แซม เมนเดส พบเหตุชวนปวดกบาล เนื่องจากการสร้างหนังเนื้อเรื่องธรรมดา มันช่างไม่ธรรมดา ผู้กำกับ '1917' ต้องการสร้างภาพยนตร์สงคราม ที่...
แซม เมนเดส พบเหตุชวนปวดกบาล เนื่องจากการสร้างหนังเนื้อเรื่องธรรมดา มันช่างไม่ธรรมดา
ผู้กำกับ '1917' ต้องการสร้างภาพยนตร์สงคราม ที่ให้ความรู้สึกราวกับอยู่ท่ามกลางสมรภูมิโดยแท้จริง
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่อัลเฟรด/ปู่ของเขาผู้ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เล่าให้ฟังตั้งแต่ครั้งยังเยาว์
อัลเฟรดเลี่ยงจะเล่าความทรงจำส่วนที่แสนเจ็บปวดและรุนแรงให้หลานชายฟัง เหมือนอย่างที่ทหารผ่านศึกทั่วไปเขาทำกัน
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าสงครามสลักบางสิ่งไว้ ในส่วนลึกของจิตใจของคุณปู่
"ปู่เป็นบุรุษผู้เปี่ยมด้วยความมั่นใจ จนดูราวกับเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร" เมนเดสกล่าวถึงญาติผู้ใหญ่ในการให้สัมภาษณ์กับทาง Washingtonpost
"แต่มีบ้างที่เขาแสดงพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ อาทิเช่นเอาแต่ล้างมือตลอดเวลา
เราเคยเห็นเป็นเรื่องขำขัน ผมเคยถามพ่อเหมือนกันว่า 'ทำไมปู่จ๋าล้างมือซ้ำๆ ?'
พ่อตอบว่า 'เพราะความทรงจำของปู่สมัยอยู่ในสนามเพลาะ ที่นั่นมีแต่โคลนและมันก็เปื้อนมือเขาอยู่เสมอ'
นั่นน่าจะเป็นสัญญาณความผิดปกติแรกที่ผมตระหนัก ขนาดตอนนั้นเขาอายุ 70 กว่า ประสบการณ์ที่เขาเคยประสบมาสมัยหนุ่มก็ยังไม่ยอมหายไปไหน"
ไม่แน่ชัดว่าลูกๆ ของอัลเฟรด ทราบเรื่องราวดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
แต่ที่ชัวร์คือหลานชายรบเร้าให้คุณปู่บอกเล่าอดีต "ปู่ชอบนั่งตรงระเบียงบ้านของเขาในตรินิแดด ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดเมืองนอน
และพอเหล้ารัมเข้าปากสักสองสามแก้ว เขาจะเริ่มพูดจ้อ"
เพื่อให้เข้าใจ '1917' และเรื่องราวของอัลเฟรด อันกลายเป็นแรงบันดาลใจของภาพยนตร์
เรื่องควรรู้คือความจริงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีพลวัตค่อนข้างน้อย
สถานการณ์ส่วนใหญ่ในสงครามเกิดขึ้นแถวสนามเพลาะ ซึ่งพวกทหารแข่งกันขุดให้ลึก, ยาว และคดเคี้ยวเลี้ยวลด แล้วลงไปปักหลักในนั้นเพื่อทำการต่อสู้
ฉะนั้นเมื่อเมนเดสกับโรเจอร์ ดีกินส์/ผู้กำกับภาพ ไปเยือนแถบฝรั่งเศส, ฟลานเดอร์ และเบลเยี่ยม เพื่อสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ของสมรภูมิ
