เมื่อกล่าวถึงการข้ามเวลา, จักรกลสังหาร, วันพิพากษา สิ่งที่ผู้คนจะนึกขึ้นมาในหัวทันทีย่อมหนีไม่พ้นภาพยนตร์ชุด Terminator หนัง Terminator ก่อ...
เมื่อกล่าวถึงการข้ามเวลา, จักรกลสังหาร, วันพิพากษา สิ่งที่ผู้คนจะนึกขึ้นมาในหัวทันทีย่อมหนีไม่พ้นภาพยนตร์ชุด Terminator
หนัง Terminator ก่อนหน้าภาควิกฤตชะตาโลก (Dark Fate) มี 5 ภาค และทั้งหมดสร้างรายได้รวมกันระดับพันล้านดอลลาร์
ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องตามออกมาโกยเงินอีกมาก เช่น วิดีโอเกม, การ์ตูน, นิยาย, รายการโทรทัศน์ และเครื่องเล่นในสวนสนุก
เหนือสิ่งอื่นใด, Terminator คือหนังเรื่องแรกๆ ที่ทำให้ผู้คนรู้ว่าภาพยนตร์แอ็คชั่นเป็นอะไรได้มากกว่าการระเบิดสิ่งของโชว์ผู้ชม หรือนำเสนอแค่ฉากคนจ้องจะยิงปืนใส่กัน
มันแสดงให้เห็นองค์ประกอบที่มีความเฉพาะตัวหลายประการ และเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ด้านเทคนิคพิเศษของโลกภาพยนตร์ในยุคนั้น
มันมีตัวละครที่บุคลิกซับซ้อน และเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดใจให้กลับไปดูซ้ำๆ
บัดนี้; เนื่องในโอกาสที่ผู้ทำให้ Terminator โด่งดังอย่าง 'เจมส์ คาเมรอน' เข้าปลุกผีแฟรนไชส์, ชี้แจงว่าหนังลำดับ 6 (Dark Fate) คือภาคสามของจริง และขอให้คิดซะว่าภาค 3-5 ก่อนหน้านี้ผู้ชมเพียง 'ฝันร้าย' ไป
จึงใคร่ขอพาทุกท่านที่สนใจ ย้อนมองประวัติศาสตร์การสร้างหนังฅนเหล็ก เพื่อให้เห็นเหตุผลที่คาเมรอนกล่าวเช่นนั้นดูสักหน่อย
แม้ภาพยนตร์ปลาปิรันย่ากินคน (Piranha II) คือใบเบิกทางสำคัญในเส้นทางอาชีพของชายชื่อเจมส์ คาเมรอน
แต่ระหว่างถ่ายทำหนังอยู่ในอิตาลี ใจเขาส่วนหนึ่งกลับอยู่ที่ความฝันเกี่ยวกับเงาร่างสีเงิน อันผุดออกมาหลังโดนระเบิดโดยถือมีดทำครัวไว้ในมือ
คาเมรอนพยายามพัฒนาบทหนังจากความฝันดังกล่าว และหลังควานหาแรงบันดาลใจเพิ่มเติมจากภาพยนตร์อย่าง Halloween, The Driver, Mad Max 2 บทของ 'The Terminator' ก็ถือกำเนิด
เกล แอนน์ เฮิร์ด (Gale Anne Hurd) ผู้อำนวยการสร้างหนัง ใช้เงินไม่มากมายเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการสุดสำคัญในอนาคตนี้ เพราะเธอซื้อลิขสิทธิ์ The Terminator จากคาเมรอนด้วยราคาเพียง 1 ดอลลาร์
บทภาพยนตร์ว่าด้วยหุ่นไซบอร์กที่ถูกส่งย้อนเวลามาจากค.ศ. 2029 เพื่อฆ่าซาราห์ คอนเนอร์/หญิงสาวที่วันข้างหน้าคือมารดาของผู้กอบกู้โลก
และนั่นส่งผลให้ทหารหนุ่มนามไคล์ รีส ถูกส่งมาเช่นกัน เพื่อการันตีการเกิดของจอห์น คอนเนอร์
