ยุคปัจจุบันเรามีช่องทางรับชมสื่อบันเทิงออนไลน์หลายเจ้าอยู่แล้ว และการแข่งขันก็ถือว่าสูงลิ่วมาก่อนหน้านี้ได้สักพัก แต่เมื่อเจ้าไวรัสที่มนุษย...
ยุคปัจจุบันเรามีช่องทางรับชมสื่อบันเทิงออนไลน์หลายเจ้าอยู่แล้ว และการแข่งขันก็ถือว่าสูงลิ่วมาก่อนหน้านี้ได้สักพัก
แต่เมื่อเจ้าไวรัสที่มนุษย์ตั้งชื่อโควิด-19 ให้ ดันแพร่ระบาดแบบไม่เกรงใจใครหน้าไหน
จนโรงหนังทั่วโลกอดทนไม่ไหว ต้องจำยอมปิดกิจการชั่วคราวกัน
เหตุการณ์ที่ผู้ติดตามวงการฮอลลีวูดบางคน อาจไม่เคยคาดฝันมาก่อน จึงบังเกิด
จำได้ว่าเรื่องมันเริ่มจากเจมส์ บอนด์ภาค No Time to Die ของค่าย MGM ที่ตั้งโปรแกรมฉายเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 ประกาศขยับไปเดือนพฤศจิกายน
ถัดมาคือ Mulan ที่เลื่อนแม้ใกล้ฉายเต็มทน จนหลังจากนั้นก็เหมือนโดมิโน่ล้ม
ภาพยนตร์โปรแกรมเด็ดซึ่งจ่อจะโกยเงินในช่วงเวลาทองของปี ได้ทยอยประกาศว่าอีนี่ฉานจะเลื่อนฉายนาจ๊ะ...
แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นว่าหนังบล็อคบัสเตอร์ช่วงซัมเมอร์เกือบทั้งหมด เลื่อนยาวยกแผง
แต่ดิสนีย์ดันแถลงเรื่องที่บางคนคงมองว่าเป็นไปไม่ได้ร๊อก! ออกมา
นั่นคือผลงานทุนสร้าง 125 ล้านดอลลาร์ และดัดแปลงจากนิยายชุดขายดีมีหลายเล่มนักแบบ 'Artemis Fowl'
จะถูกส่งตรงลงเผยแพร่ทางช่อง Disney+ แบบไม่ง้อโรง
บทความนี้จะวิเคราะห์ว่า นี่คือการส่งสัญญาณเรื่อง 'ต่อไปนี้ฮอลลีวูดบล็อคบัสเตอร์ไม่สนโรงอีกแล้วจ้า' หรือ 'ถึงเวลาที่สิ่งเก่าๆ ต้องตาย' ไหม
โดยพิจารณาจากข่าวสารความเคลื่อนไหว ของเหล่าบริษัทผู้ผลิตผลงานด้านความบันเทิงเป็นหลัก
และเนื่องด้วยผู้เขียนไร้ความรู้ด้านการตลาด อีกทั้งมิทราบตัวเลขของเม็ดเงินมหาศาล ที่หมุนเวียนในวงการสตรีมมิ่งแต่อย่างใด
ฉะนั้นผู้อ่านจะเห็นคล้อยตามหรือไม่, ขอให้ใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลตัดสินครับ
(สรุปคือทำมาให้อ่านเล่น หากอ่านจบแล้วคุณยังไม่เห็นด้วยกับผลวิเคราะห์อยู่ดีก็ บ่เป็นอีหยังดอก)
- คอนเทนท์ใหม่ๆ ผุดรัวๆ เสมอต้นเสมอปลาย (แม้เห็นได้ชัดว่าโปรดัคชั่นบางเรื่องออกจะทุนต่ำ)
- เคยซื้อหนังโรง (The Clover Paradox) ไปลงช่องตัวเอง
- ช่วยออกทุนสร้างให้ภาพยนตร์ที่ดูทรงแล้วล่ารางวัลได้ชัดๆ แต่นายทุนหลายคนส่ายหน้า เพราะเวลานี้มิใช่กระแสหลัก (The Irishman)
- ปล่อยไมเคิล เบย์ผลาญงบ 150 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างบล็อคบัสเตอร์ของเน็ตฟลิกซ์เอง (6 Underground)