ผู้กำกับก็พบว่า "มันเป็นเขาวงกตอันกว้างใหญ่ที่น่าสับสนอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่ในนั้น
โรเจอร์กับผมหลงทิศสะเปะสะปะ และหนทางเดียวที่พวกเราจะหลุดออกมาได้คือปีนขึ้นเหนือสนามเพลาะ แล้วมองมันจากด้านบน
ตอนอยู่ข้างในมันสับสนชวนงงเป็นบ้า คุณไม่มีทางรู้เลยว่ากำลังหันหน้าไปทางทิศใด"
ระยะระหว่างแนวสนามเพลาะฝั่งหนึ่งกับอีกฝั่งหนึ่งมันน้อยจนชวนให้ตกใจ
เพราะโดยปกติจะอยู่ห่างกันแค่ประมาณ 250 หลา (228.6 เมตร) กับของฝ่ายตรงข้าม และมักมีรั้วลวดหนามกับศพกองอยู่ตรงกลาง
เป็นร่างของทหารทั้งสองฝ่าย ไม่ก็ศพของพวกสัตว์ที่โดนกระสุนลูกหลง
พื้นที่ตรงนี้เรียกดินแดนห้ามเหยียบย่าง (no man’s land) เพราะคงไม่มีทหารคนไหนอยากก้าวลงไปอยู่ตรงนั้น
ทว่านั่นคือจุดที่อัลเฟรดจำเป็นต้องผ่าน ในการทำภารกิจอย่างหนึ่ง
"ปู่เล่าเรื่องไม่ธรรมดาเกี่ยวกับการพาข้อความผ่านแดนห้ามเหยียบย่าง, ผ่านหมอกควันจากฐานหนึ่งสู่อีกฐานหนึ่งตอนพลบค่ำ
ผมจินตนาการถึงภาพผู้ชายตัวเล็กๆ ท่ามกลางความว่างเปล่าสุดกว้างขวางเพียงลำพัง และจดจำมันได้ขึ้นใจ" เมนเดสกล่าว
"และเมื่อผมรวบรวมความกล้านั่งลง แล้วตั้งต้นเขียนบทภาพยนตร์ของตัวเอง ผมรู้สึกว่าต้องบอกเล่าเรื่องราวนั่นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้"
แต่ปัญหาคือคุณจะผลิตภาพยนตร์เกี่ยวกับการวิ่งส่งสาร ผ่านพื้นที่เล็กๆ สลับกับสถานที่โล่งกว้างว่างเปล่าได้อย่างไร โดยไม่ส่งผลให้ผู้ชมนั่งหาว ?
วิธีแก้ทางของเมนเดสคือการใช้เทคนิคลองเทค (long take)
เมนเดสถ่ายทำภาพยนตร์ในแบบที่จะทำให้คนดู รู้สึกราวกับมันมีเพียงเทคเดียวยาวๆ ตลอดทั้งเรื่อง
การนำเสนอเช่นนี้จะดูเสมือนทุกสิ่งเกิดขึ้นตามเวลาจริง และผู้ชมจะเข้าถึงประสบการณ์ของตัวละครแบบสุดติ่ง
โครงเรื่องของ '1917' แสนธรรมดา: ทหารอังกฤษสองนายได้รับมอบหมายให้ส่งข้อความผ่านแดนห้ามเหยียบย่าง สู่กองพันที่ 2 ของกรมทหารแห่งเดวอนไชร์
เพื่อยกเลิกคำสั่งโจมตีที่จะผิดพลาด และช่วยชีวิตทหารกว่า 1,600 นาย
วิธีสร้างการผจญภัยที่ดูเหมือนเทคเดียวแบบลื่นไหลเองก็ธรรมดา
คืออาศัยการวางแผนอย่างพิถีพิถัน และการประสานงานที่ดีของทีมงาน
ฉากต่างๆ ต้องถูกจัดวางให้ดูต่อเนื่องกันแบบช็อตต่อช็อต
เดนนิส แกสเนอร์/ผู้ออกแบบงานสร้าง บอกว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการออกแบบไว้ทุกจุด แบบลงลึกถึงพวกบทสนทนา
เราต้องพยากรณ์ความยาวของทุกชั่วขณะ ในบริบทของภาพยนตร์ล่วงหน้า"
เมนเดสว่า "ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทุกขั้นตอนต้องผ่านการไตร่ตรอง