โครงการใช้เวลาไม่นานพาตัวเองไปอยู่ใต้ร่มใบค่าย Orion Pictures โดยมีลินดา แฮมิลตัน รับบทซาราห์ และไมเคิล บีห์น รับบทรีส
ส่วนบทหุ่น T-800 มีตัวเลือกเป็นดาราชายชื่อดังหลายคน เช่น เมล กิ๊บสัน หรือซิลเวสเตอร์ สตอลโลน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี, คนที่คาเมรอนเห็นแววมากสุด คืออดีตนักเพาะกายชาวออสเตรียผู้ผันตัวเข้าสู่อาชีพนักแสดงแบบอาโนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ (แม้เดิมทีเขาโดนเล็งให้เล่นบทรีส)
อาโนลด์มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้วจากการรับบทโคแนนในหนังเรื่อง Conan the Barbarian
แต่ The Terminator ยกระดับเขาสู่ขั้นซูเปอร์สตาร์ ด้วยความที่รูปร่างกำยำสมกับบท และมีการแสดงออกที่เหมาะเหม็งกับการเล่นเป็น T-800 หนักหนา
The Terminator คือหนึ่งในภาพยนตร์ที่รุนแรงสุดของช่วงยุค 80s (โดยเฉพาะฉาก T-800 บุกสถานีตำรวจ ซึ่งชวนให้หวนนึกถึงเหตุกราดยิงไม่เลือกหน้าในชีวิตจริงของชาวอเมริกัน)
ขณะเดียวกัน, มันกลับทำบทรักๆ ใคร่ๆ ที่เป็นแกนหลักในเนื้อเรื่องออกมาได้น่าเชื่อถือ
(แสดงให้เห็นพรสวรรค์ด้านการนำเสนอฉากเร้าอารมณ์ ผสมแอ็คชั่นได้อย่างสมดุลยิ่งของคาเมรอน)
The Terminator จึงกลายเป็นม้ามืดแห่งค.ศ.1984 และโกยเงินถึงราว 80 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าทุนสร้างแค่ 6.4 ล้าน
หนังเปิดช่องสำหรับภาคต่อไว้ ทว่าคาเมรอนไม่อยากทำ จนกระทั่งหลายปีผ่านไป
เขารอให้ลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ลอยเคว้งคว้างกลางอากาศด้วยส่วนหนึ่ง แต่เหตุผลสำคัญกว่า คือเทคโนโลยียังก้าวหน้าตามวิสัยทัศน์ของเขาไม่ทัน
เนื่องจากเดิมทีในหนัง Terminator ภาค 1, คาเมรอนเล็งไว้ว่าจะให้ไซบอร์กสองตัวถูกส่งข้ามเวลามาปะทะกัน โดยตัวหนึ่งนั้นทำจากโลหะเหลว
ซึ่งหลังกำกับหนังปี 1989 เรื่อง The Abyss นั่นแหละ, คาเมรอนจึงแน่ใจว่าสร้างหุ่นยนต์เปลี่ยนรูปร่างอย่าง T-1000 ได้แน่
และกลับสู่โลกของฅนเหล็กอีกคำรบใน Terminator 2: Judgement Day (1991)
T2 ภายใต้สังกัดค่าย TriStar Pictures ได้รับเสียงยกย่องอย่างยิ่งด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นเทพระดับปฏิวัติวงการ (สมัยก่อนหุ่นโลหะเหลวเปลี่ยนรูปร่างอย่างลื่นไหลถือว่าล้ำโคตร)
แล้วไหนจะฉากไล่ล่าท้ามฤตยูด้วยมอเตอร์ไซค์ กับไคลแม็กซ์สุดระทึกอีกต่างหาก