- หากแบ่งฉายโดยคลอดมาสัปดาห์ละตอน, การจะติดตามดูจนครบจบซีซั่น ย่อมลากยาวเกิน 1 เดือน
และนั่นอาจทำให้บางคนเห็นว่าสมัครสมาชิกยาวๆ มันเลยเถอะ ไม่ต้องถอนเข้าถอนออก คอยเล็งเฉพาะตอนเรื่องที่ชอบมาให้เมื่อยตุ้ม
- ผู้ติดตามต้องใช้เวลาดูซีรีส์ซีซั่นนึงจนจบอย่างน้อยสุดคือ 4-5 ชั่วโมง แถมถ้ายังไม่จุใจ ก็ดูคอนเทนท์อื่นต่อได้แบบไม่อั้น
ฉะนั้นถ้าเทียบกับการซื้อตั๋วหนัง เพื่อความบันเทิงที่ปกตินานแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ผู้ติดตามย่อมรู้สึกถึงความคุ้มค่าของเม็ดเงินที่เสียไปได้ง่ายกว่า
ซีรีส์มีความเหมาะสมกับช่องดูออนไลน์หลายเหตุผล... แต่การเอาคอนเทนท์ภาพยนตร์โดนๆ ดังๆ มาลง มันดึงดูดความสนใจได้ดี
ถ้ามีของเจ๋งๆ ที่หาดูช่องอื่นมิได้ (ยกเว้นช่องทางโหลดเถื่อน) ย่อมมีโอกาสจูงใจคนที่ยังไม่เคยคิดสมัครสมาชิกแบบเสียตังค์ ให้เกิดอาการลังเลขึ้นมาอยู่
เราจึงเห็น The Clover Paradox เผยแพร่ทาง Netflix และผลงานทุ่มทุนสร้างชนิดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอย่าง 6 Underground
ยิ่งกว่านั้นสำหรับสตรีมมิ่งนี่ คุณไม่มีต้องห่วงพะวงเรื่องคำวิจารณ์หรือรายได้บน box office หนักหนา
เพราะแค่เรียกคนมาลองของในช่องเยอะๆ ได้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จประมาณนึงเรียบร้อย
เนื่องจากต่อให้ผู้ชมบางคนไม่ประทับใจกับไอ้บล็อคบัสเตอร์นั่นเล้ย!...
แต่ถ้าเขาดันไปลองรับชมคอนเทนท์อื่นเป็นของแถม แล้วโดนขึ้นมา
ทางช่องก็มีโอกาสได้ยอด subscribe เพิ่ม (= ได้เงินเพิ่ม) สมดังใจหมาย
กลับกันบางทีสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ฉายโรง ลงทุนไปร่วม 200 ล้านกับแฟรนไชส์ชื่อดัง
เกิดนักวิจารณ์ด่าสาดเสียเทเสีย, แฟนคลับจำนวนมหาศาลแอนตี้ หรือผู้ชมทั่วไปไม่มีความสนใจใด ๆ
เนื่องจากผิดพลาดด้านทิศทางความคิดสร้างสรรค์, แผนประชาสัมพันธ์ หรือปัจจัยอื่นอีกต่างต่างนานา
อารมณ์ขาดทุนยับจะมาเยือนโดยพลัน
จะให้ราคาคำพูดของเขาแค่ไหน ก็เป็นไปตามวิจารญาณส่วนบุคคลของทุกท่าน
แต่คนในวงการฮอลลีวูดแบบ 'เจสัน บลัม' ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ผลิตหนังสยองขวัญโดนๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
มองว่าหลังวิกฤติโควิด ผู้คนจะเริ่มเคยชินกับการรับชมสื่อบันเทิงทางออนไลน์มากกว่าเดิม
และสตูดิโอจะยอมทำตามข้อเรียกร้องของมหาชน ด้วยการปล่อยผลงานบล็อคบัสเตอร์ที่ฉายโรง ลงสู่สตรีมมิ่งเร็วขึ้น
ผู้ชมจะตบเท้าเข้าโรงภาพยนตร์ลดลง จนโรงฉายต้องปิดถาวรไปบ้าง