ตัวอย่างเช่นถ้าผมเขียนบทว่า 'พวกเขาผ่านเหมืองหินไปตามป่าไม้, ลงเขา, ผ่านสวนผลไม้, ไปยังบ้านไร่'
แต่ละฉากต้องกำหนดความยาวของพื้นที่ไว้ และแต่ละพื้นที่ต้องมีความยาวของช่วงเวลาที่ใช้เดินผ่านกำกับ"
เมนเดสกับแกสเนอร์ทำได้เพราะเคยผ่านประสบการณ์สร้างฉากยาวต่อเนื่องมาก่อน: ฉากเปิดเรื่องของหนังเจมส์ บอนด์ภาค Spectre ที่พระเอกเดินผ่านงานวันเทศกาลแห่งความตาย (Day of the Dead)
แกสเนอร์, เมนเดส และดีกินส์ จะจับเหล่านักแสดงใส่พื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อทำความเข้าใจแผนที่ภายในภาพยนตร์ทั้งเรื่อง
"แค่เดินรอบๆ แล้วปักธงลงไป" เมนเดสระบุว่าเขาใช้เสาสารพัดสี เพื่อสื่อความหมายที่หลากหลาย
เช่น สีเหลืองสำหรับเส้นทางของนายเอ, สีเขียวสำหรับนายบี หรือให้เสาสีแดงเป็นตัวแทนของกล้อง
แต่แน่นอนว่าการปฏิบัติจริงย่อมไม่ง่ายเหมือนตอนอธิบาย
"เราต้องสร้างการเดินทางให้พวกตัวละคร โดยระบุรายละเอียดปลีกย่อยและเหตุการณ์ทั้งหมด
พร้อมคำนึงถึงความต้องการของผู้ชม โดยตระหนักว่าควรทำให้พวกเขาสนใจมันไว้ด้วยเสมอ
หลายครั้งเลยครับ ที่ผมคิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้" เมนเดสยอมรับ
แต่พวกเขาก็อดทนผ่านการฝึกฝนหลายเดือน จนกะจังหวะต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และทำให้เรื่องราวน่าสนใจนี้เกิดขึ้นสำเร็จ
"คุณลองขอให้จอร์จ แมคเคย์ (นักแสดงนำ) เดินตามเส้นทางที่เขาแสดงให้เห็นในหนังแบบก้าวต่อก้าวดูสิ รับรองว่าเค้ายังทำได้แน่" เมนเดสพูดพร้อมเสียงหัวเราะ
นอกจากนี้, ดีกินส์กับเมนเดสก็ยังไม่ยอมหยุดท้าทายตัวเอง พวกเขาพยายามหาหนทางถ่ายทอดเรื่องราวด้วยมุมกล้องดีๆ ไปด้วยพร้อมกัน
"พวกเราอยากใช้มุมกล้องที่มันไม่ซ้ำซาก และเหมือนให้ความสนใจอยู่แค่จุดเดียว
จะให้มีแต่มุมกล้องแบบปกติที่วิ่งไล่ตามหลังตัวละครในมุมมองข้ามไหล่ หรืออะไรทำนองนั้นไม่ได้
บางครั้งมุมกล้องควรมองผ่านรูกุญแจ หรือวิ่งไล่ตามวิถีกระสุนซึ่งกำลังเคลื่อนเข้าสู่รูหูของพวกเขา"
ความทุ่มเทต่อผลงานดูท่าจะให้ผลลัพธ์ดีงาม เนื่องจาก '1917' ชนะรางวัลลูกโลกทองคำ และตัวเลขรายรับช่วงสุดสัปดาห์เปิดตัวในอเมริกาของหนังคือ 36.5 ล้านดอลลาร์
แต่บางทีสิ่งที่ทำให้เมนเดสยินดีสุด อาจเป็นการที่ผู้คนจำนวนมากพากันเข้าไปรับชมผลงานของเขาในโรงภาพยนตร์
"ผมอยากให้ผู้คนดูมันในโรง ท่าทางเป็นเรื่องยากสำหรับทุกวันนี้นะ หากคุณไร้ซูเปอร์ฮีโร่ หรือว่าหนังไม่ใช่ผลงานแฟรนไชส์...
