต่ผมได้ลองค้นคว้าการถกเถียงกันของแฟนๆ ต่างประเทศ เรื่อง 'ทำไมวิธีของโฮลโดคือความสำเร็จ 1 ในล้าน ?' ด้วยความคาใจ
และเลือกเหตุผลที่มองว่าเข้าเค้าสุด มานำเสนอในส่วนที่เหลือของบทความ เพื่อตีแผ่ปริศนานี้ให้กระจ่างครับ
ก่อนอื่น ต้องเริ่มจากทบทวนพื้นฐานเรื่องวิธีเดินทางข้ามจักรวาล ในแบบของชาว Star Wars
เพราะถึงจะบอกว่าพวกเขาใช้ 'ความเร็วแสง' แต่นั่นก็แค่ช่วง 'เร่งเครื่อง' ระยะสั้นๆ
ด้วยอนุภาคเฉพาะกิจชื่อไฮเปอร์แมทเทอร์ (Hypermatter)
เพื่อพายานอวกาศกระโดดผ่านทางลัด นั่นคือเข้าสู่มิติลี้ลับชื่อไฮเปอร์สเปซ (Hyperspace)
มิติไฮเปอร์สเปซใช่ว่าโล่งๆ ไร้สิ่งกีดขวาง
มวลในห้วงอวกาศปกติจะฉาย 'เงา' ลงไปบนห้วงมิติลี้ลับนี้ตามอัตราส่วนของของจริง
ยิ่งมวลในอวกาศปกติใหญ่เท่าไหร่, มวลเงา (mass shadows) ยิ่งขยายขนาดตาม
ฉะนั้นยานอวกาศที่โดดข้ามไฮเปอร์สเปซได้ จะมีทั้งระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลเร็วเวอร์ เพื่อหาเส้นทางหลีกมวลเงาทั้งหมด
และระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งคอยห้ามมิให้คนขับยานซี้ซั้วเข้าออกไฮเปอร์สเปซแบบมั่วๆ อยู่
โฮลโดสอยยานปฐมภาคีหลายลำในทีเดียวได้
เนื่องจากการชนกับยานแม่ของศัตรู ส่งแรงกระแทกกับเศษชิ้นส่วนต่างๆ แผ่ออกมาในลักษณะใบพัดอีกที
(นักบินลึกลับที่ทำสำเร็จใน Rise of Skywalker ก็สร้างระเบิดรูปใบพัดให้เห็น เช่นเดียวกัน)
และการที่ระเบิดกระจายออกเช่นนั้น น่าจะเกิดจากโฮลโดให้ยานของเธอชน 'มวลเงา' ยานแม่ปฐมภาคี
จนยานของเธอแหลกละเอียดเป็นชิ้นๆ ตั้งแต่ในมิติไฮเปอร์สเปซ
ก่อนเศษพวกนั้นจะออกมากระทบยานแม่ของจริง
และส่งแรงกระแทกต่อเนื่องให้แตกแขนง แบบกองยานฝ่ายศัตรูโดนหมด
มีเงื่อนไขสุดหินหลายอย่างซึ่งต้องผ่านให้ได้เพื่อพลีชีพแบบโฮลโด
[1] สถานการณ์เป็นใจ (เช่น ปฐมภาคีประมาท, กองยานเรียงแนวพอดี)
[2] พึ่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะต้องปิดเพื่อเลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัย อันคอยห้ามมิให้นักบินหาเรื่องตายอนาถ
[3] คำนวณวิถีเข้า-ออกไฮเปอร์สเปซให้ชนมวลเงาของเป้าหมายหลัก
[4] คำนวณต่อว่าเมื่อยานตัวเองแหลกละเอียดหลังชน, เศษยานทั้งหมดต้องโดนเป้าหมายหลัก หลังออกจากไฮเปอร์สเปซ
[5] และต้องคำนวณว่ากระทบแบบไหนจังหวะใด, เศษซาก+แรงกระแทกหลังชนเป้าหมายหลัก จึงจะกระจายออกครอบคลุมกองยานของอีกฝ่าย
คงเห็นแล้วนะครับว่าหวังพึ่งความบังเอิญ สร้างกองทัพหุ่นยนต์ขับยานไปพุ่งชนมั่วๆ โดยสวดมนต์ขอให้เกิดผลลัพธ์แบบโฮลโดไม่ได้นะ
เพราะหากเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ขาดตกบกพร่องไปสักข้อ ก็ถือว่าล้มเหลวทันใด
กลายเป็นแค่ยานคามิคาเซ่เราโดนเป้าหมายแล้วระเบิดธรรมดา
ต่อให้ใช้ความเร็วแสง ก็ไม่ช่วยให้เกิดความเสียหายระดับเดียวกับที่โฮลโดทำ
สิ้นเปลืองงบประมาณไปเฉยๆ เท่านั้นแหละจ้า
แล้วถ้ามันยากมากนัก ทำไมวิธีนี้มีคนทำสำเร็จตั้ง 2 รอบในช่วงเวลา 1 ปี ?
คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการที่ความจริง โฮลโด (และนักบินลึกลับด้วยมั้ง) มีพรสวรรค์ด้าน 'พลัง'
ทั้งสองคนน่าจะใช้พลังนำทางเพื่อสร้างปาฏิหาริย์, ควานหาวิธีคำนวณ 1 ในล้านจนเจอ
* ลอร่า เดิร์น (Laura Dern) ผู้รับบทโฮลโด เคยเปิดเผยว่าตัวละครของเธอมีสัมผัสด้านพลัง
สุดท้ายนี้อาจมีคนคิดขึ้นได้เหมือนกัน
ว่าถ้างั้นเราใช้เจได หรือบังคับขู่เข็ญให้ผู้รับรู้ถึงพลังธรรมดาๆ ไม่เคยผ่านการฝึก (แบบฟินน์) ไปฆ่าตัวตาย
เพื่อสร้างผลลัพธ์แบบเดียวกับโฮลโดได้ใช่ไหม ?
ผมมองว่าคำตอบคือใช่ แต่เอาเจไดหรือผู้สัมผัสได้ถึงพลังไปพลีชีพประจำ มันเสียของเป็นบ้า
หากสถานการณ์ไม่บังคับจริงๆ ควรปล่อยให้พวกเขาต่อสู้ตามวิถีของตัวเองซะ จะมีประโยชน์ต่อคนทั้งจักรวาลมากกว่า
ตัวละครหญิงชื่อ 'โฮลโด' ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม ด้วยการหันหัวยานอวกาศลำใหญ่ซึ่งเหลือเธอโดยสารอยู่เพียงคนเดียว
ไปยังทิศทางที่มีกองยานปฐมภาคีหลายลำ กำลังลอยเรียงแถวเป็นแนวสลอนสวยงาม
แล้วเดินเครื่องยนต์ส่งยานเข้าสู่ความเร็วแสง พุ่งชนยานแม่ของทัพปฐมภาคีด้วยความรุนแรง
ซึ่งแรงกระทบ+เศษซากจากการกระแทกอีกมาก ก็ได้กระจายออกเป็นรูปใบพัด ไปซัดยานลำอื่นๆ เกลี้ยง
ท่าทางวีรกรรมของสตรีผู้นี้ จะโด่งดังกึกก้องทั่วหล้า
เนื่องจากในช่วงท้ายของภาพยนตร์ภาคถัดมาแบบ The Rise of Skywalker มีบุรุษกองทัพฝ่ายต่อต้าน
เสนอให้เพื่อนๆ ใช้วิธีการเดียวกับโฮลโด กวาดล้างพวกปัจฉิมภาคี
แต่ผู้นำฝ่ายต่อต้านเวลาดังกล่าวแบบโพ ดาเมรอนก็ปฏิเสธทันที โดยชี้ว่าโอกาสสำเร็จมีเพียง '1 ในล้าน'
แม้ไม่มีใครในฝ่ายต่อต้านใช้วิธีของโฮลโด แต่กองยานฝ่ายต่อต้านที่จำนวนน้อยกว่าปัจฉิมภาคียิ่ง
ก็ยังตรงดิ่งสู่เอ็กซาโกล แล้วได้ชัยชนะเป็นของฝากกลับบ้าน เพราะชาวบ้านทั่วกาแล็คซี่แห่แหนมาช่วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อภาพยนตร์ชี้ให้เห็นความพ่ายแพ้ของปัจฉิมภาคีในส่วนอื่นๆ ของจักรวาล
ถ้าคุณสังเกตดีๆ จะพบว่าบนดวงจันทร์ของดาวเอนดอร์ (ซึ่งเป็นสมรภูมิหลักของหนังภาค Return of the Jedi)
มีคนที่ใช้วิธีพลีชีพแบบโฮลโดแล้วทำสำเร็จอยู่ด้วย