ทว่าจะยังเหลืออยู่พอสมควร ไม่ถึงขั้นธุรกิจโรงหนังเจ๊งอะไร
และหนังบางแนวคนจะยังชอบดูในโรงอยู่ ตัวอย่างเช่นแนวสยองขวัญของบริษัทเขา
เพราะอรรถรสการรับชมผลงานลักษณะนี้จะหดหายจมหู ถ้าดูทางสตรีมมิ่งที่กดหยุดตอนน่ากลัว แล้วลุกหนีเข้าห้องน้ำได้
แม้ซีรีส์เหมาะต่อสตรีมมิ่งกว่า แต่การปล่อยโปรแกรมเด็ดระดับบล็อคบัสเตอร์เฉพาะกิจ
เพื่อต่อยอดธุรกิจเพิ่มคน subscribe (และรายได้ค่าสมาชิก) ดูจะสมควรทำควบคู่กันไป
ซึ่งสำหรับ Netflix ที่ผลิตทั้งสองอย่าง อาจแสดงภาพให้เห็นว่า 'ถึงเวลาที่สิ่งเก่าๆ ต้องตาย' โดยเด่นชัด
ทว่าบางครั้งการผลิตหนังก็เหมือนการเล่นหวย... บางคราวคุณอาจไม่มีทางทราบล่วงหน้าได้เลยว่าจะแจ็คพ็อตแตกหรือไม่
หากแทงถูกรางวัลใหญ่ขึ้นมา กำไรย่อมสูงจนน่าชื่นใจยิ่งกว่าการเอาผลงานทุนหนาไปลงสตรีมมิ่งนัก
ตัวอย่างเช่น กรณี Jumanji: Welcome to the Jungle ฮิตเซอร์ไพรส์
ทั้งที่เวลาฉายใกล้กับแฟรนไชส์ชื่อก้องแบบ Star Wars มาก
จนถึงขนาดสตูดิโอมั่นหน้า, จัดให้ภาคต่อ (The Next Level) ชน Star Wars อีกรอบ และก็ยังคงประสบผลสำเร็จเช่นเดิม
แต่กรณีตัวอย่างสำคัญอันบ่งชี้ว่า 'สิ่งเก่าๆ จะไม่ตาย' นั้นคือ Joker
ภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ทั่วบ้านทั่วเมืองเวลาหนึ่ง ทั้งที่จำกัดอายุผู้เข้าชม (เรต R)
Joker เคยถูกผู้บริหารสตูดิโอวอเนอร์มองว่า อาจไม่เหมาะถ้าจะเข้าโรง
เนื่องจากมันเกี่ยวกับเรื่องของชายผู้ไม่พอใจระบบสังคม และลงท้ายก็เอาคืนอย่างสาสม
เหล่าผู้บริหารปรึกษาหารือกันว่า จะส่งตรงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์แทนดีไหม (วอเนอร์มีช่อง HBO กับ DC Universe อยู่)
ซึ่งถ้ามติที่ประชุมในอดีตไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้น, ปรากฏการณ์รายได้พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกย่อมมิบังเกิด
แต่เมื่อเจ้าไวรัสที่มนุษย์ตั้งชื่อโควิด-19 ให้ ดันแพร่ระบาดแบบไม่เกรงใจใครหน้าไหน
จนโรงหนังทั่วโลกอดทนไม่ไหว ต้องจำยอมปิดกิจการชั่วคราวกัน
เหตุการณ์ที่ผู้ติดตามวงการฮอลลีวูดบางคน อาจไม่เคยคาดฝันมาก่อน จึงบังเกิด
จำได้ว่าเรื่องมันเริ่มจากเจมส์ บอนด์ภาค No Time to Die ของค่าย MGM ที่ตั้งโปรแกรมฉายเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 ประกาศขยับไปเดือนพฤศจิกายน
ถัดมาคือ Mulan ที่เลื่อนแม้ใกล้ฉายเต็มทน จนหลังจากนั้นก็เหมือนโดมิโน่ล้ม
ภาพยนตร์โปรแกรมเด็ดซึ่งจ่อจะโกยเงินในช่วงเวลาทองของปี ได้ทยอยประกาศว่าอีนี่ฉานจะเลื่อนฉายนาจ๊ะ...
แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นว่าหนังบล็อคบัสเตอร์ช่วงซัมเมอร์เกือบทั้งหมด เลื่อนยาวยกแผง
แต่ดิสนีย์ดันแถลงเรื่องที่บางคนคงมองว่าเป็นไปไม่ได้ร๊อก! ออกมา
นั่นคือผลงานทุนสร้าง 125 ล้านดอลลาร์ และดัดแปลงจากนิยายชุดขายดีมีหลายเล่มนักแบบ 'Artemis Fowl'
จะถูกส่งตรงลงเผยแพร่ทางช่อง Disney+ แบบไม่ง้อโรง
บทความนี้จะวิเคราะห์ว่า นี่คือการส่งสัญญาณเรื่อง 'ต่อไปนี้ฮอลลีวูดบล็อคบัสเตอร์ไม่สนโรงอีกแล้วจ้า' หรือ 'ถึงเวลาที่สิ่งเก่าๆ ต้องตาย' ไหม
โดยพิจารณาจากข่าวสารความเคลื่อนไหว ของเหล่าบริษัทผู้ผลิตผลงานด้านความบันเทิงเป็นหลัก
และเนื่องด้วยผู้เขียนไร้ความรู้ด้านการตลาด อีกทั้งมิทราบตัวเลขของเม็ดเงินมหาศาล ที่หมุนเวียนในวงการสตรีมมิ่งแต่อย่างใด
ฉะนั้นผู้อ่านจะเห็นคล้อยตามหรือไม่, ขอให้ใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลตัดสินครับ
(สรุปคือทำมาให้อ่านเล่น หากอ่านจบแล้วคุณยังไม่เห็นด้วยกับผลวิเคราะห์อยู่ดีก็ บ่เป็นอีหยังดอก)
ธุรกิจสตรีมมิ่ง ที่จริงมันเวิร์คแค่ไหน ?
เอาแค่เห็นเขาแข่งเปิดหลายเจ้า ทั้งที่การดูหนังในช่องทางผิดลิขสิทธิ์ยังคงอยู่ยั้งยืนยงนี่
ก็พออนุมานได้เลาๆ ว่าธุรกิจพวกพี่เค้ารุ่งโรจน์กันน่าดูแล้วมั้ง
แต่ใช้เรื่องแค่นั้นมาเป็นเหตุผล มันออกจะชุ่ยเกินไป
เลยขอยกตัวอย่างเจ้าเปิดใหม่ (แต่ขาใหญ่ของวงการหนัง) แบบดิสนีย์ ที่พอเปิดให้คนในโซนยุโรปสมัครสมาชิกเวอร์ชั่นเสียตังค์กับ Disney+ ได้ปุ๊บ
เวลาดังกล่าวตัวเลขคนสับตะไคร้ เอ๊ย! subscribe, ก็พุ่งถึงระดับ 50 ล้านปั๊บ
ซึ่งถ้าคูณค่าสมาชิก 6.99 ดอลลาร์ เพื่อคำนวณรายรับต่อเดือนคร่าวๆ ของช่องจะพบว่า = 349.5 ล้านเหรียญเลยทีเดียวฮะ (ประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท)
ยิ่งถ้าหันมองทาง Netflix ที่เป็นเจ้าครองตลาดเวลานี้นี่ ยิ่งเวิร์คกว่าชัวร์ๆ ถ้าดูจากประวัติสุดโชกโชน+ใจป๋า ราวกับอาเสี่ยของพวกเขา- คอนเทนท์ใหม่ๆ ผุดรัวๆ เสมอต้นเสมอปลาย (แม้เห็นได้ชัดว่าโปรดัคชั่นบางเรื่องออกจะทุนต่ำ)
- เคยซื้อหนังโรง (The Clover Paradox) ไปลงช่องตัวเอง
- ช่วยออกทุนสร้างให้ภาพยนตร์ที่ดูทรงแล้วล่ารางวัลได้ชัดๆ แต่นายทุนหลายคนส่ายหน้า เพราะเวลานี้มิใช่กระแสหลัก (The Irishman)
- ปล่อยไมเคิล เบย์ผลาญงบ 150 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างบล็อคบัสเตอร์ของเน็ตฟลิกซ์เอง (6 Underground)
ทำไมต้องหนังใหญ่ ในเมื่อ 'ซีรีส์' เหมาะกับสตรีมมิ่งกว่า ?