เราเป็นชนกลุ่มน้อยในหมู่ภาพยนตร์ซึ่งเปิดตัววงกว้าง"
ผู้กำกับ '1917' ต้องการสร้างภาพยนตร์สงคราม ที่ให้ความรู้สึกราวกับอยู่ท่ามกลางสมรภูมิโดยแท้จริง
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่อัลเฟรด/ปู่ของเขาผู้ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เล่าให้ฟังตั้งแต่ครั้งยังเยาว์
อัลเฟรดเลี่ยงจะเล่าความทรงจำส่วนที่แสนเจ็บปวดและรุนแรงให้หลานชายฟัง เหมือนอย่างที่ทหารผ่านศึกทั่วไปเขาทำกัน
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าสงครามสลักบางสิ่งไว้ ในส่วนลึกของจิตใจของคุณปู่
"ปู่เป็นบุรุษผู้เปี่ยมด้วยความมั่นใจ จนดูราวกับเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร" เมนเดสกล่าวถึงญาติผู้ใหญ่ในการให้สัมภาษณ์กับทาง Washingtonpost
"แต่มีบ้างที่เขาแสดงพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ อาทิเช่นเอาแต่ล้างมือตลอดเวลา
เราเคยเห็นเป็นเรื่องขำขัน ผมเคยถามพ่อเหมือนกันว่า 'ทำไมปู่จ๋าล้างมือซ้ำๆ ?'
พ่อตอบว่า 'เพราะความทรงจำของปู่สมัยอยู่ในสนามเพลาะ ที่นั่นมีแต่โคลนและมันก็เปื้อนมือเขาอยู่เสมอ'
นั่นน่าจะเป็นสัญญาณความผิดปกติแรกที่ผมตระหนัก ขนาดตอนนั้นเขาอายุ 70 กว่า ประสบการณ์ที่เขาเคยประสบมาสมัยหนุ่มก็ยังไม่ยอมหายไปไหน"
จากซ้ายไปขวา: ดีน-ชาร์ลส์ แชปแมน, แซม เมนเดส, จอร์จ แมคเคย์
ไม่แน่ชัดว่าลูกๆ ของอัลเฟรด ทราบเรื่องราวดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
แต่ที่ชัวร์คือหลานชายรบเร้าให้คุณปู่บอกเล่าอดีต "ปู่ชอบนั่งตรงระเบียงบ้านของเขาในตรินิแดด ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดเมืองนอน
และพอเหล้ารัมเข้าปากสักสองสามแก้ว เขาจะเริ่มพูดจ้อ"
เพื่อให้เข้าใจ '1917' และเรื่องราวของอัลเฟรด อันกลายเป็นแรงบันดาลใจของภาพยนตร์
เรื่องควรรู้คือความจริงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีพลวัตค่อนข้างน้อย
สถานการณ์ส่วนใหญ่ในสงครามเกิดขึ้นแถวสนามเพลาะ ซึ่งพวกทหารแข่งกันขุดให้ลึก, ยาว และคดเคี้ยวเลี้ยวลด แล้วลงไปปักหลักในนั้นเพื่อทำการต่อสู้
ฉะนั้นเมื่อเมนเดสกับโรเจอร์ ดีกินส์/ผู้กำกับภาพ ไปเยือนแถบฝรั่งเศส, ฟลานเดอร์ และเบลเยี่ยม เพื่อสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ของสมรภูมิ
ผู้กำกับก็พบว่า "มันเป็นเขาวงกตอันกว้างใหญ่ที่น่าสับสนอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่ในนั้น