การมีคนใช้วิธีของโฮลโดซ้ำแล้วสำเร็จ อาจไม่ขัดกับการที่โพบอกว่าโอกาสทำได้มันน้อยนิดเหลือหลาย
ทว่าคำถามที่ตามมาคือ ในสงครามอื่นๆ อีกมากมายของ Star Wars ยุคก่อนหน้านี้ ทำไมไม่มีใครเคยคิดจะสร้างกองทัพคามิคาเซ่เลย
เพราะต่อให้มีเหตุผลเรื่องศีลธรรมค้ำคอ จนไม่กล้าใช้กองพันนักบินมีชีวิต
แต่ถ้าติดหุ่นยนต์ขับยานไปกับเครื่องบินเล็กจำนวนมาก แล้วส่งพวกมันพุ่งผ่านความเร็วแสงระยะสั้นๆ สู่ฐานทัพหรือยานแม่ฝ่ายตรงข้ามรัวๆ
ต่อให้โดนเป้าหมายจังๆ แค่ครั้งเดียว คุณก็ชนะศึกได้ชัวร์
ต้องยอมรับว่าภาพยนตร์ทั้งภาค Rise of Skywalker และ Last Jedi ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนนักเอาไว้
แต่ผมได้ลองค้นคว้าการถกเถียงกันของแฟนๆ ต่างประเทศ เรื่อง 'ทำไมวิธีของโฮลโดคือความสำเร็จ 1 ในล้าน ?' ด้วยความคาใจ
และเลือกเหตุผลที่มองว่าเข้าเค้าสุด มานำเสนอในส่วนที่เหลือของบทความ เพื่อตีแผ่ปริศนานี้ให้กระจ่างครับ
ก่อนอื่น ต้องเริ่มจากทบทวนพื้นฐานเรื่องวิธีเดินทางข้ามจักรวาล ในแบบของชาว Star Wars
เพราะถึงจะบอกว่าพวกเขาใช้ 'ความเร็วแสง' แต่นั่นก็แค่ช่วง 'เร่งเครื่อง' ระยะสั้นๆ
ด้วยอนุภาคเฉพาะกิจชื่อไฮเปอร์แมทเทอร์ (Hypermatter)
เพื่อพายานอวกาศกระโดดผ่านทางลัด นั่นคือเข้าสู่มิติลี้ลับชื่อไฮเปอร์สเปซ (Hyperspace)
มิติไฮเปอร์สเปซใช่ว่าโล่งๆ ไร้สิ่งกีดขวาง
มวลในห้วงอวกาศปกติจะฉาย 'เงา' ลงไปบนห้วงมิติลี้ลับนี้ตามอัตราส่วนของของจริง
ยิ่งมวลในอวกาศปกติใหญ่เท่าไหร่, มวลเงา (mass shadows) ยิ่งขยายขนาดตาม
ฉะนั้นยานอวกาศที่โดดข้ามไฮเปอร์สเปซได้ จะมีทั้งระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลเร็วเวอร์ เพื่อหาเส้นทางหลีกมวลเงาทั้งหมด
และระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งคอยห้ามมิให้คนขับยานซี้ซั้วเข้าออกไฮเปอร์สเปซแบบมั่วๆ อยู่
โฮลโดสอยยานปฐมภาคีหลายลำในทีเดียวได้
เนื่องจากการชนกับยานแม่ของศัตรู ส่งแรงกระแทกกับเศษชิ้นส่วนต่างๆ แผ่ออกมาในลักษณะใบพัดอีกที
(นักบินลึกลับที่ทำสำเร็จใน Rise of Skywalker ก็สร้างระเบิดรูปใบพัดให้เห็น เช่นเดียวกัน)
และการที่ระเบิดกระจายออกเช่นนั้น น่าจะเกิดจากโฮลโดให้ยานของเธอชน 'มวลเงา' ยานแม่ปฐมภาคี