เอาละ, ทำธุรกิจสตรีมมิ่งเวิร์คดีสินะ... แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าต้องผลิตหนังฟอร์มใหญ่มาลงโดยเฉพาะนี่
ต่อให้ธุรกิจพวกพี่เค้าดีเลิศเพียงไร, หากมองในมุมนึงคุณจะพบว่าซีรีส์เรื่องยาวน่ะ เหมาะสมกับช่องดูหนังออนไลน์มากกว่า
ไม่งั้น Amazon จะต้องการผลิต The Lord of the Rings ฉบับซีรีส์ แบบที่เล็งไว้ว่าจะสร้างหลายซีซั่น และวางงบล่วงหน้าระดับพันล้านดอลลาร์ทำไม
สำหรับช่องดูรายการออนไลน์เหล่านี้, คอนเทนท์ที่เปลืองเวลารับชมของผู้ติดตามสูงย่อมถูกจริต ด้วยเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่า
- การโหลดเถื่อนเพื่อดูแบบคมชัดระดับ HD ครบทั้งซีซั่น, มันยุ่งยากหรือเสียเวลา กว่าการหาโหลดภาพยนตร์สักเรื่องมากโข
และนั่นอาจทำให้บางคนเห็นว่าสมัครสมาชิกยาวๆ มันเลยเถอะ ไม่ต้องถอนเข้าถอนออก คอยเล็งเฉพาะตอนเรื่องที่ชอบมาให้เมื่อยตุ้ม
- ผู้ติดตามต้องใช้เวลาดูซีรีส์ซีซั่นนึงจนจบอย่างน้อยสุดคือ 4-5 ชั่วโมง แถมถ้ายังไม่จุใจ ก็ดูคอนเทนท์อื่นต่อได้แบบไม่อั้น
ฉะนั้นถ้าเทียบกับการซื้อตั๋วหนัง เพื่อความบันเทิงที่ปกตินานแค่ประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ผู้ติดตามย่อมรู้สึกถึงความคุ้มค่าของเม็ดเงินที่เสียไปได้ง่ายกว่า
ธุรกิจหนังโรงความเสี่ยงสูงเสมอ, ลงสตรีมมิ่งสิจ๊ะเธอ ปลอดภัยหายห่วง
ซีรีส์มีความเหมาะสมกับช่องดูออนไลน์หลายเหตุผล... แต่การเอาคอนเทนท์ภาพยนตร์โดนๆ ดังๆ มาลง มันดึงดูดความสนใจได้ดี
ถ้ามีของเจ๋งๆ ที่หาดูช่องอื่นมิได้ (ยกเว้นช่องทางโหลดเถื่อน) ย่อมมีโอกาสจูงใจคนที่ยังไม่เคยคิดสมัครสมาชิกแบบเสียตังค์ ให้เกิดอาการลังเลขึ้นมาอยู่
เราจึงเห็น The Clover Paradox เผยแพร่ทาง Netflix และผลงานทุ่มทุนสร้างชนิดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอย่าง 6 Underground
ยิ่งกว่านั้นสำหรับสตรีมมิ่งนี่ คุณไม่มีต้องห่วงพะวงเรื่องคำวิจารณ์หรือรายได้บน box office หนักหนา
เพราะแค่เรียกคนมาลองของในช่องเยอะๆ ได้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จประมาณนึงเรียบร้อย
เนื่องจากต่อให้ผู้ชมบางคนไม่ประทับใจกับไอ้บล็อคบัสเตอร์นั่นเล้ย!...