โรเจอร์กับผมหลงทิศสะเปะสะปะ และหนทางเดียวที่พวกเราจะหลุดออกมาได้คือปีนขึ้นเหนือสนามเพลาะ แล้วมองมันจากด้านบน
ตอนอยู่ข้างในมันสับสนชวนงงเป็นบ้า คุณไม่มีทางรู้เลยว่ากำลังหันหน้าไปทางทิศใด"
ระยะระหว่างแนวสนามเพลาะฝั่งหนึ่งกับอีกฝั่งหนึ่งมันน้อยจนชวนให้ตกใจ
เพราะโดยปกติจะอยู่ห่างกันแค่ประมาณ 250 หลา (228.6 เมตร) กับของฝ่ายตรงข้าม และมักมีรั้วลวดหนามกับศพกองอยู่ตรงกลาง
เป็นร่างของทหารทั้งสองฝ่าย ไม่ก็ศพของพวกสัตว์ที่โดนกระสุนลูกหลง
พื้นที่ตรงนี้เรียกดินแดนห้ามเหยียบย่าง (no man’s land) เพราะคงไม่มีทหารคนไหนอยากก้าวลงไปอยู่ตรงนั้น
ทว่านั่นคือจุดที่อัลเฟรดจำเป็นต้องผ่าน ในการทำภารกิจอย่างหนึ่ง
"ปู่เล่าเรื่องไม่ธรรมดาเกี่ยวกับการพาข้อความผ่านแดนห้ามเหยียบย่าง, ผ่านหมอกควันจากฐานหนึ่งสู่อีกฐานหนึ่งตอนพลบค่ำ
ผมจินตนาการถึงภาพผู้ชายตัวเล็กๆ ท่ามกลางความว่างเปล่าสุดกว้างขวางเพียงลำพัง และจดจำมันได้ขึ้นใจ" เมนเดสกล่าว
"และเมื่อผมรวบรวมความกล้านั่งลง แล้วตั้งต้นเขียนบทภาพยนตร์ของตัวเอง ผมรู้สึกว่าต้องบอกเล่าเรื่องราวนั่นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้"
แต่ปัญหาคือคุณจะผลิตภาพยนตร์เกี่ยวกับการวิ่งส่งสาร ผ่านพื้นที่เล็กๆ สลับกับสถานที่โล่งกว้างว่างเปล่าได้อย่างไร โดยไม่ส่งผลให้ผู้ชมนั่งหาว ?
วิธีแก้ทางของเมนเดสคือการใช้เทคนิคลองเทค (long take)
เมนเดสถ่ายทำภาพยนตร์ในแบบที่จะทำให้คนดู รู้สึกราวกับมันมีเพียงเทคเดียวยาวๆ ตลอดทั้งเรื่อง
การนำเสนอเช่นนี้จะดูเสมือนทุกสิ่งเกิดขึ้นตามเวลาจริง และผู้ชมจะเข้าถึงประสบการณ์ของตัวละครแบบสุดติ่ง
โครงเรื่องของ '1917' แสนธรรมดา: ทหารอังกฤษสองนายได้รับมอบหมายให้ส่งข้อความผ่านแดนห้ามเหยียบย่าง สู่กองพันที่ 2 ของกรมทหารแห่งเดวอนไชร์
เพื่อยกเลิกคำสั่งโจมตีที่จะผิดพลาด และช่วยชีวิตทหารกว่า 1,600 นาย
วิธีสร้างการผจญภัยที่ดูเหมือนเทคเดียวแบบลื่นไหลเองก็ธรรมดา
คืออาศัยการวางแผนอย่างพิถีพิถัน และการประสานงานที่ดีของทีมงาน
ฉากต่างๆ ต้องถูกจัดวางให้ดูต่อเนื่องกันแบบช็อตต่อช็อต
เดนนิส แกสเนอร์/ผู้ออกแบบงานสร้าง บอกว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการออกแบบไว้ทุกจุด แบบลงลึกถึงพวกบทสนทนา
เราต้องพยากรณ์ความยาวของทุกชั่วขณะ ในบริบทของภาพยนตร์ล่วงหน้า"
เมนเดสว่า "ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทุกขั้นตอนต้องผ่านการไตร่ตรอง
ตัวอย่างเช่นถ้าผมเขียนบทว่า 'พวกเขาผ่านเหมืองหินไปตามป่าไม้, ลงเขา, ผ่านสวนผลไม้, ไปยังบ้านไร่'