ทำเอาหลายๆ คนมองว่า มันคือหนังแอ็คชั่นไซไฟที่ดีสุดเท่าที่เคยสร้างกันมาในเวลานั้น
T2 ถือเป็นภาคต่อสุดหายาก เพราะพัฒนาจากภาคแรกหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านความสดใหม่, ในแง่ที่เนื้อเรื่องมีอะไรคาดไม่ถึงเยอะ หรือการมีเหล่าตัวละครที่น่าจดจำ
เช่น การแสดงของเอ็ดเวิร์ด เฟอร์ลอง ในบทจอห์น คอนเนอร์ วัยเด็กอันเปี่ยมเสน่ห์
โรเบิร์ต แพททริค ในบท T-1000 ที่โผล่มาทีไรทำเอาเสียวสันหลัง
ซาราห์ คอนเนอร์ (ลินดา แฮมิลตัน) ผู้เปลี่ยนจากสาวแกร่งแต่ยังหวาดกลัวเมื่อเจอภัย
เป็นหญิงห้าวสุดขั้วผู้เก่งรอบด้าน และตัวอย่างชั้นดีของผู้หญิงที่เรียกร้องสิทธิสตรี ต่อจากนั้นอีกหลายยุคหลายสมัย
หรือชวาร์เซเนกเกอร์ ผู้พลิกบทจากตัวร้ายหลักภาคแรก กลายเป็นฝ่ายปกป้องแม่ลูกคอนเนอร์
เท่านั้นไม่พอ, T2 ยังมีประเด็นชวนขบคิดเกี่ยวกับอันตรายของเทคโนโลยี
กับการผูกมิตรอันน่าประทับใจของ T-800 กับแม่ลูกคอนเนอร์ ที่แสดงให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ก็อาจมีชีวิตจิตใจ
ทำให้ไม่น่าแปลกนักที่ T2 ชนะอคาเดมี่ 4 รางวัล, เป็นหนังทำเงินสูงสุดของปี 1991 และจัดวางมาตรฐานใหม่ให้แฟรนไชส์ไว้ (ซึ่งน่าเศร้าที่มันยังไม่เคยกลับไปแตะระดับนั้นได้อีกเลย)
อย่างไรก็ตาม, คาเมรอนแนะนำให้ชวาร์เซเนกเกอร์กลับสู่บทเดิม
ในภาคต่อที่เน้นเล่าเรื่องจอห์น คอนเนอร์วัยผู้ใหญ่ หลังมารดาเสียชีวิต
ภาค 3 เผยว่าวันพิพากษา (Judgement Day) มิได้ถูกหยุดยั้ง แค่เลื่อนจาก 29 สิงหาคม 1997 เป็น 25 กรกฎาคม 2004 แทน
การทำเช่นนี้ส่งผลให้แฟนๆ เสียงแตก และเสียงตอบรับต่อตัวหนังทั้งเรื่องก็แบ่งแยกไปหลายทาง
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จด้านรายได้ แต่ Terminator 3 ทำเงินต่ำกว่าภาค 2 ถึง 17% ทั้งที่ฉายตามหลังนานร่วม 10 กว่าปี
ทว่า หนังก็ยังมีฉากแอ็คชั่นที่น่าจดจำ เช่น ตอน T-800 กราดยิงปืนกลใส่หน่วยสวาทอย่างดุเดือด พร้อมแบกจอห์น คอนเนอร์ในโลงศพปลอมไปด้วย
เสียงวิจารณ์ด้านดีเหนือกว่าด้านแย่ แต่ทั้งนักวิจารณ์และผู้ชมต่างเริ่มกังขาว่าแฟรนไชส์ควรจบลงตรง T2 ดีกว่าหรือเปล่า
ชื่อเสียงของแฟรนไชส์เลยขึ้นอยู่กับภาคต่อเรื่องถัดไป ที่ทำท่าจะไม่มีดาวเด่นแบบ T-800
เพราะชวาร์เซเนกเกอร์คงไม่ว่างถ่ายหนัง เนื่องจากชนะเลือกตั้งกลายเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2003
ปัญหาแก้ตกด้วยการใช้ซีจีสร้างใบหน้าอาโนลด์แปะทับบนนักแสดงคนอื่น