แต่ถ้าเขาดันไปลองรับชมคอนเทนท์อื่นเป็นของแถม แล้วโดนขึ้นมา
ทางช่องก็มีโอกาสได้ยอด subscribe เพิ่ม (= ได้เงินเพิ่ม) สมดังใจหมาย
กลับกันบางทีสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ฉายโรง ลงทุนไปร่วม 200 ล้านกับแฟรนไชส์ชื่อดัง
เกิดนักวิจารณ์ด่าสาดเสียเทเสีย, แฟนคลับจำนวนมหาศาลแอนตี้ หรือผู้ชมทั่วไปไม่มีความสนใจใด ๆ
เนื่องจากผิดพลาดด้านทิศทางความคิดสร้างสรรค์, แผนประชาสัมพันธ์ หรือปัจจัยอื่นอีกต่างต่างนานา
อารมณ์ขาดทุนยับจะมาเยือนโดยพลัน
ความเห็นคนในวงการ
จะให้ราคาคำพูดของเขาแค่ไหน ก็เป็นไปตามวิจารญาณส่วนบุคคลของทุกท่าน
แต่คนในวงการฮอลลีวูดแบบ 'เจสัน บลัม' ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ผลิตหนังสยองขวัญโดนๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
มองว่าหลังวิกฤติโควิด ผู้คนจะเริ่มเคยชินกับการรับชมสื่อบันเทิงทางออนไลน์มากกว่าเดิม
และสตูดิโอจะยอมทำตามข้อเรียกร้องของมหาชน ด้วยการปล่อยผลงานบล็อคบัสเตอร์ที่ฉายโรง ลงสู่สตรีมมิ่งเร็วขึ้น
ผู้ชมจะตบเท้าเข้าโรงภาพยนตร์ลดลง จนโรงฉายต้องปิดถาวรไปบ้าง
ทว่าจะยังเหลืออยู่พอสมควร ไม่ถึงขั้นธุรกิจโรงหนังเจ๊งอะไร
และหนังบางแนวคนจะยังชอบดูในโรงอยู่ ตัวอย่างเช่นแนวสยองขวัญของบริษัทเขา
เพราะอรรถรสการรับชมผลงานลักษณะนี้จะหดหายจมหู ถ้าดูทางสตรีมมิ่งที่กดหยุดตอนน่ากลัว แล้วลุกหนีเข้าห้องน้ำได้
ไม่เข้าโรง ไม่พบปรากฏการณ์
แม้ซีรีส์เหมาะต่อสตรีมมิ่งกว่า แต่การปล่อยโปรแกรมเด็ดระดับบล็อคบัสเตอร์เฉพาะกิจ
เพื่อต่อยอดธุรกิจเพิ่มคน subscribe (และรายได้ค่าสมาชิก) ดูจะสมควรทำควบคู่กันไป
ซึ่งสำหรับ Netflix ที่ผลิตทั้งสองอย่าง อาจแสดงภาพให้เห็นว่า 'ถึงเวลาที่สิ่งเก่าๆ ต้องตาย' โดยเด่นชัด
ทว่าบางครั้งการผลิตหนังก็เหมือนการเล่นหวย... บางคราวคุณอาจไม่มีทางทราบล่วงหน้าได้เลยว่าจะแจ็คพ็อตแตกหรือไม่
หากแทงถูกรางวัลใหญ่ขึ้นมา กำไรย่อมสูงจนน่าชื่นใจยิ่งกว่าการเอาผลงานทุนหนาไปลงสตรีมมิ่งนัก
ตัวอย่างเช่น กรณี Jumanji: Welcome to the Jungle ฮิตเซอร์ไพรส์
ทั้งที่เวลาฉายใกล้กับแฟรนไชส์ชื่อก้องแบบ Star Wars มาก
จนถึงขนาดสตูดิโอมั่นหน้า, จัดให้ภาคต่อ (The Next Level) ชน Star Wars อีกรอบ และก็ยังคงประสบผลสำเร็จเช่นเดิม
แต่กรณีตัวอย่างสำคัญอันบ่งชี้ว่า 'สิ่งเก่าๆ จะไม่ตาย' นั้นคือ Joker
ภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ทั่วบ้านทั่วเมืองเวลาหนึ่ง ทั้งที่จำกัดอายุผู้เข้าชม (เรต R)
Joker เคยถูกผู้บริหารสตูดิโอวอเนอร์มองว่า อาจไม่เหมาะถ้าจะเข้าโรง
เนื่องจากมันเกี่ยวกับเรื่องของชายผู้ไม่พอใจระบบสังคม และลงท้ายก็เอาคืนอย่างสาสม
เหล่าผู้บริหารปรึกษาหารือกันว่า จะส่งตรงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์แทนดีไหม (วอเนอร์มีช่อง HBO กับ DC Universe อยู่)