แต่ละฉากต้องกำหนดความยาวของพื้นที่ไว้ และแต่ละพื้นที่ต้องมีความยาวของช่วงเวลาที่ใช้เดินผ่านกำกับ"
เมนเดสกับแกสเนอร์ทำได้เพราะเคยผ่านประสบการณ์สร้างฉากยาวต่อเนื่องมาก่อน: ฉากเปิดเรื่องของหนังเจมส์ บอนด์ภาค Spectre ที่พระเอกเดินผ่านงานวันเทศกาลแห่งความตาย (Day of the Dead)
แกสเนอร์, เมนเดส และดีกินส์ จะจับเหล่านักแสดงใส่พื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อทำความเข้าใจแผนที่ภายในภาพยนตร์ทั้งเรื่อง
"แค่เดินรอบๆ แล้วปักธงลงไป" เมนเดสระบุว่าเขาใช้เสาสารพัดสี เพื่อสื่อความหมายที่หลากหลาย
เช่น สีเหลืองสำหรับเส้นทางของนายเอ, สีเขียวสำหรับนายบี หรือให้เสาสีแดงเป็นตัวแทนของกล้อง
แต่แน่นอนว่าการปฏิบัติจริงย่อมไม่ง่ายเหมือนตอนอธิบาย
"เราต้องสร้างการเดินทางให้พวกตัวละคร โดยระบุรายละเอียดปลีกย่อยและเหตุการณ์ทั้งหมด
พร้อมคำนึงถึงความต้องการของผู้ชม โดยตระหนักว่าควรทำให้พวกเขาสนใจมันไว้ด้วยเสมอ
หลายครั้งเลยครับ ที่ผมคิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้" เมนเดสยอมรับ
แต่พวกเขาก็อดทนผ่านการฝึกฝนหลายเดือน จนกะจังหวะต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และทำให้เรื่องราวน่าสนใจนี้เกิดขึ้นสำเร็จ
"คุณลองขอให้จอร์จ แมคเคย์ (นักแสดงนำ) เดินตามเส้นทางที่เขาแสดงให้เห็นในหนังแบบก้าวต่อก้าวดูสิ รับรองว่าเค้ายังทำได้แน่" เมนเดสพูดพร้อมเสียงหัวเราะ
นอกจากนี้, ดีกินส์กับเมนเดสก็ยังไม่ยอมหยุดท้าทายตัวเอง พวกเขาพยายามหาหนทางถ่ายทอดเรื่องราวด้วยมุมกล้องดีๆ ไปด้วยพร้อมกัน
"พวกเราอยากใช้มุมกล้องที่มันไม่ซ้ำซาก และเหมือนให้ความสนใจอยู่แค่จุดเดียว
จะให้มีแต่มุมกล้องแบบปกติที่วิ่งไล่ตามหลังตัวละครในมุมมองข้ามไหล่ หรืออะไรทำนองนั้นไม่ได้
บางครั้งมุมกล้องควรมองผ่านรูกุญแจ หรือวิ่งไล่ตามวิถีกระสุนซึ่งกำลังเคลื่อนเข้าสู่รูหูของพวกเขา"
ความทุ่มเทต่อผลงานดูท่าจะให้ผลลัพธ์ดีงาม เนื่องจาก '1917' ชนะรางวัลลูกโลกทองคำ และตัวเลขรายรับช่วงสุดสัปดาห์เปิดตัวในอเมริกาของหนังคือ 36.5 ล้านดอลลาร์
แต่บางทีสิ่งที่ทำให้เมนเดสยินดีสุด อาจเป็นการที่ผู้คนจำนวนมากพากันเข้าไปรับชมผลงานของเขาในโรงภาพยนตร์
"ผมอยากให้ผู้คนดูมันในโรง ท่าทางเป็นเรื่องยากสำหรับทุกวันนี้นะ หากคุณไร้ซูเปอร์ฮีโร่ หรือว่าหนังไม่ใช่ผลงานแฟรนไชส์...
เราเป็นชนกลุ่มน้อยในหมู่ภาพยนตร์ซึ่งเปิดตัววงกว้าง"
ที่มา https://www.washingtonpost.com/arts-entertainment/2020/01/14/plot-1917-is-simple-making-it-was-not/
COMMENTS