แต่ Terminator ภาค 4 (Salvation) ก็เปลี่ยนนักแสดงบางคนจากภาค 3 เพิ่ม จนชวนให้รู้สึกขาดความต่อเนื่องนิดหน่อย
เมื่อหนังฉายตอนค.ศ. 2009 ปรากฏว่ารายได้ต่ำกว่าภาค 3, หนำซ้ำคำวิจารณ์แย่ที่สุดในแฟรนไชส์ ณ เวลาดังกล่าว (หลักๆ ที่โดนตำหนิคือการให้ความสำคัญกับฉากแอ็คชั่นมากกว่าเนื้อเรื่อง)
ผลตอบรับของแฟนๆ ต่อภาค 3-4 ค่อนข้างก้ำกึ่ง แต่โชคร้ายสุดมาเยือนก็ตอนภาค 5 (Genisys) มาถึง
Genisys โดนตำหนิหนักว่าเนื้อเรื่องเหลวใหล และคัดตัวนักแสดงได้ไม่เหมาะสมกับบท, คำวิจารณ์ภาค 5 แย่ซะยิ่งกว่า Salvation
แต่ยังดีที่พอมีฉากน่าจดจำ เช่น T-800 จับฅนเหล็กอีกตัวไว้ให้โดนน้ำกรดละลายทิ้ง
Genisys คือหนังทำเงินสูงสุดอันดับ 2 ของแฟรนไชส์ แต่แผนขับดันให้มันเป็นไตรภาคก็ยังถูกพับเก็บไป (เหมือน Salvation)
ชะตาไม่ได้มีลิขิตไว้และพวกเราสร้างอนาคตได้, ฉะนั้นเมื่อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์กลับเข้ามือเจมส์ คาเมรอนอีกครั้ง
ปี 2019 ผู้ชมเลยมีโอกาสยล Terminator ภาคใหม่ ภายใต้การดูแลของคาเมรอนและการกำกับของทิม มิลเลอร์
ซึ่งเนื้อหาเชื่อมโยงกับ T2 แบบไม่แคร์ 3 ภาคก่อนหน้า โดยลินดา แฮมิลตัน หวนคืนสู่บทซาราห์ คอนเนอร์ และอาโนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์รับบท T-800 เช่นเคย
ไม่ว่าชะตากรรมของแฟรนไชส์ฅนเหล็กจะออกหัวหรือก้อย
หนังสองเรื่องแรกก็คงยังเป็นตำนานด้านภาพยนตร์แอ็คชั่นไซไฟแบบไม่เสื่อมคลาย
ในฐานะสื่อบันเทิงที่นำเสนอจินตนาการได้มีความเฉพาะตัวยิ่ง และมาพร้อมแนวคิดที่เตือนให้ระวังการทำลายตัวเองของมนุษยชาติ
เอาเป็นว่าจนกว่าอนาคตอันสดใสของแฟรนไชส์จะมาเยือน คงต้องขอบอกว่า "แล้วเจอกันใหม่นะน้องสาว" (Hasta va vista, baby.) น่ะแหละ
เพราะต่อให้ Dark Fate ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ฮอลลีวูดอาจไม่มีวันเข็ดกับการสร้างหนังฅนเหล็กก็ได้
หนัง Terminator ก่อนหน้าภาควิกฤตชะตาโลก (Dark Fate) มี 5 ภาค และทั้งหมดสร้างรายได้รวมกันระดับพันล้านดอลลาร์
ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องตามออกมาโกยเงินอีกมาก เช่น วิดีโอเกม, การ์ตูน, นิยาย, รายการโทรทัศน์ และเครื่องเล่นในสวนสนุก
เหนือสิ่งอื่นใด, Terminator คือหนังเรื่องแรกๆ ที่ทำให้ผู้คนรู้ว่าภาพยนตร์แอ็คชั่นเป็นอะไรได้มากกว่าการระเบิดสิ่งของโชว์ผู้ชม หรือนำเสนอแค่ฉากคนจ้องจะยิงปืนใส่กัน
มันแสดงให้เห็นองค์ประกอบที่มีความเฉพาะตัวหลายประการ และเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ด้านเทคนิคพิเศษของโลกภาพยนตร์ในยุคนั้น