ซึ่งถ้ามติที่ประชุมในอดีตไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้น, ปรากฏการณ์รายได้พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกย่อมมิบังเกิด
บทสรุปของผู้เขียน
หากพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ผ่านมา ว่าการผลิตหนังฟอร์มใหญ่เพื่อให้มันทำเงินจากการยืนระยะฉายในโรง ยังคงสร้างโอกาสก่อกำไรงามๆ แก่สตูดิโอได้อยู่เรื่อย (รวมถึงเสี่ยงต่อการโดนละเมิดลิขสิทธิ์น้อยกว่า)
ดังนั้นต่อให้วงการบันเทิงกลับมาผลิตผลงานกันได้ตามปกติ
ในอนาคตก็ไม่น่าเกิดการแห่ทำตามดิสนีย์ (ที่ปล่อย Artemis Fowl ลง Disney+)
และทางดิสนีย์เองก็ไม่น่าจะยอมปล่อยคอนเทนท์ ที่ควรโกยรายได้ในโรงชัวร์ๆ อย่างหนังในจักรวาลมาร์เวล (เช่น Black Widow) ส่งตรงสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เสียหมด
เพราะจะชวดโอกาสรับทรัพย์อื้อซ่า ไปซะเปล่าๆ
อนาคตจึงควรเป็นไปในทางที่มีการผลิตบล็อคบัสเตอร์คอนเทนท์ สำหรับช่องสตรีมมิ่งโดยเฉพาะออกมามากขึ้น
อย่าง Netflix คงจะทำผลงานแบบ 6 Underground เพิ่ม หรือเปิดจักรวาลหนังทุนสูงพอประมาณของตัวเองภายหลัง
ส่วนทางดิสนีย์นี่ เห็นอยู่แล้วว่าเขาจะเอายังไง เพราะซีรีส์ที่ประกาศว่าเชื่อมโยงกับหนังใน MCU ยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน รอปล่อยของบน Disney+ เพียบ
พวกเขาเล็งจะผลิตซีรีส์สตาร์วอร์ส เพื่อต่อยอดความสำเร็จของ The Mandalorian อีกหลายเรื่อง
แถมภาพยนตร์ Star Wars เรื่องล่าสุดที่มีข่าวว่ากำลังพัฒนา ก็ทำท่าว่าอาจจะลงฉายทาง Disney+ แบบไม่ง้อโรงด้วย
การปล่อยอาทิมิส ฟาวล์ ซึ่งมีศักยภาพจะเป็นบ่อเงินบ่อทองใหม่ของดิสนีย์ (เพราะดัดแปลงจากนิยายขายดี+มีหลายเล่ม = ทำหนังได้หลายภาค) ลงช่องสตรีมของค่าย
ไม่น่าหมายถึงหลังจากนี้โปรแกรมแบบ Black Widow จะตามกันมาออนไลน์เป็นพรวน
พวกเขาน่าจะมองว่าดิสนีย์พลัสมีศักยภาพสูง
และในเมื่อตอนนี้มิสามารถเผยแพร่อะไรที่โปรดัคชั่นอลัง ไปแสดงความขลังในโรงภาพยนตร์ได้อีกพักใหญ่
ยอมให้โปรแกรมเด็ดลงสนามใหม่ สักเรื่องก่อน เพื่อเรียกยอดผู้ติดตามเยอะๆ
คงเป็นการดีต่อช่อง และสนองความต้องการของมหาชนได้ดีกว่า
คงเป็นการดีต่อช่อง และสนองความต้องการของมหาชนได้ดีกว่า
(หรือว่าหนังอาทิมิส ฟาวล์ คุณภาพห่วยแตก เลยโยนลงสตรีมมิ่งแก้เก้อฟะ... คงเป็นไปไม่ได้หรอกน่า)
หากเป็นไปตามนี้จะไม่มีใครสูญเสียผลประโยชน์, ธุรกิจโรงหนังจะยังเจริญรุ่งเรือง และคงอยู่คู่กับโปรแกรมเด็ดฟอร์มใหญ่ไปอีกนาน
ด้านผู้ชมมีทางเลือกมากขึ้น, คุณจะเข้าโรงเพื่อซึมซับอรรถรสที่การรับชมภายในบ้านมิสามารถมอบให้ เหมือนเช่นเดิมก็ได้
หรือเพิ่มช่องทางรับชมภาพยนตร์โปรดัคชั่นดีๆ ใหม่ ด้วยการเจียดเงินในกระเป๋าสตางค์แบบต่ำสุดไม่ถึงร้อยบาท ไปลองสมัครสมาชิกช่องสตรีมมิ่งที่เล็งไว้ดูซักเดือน...
ก็เป็นอะไรที่ผมว่า ฟังแล้วเข้าท่าอยู่ไม่น้อยทีเดียวนะ
COMMENTS