จนยานของเธอแหลกละเอียดเป็นชิ้นๆ ตั้งแต่ในมิติไฮเปอร์สเปซ
ก่อนเศษพวกนั้นจะออกมากระทบยานแม่ของจริง
และส่งแรงกระแทกต่อเนื่องให้แตกแขนง แบบกองยานฝ่ายศัตรูโดนหมด
มีเงื่อนไขสุดหินหลายอย่างซึ่งต้องผ่านให้ได้เพื่อพลีชีพแบบโฮลโด
[1] สถานการณ์เป็นใจ (เช่น ปฐมภาคีประมาท, กองยานเรียงแนวพอดี)
[2] พึ่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะต้องปิดเพื่อเลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัย อันคอยห้ามมิให้นักบินหาเรื่องตายอนาถ
[3] คำนวณวิถีเข้า-ออกไฮเปอร์สเปซให้ชนมวลเงาของเป้าหมายหลัก
[4] คำนวณต่อว่าเมื่อยานตัวเองแหลกละเอียดหลังชน, เศษยานทั้งหมดต้องโดนเป้าหมายหลัก หลังออกจากไฮเปอร์สเปซ
[5] และต้องคำนวณว่ากระทบแบบไหนจังหวะใด, เศษซาก+แรงกระแทกหลังชนเป้าหมายหลัก จึงจะกระจายออกครอบคลุมกองยานของอีกฝ่าย
คงเห็นแล้วนะครับว่าหวังพึ่งความบังเอิญ สร้างกองทัพหุ่นยนต์ขับยานไปพุ่งชนมั่วๆ โดยสวดมนต์ขอให้เกิดผลลัพธ์แบบโฮลโดไม่ได้นะ
เพราะหากเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ขาดตกบกพร่องไปสักข้อ ก็ถือว่าล้มเหลวทันใด
กลายเป็นแค่ยานคามิคาเซ่เราโดนเป้าหมายแล้วระเบิดธรรมดา
ต่อให้ใช้ความเร็วแสง ก็ไม่ช่วยให้เกิดความเสียหายระดับเดียวกับที่โฮลโดทำ
สิ้นเปลืองงบประมาณไปเฉยๆ เท่านั้นแหละจ้า
แล้วถ้ามันยากมากนัก ทำไมวิธีนี้มีคนทำสำเร็จตั้ง 2 รอบในช่วงเวลา 1 ปี ?
คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการที่ความจริง โฮลโด (และนักบินลึกลับด้วยมั้ง) มีพรสวรรค์ด้าน 'พลัง'
ทั้งสองคนน่าจะใช้พลังนำทางเพื่อสร้างปาฏิหาริย์, ควานหาวิธีคำนวณ 1 ในล้านจนเจอ
* ลอร่า เดิร์น (Laura Dern) ผู้รับบทโฮลโด เคยเปิดเผยว่าตัวละครของเธอมีสัมผัสด้านพลัง
สุดท้ายนี้อาจมีคนคิดขึ้นได้เหมือนกัน
ว่าถ้างั้นเราใช้เจได หรือบังคับขู่เข็ญให้ผู้รับรู้ถึงพลังธรรมดาๆ ไม่เคยผ่านการฝึก (แบบฟินน์) ไปฆ่าตัวตาย
เพื่อสร้างผลลัพธ์แบบเดียวกับโฮลโดได้ใช่ไหม ?
ผมมองว่าคำตอบคือใช่ แต่เอาเจไดหรือผู้สัมผัสได้ถึงพลังไปพลีชีพประจำ มันเสียของเป็นบ้า
หากสถานการณ์ไม่บังคับจริงๆ ควรปล่อยให้พวกเขาต่อสู้ตามวิถีของตัวเองซะ จะมีประโยชน์ต่อคนทั้งจักรวาลมากกว่า
COMMENTS