มันมีตัวละครที่บุคลิกซับซ้อน และเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดใจให้กลับไปดูซ้ำๆ
บัดนี้; เนื่องในโอกาสที่ผู้ทำให้ Terminator โด่งดังอย่าง 'เจมส์ คาเมรอน' เข้าปลุกผีแฟรนไชส์, ชี้แจงว่าหนังลำดับ 6 (Dark Fate) คือภาคสามของจริง และขอให้คิดซะว่าภาค 3-5 ก่อนหน้านี้ผู้ชมเพียง 'ฝันร้าย' ไป
จึงใคร่ขอพาทุกท่านที่สนใจ ย้อนมองประวัติศาสตร์การสร้างหนังฅนเหล็ก เพื่อให้เห็นเหตุผลที่คาเมรอนกล่าวเช่นนั้นดูสักหน่อย
แม้ภาพยนตร์ปลาปิรันย่ากินคน (Piranha II) คือใบเบิกทางสำคัญในเส้นทางอาชีพของชายชื่อเจมส์ คาเมรอน
แต่ระหว่างถ่ายทำหนังอยู่ในอิตาลี ใจเขาส่วนหนึ่งกลับอยู่ที่ความฝันเกี่ยวกับเงาร่างสีเงิน อันผุดออกมาหลังโดนระเบิดโดยถือมีดทำครัวไว้ในมือ
คาเมรอนพยายามพัฒนาบทหนังจากความฝันดังกล่าว และหลังควานหาแรงบันดาลใจเพิ่มเติมจากภาพยนตร์อย่าง Halloween, The Driver, Mad Max 2 บทของ 'The Terminator' ก็ถือกำเนิด
เกล แอนน์ เฮิร์ด (Gale Anne Hurd) ผู้อำนวยการสร้างหนัง ใช้เงินไม่มากมายเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการสุดสำคัญในอนาคตนี้ เพราะเธอซื้อลิขสิทธิ์ The Terminator จากคาเมรอนด้วยราคาเพียง 1 ดอลลาร์
บทภาพยนตร์ว่าด้วยหุ่นไซบอร์กที่ถูกส่งย้อนเวลามาจากค.ศ. 2029 เพื่อฆ่าซาราห์ คอนเนอร์/หญิงสาวที่วันข้างหน้าคือมารดาของผู้กอบกู้โลก
และนั่นส่งผลให้ทหารหนุ่มนามไคล์ รีส ถูกส่งมาเช่นกัน เพื่อการันตีการเกิดของจอห์น คอนเนอร์
โครงการใช้เวลาไม่นานพาตัวเองไปอยู่ใต้ร่มใบค่าย Orion Pictures โดยมีลินดา แฮมิลตัน รับบทซาราห์ และไมเคิล บีห์น รับบทรีส
ส่วนบทหุ่น T-800 มีตัวเลือกเป็นดาราชายชื่อดังหลายคน เช่น เมล กิ๊บสัน หรือซิลเวสเตอร์ สตอลโลน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี, คนที่คาเมรอนเห็นแววมากสุด คืออดีตนักเพาะกายชาวออสเตรียผู้ผันตัวเข้าสู่อาชีพนักแสดงแบบอาโนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ (แม้เดิมทีเขาโดนเล็งให้เล่นบทรีส)
อาโนลด์มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้วจากการรับบทโคแนนในหนังเรื่อง Conan the Barbarian
แต่ The Terminator ยกระดับเขาสู่ขั้นซูเปอร์สตาร์ ด้วยความที่รูปร่างกำยำสมกับบท และมีการแสดงออกที่เหมาะเหม็งกับการเล่นเป็น T-800 หนักหนา
The Terminator คือหนึ่งในภาพยนตร์ที่รุนแรงสุดของช่วงยุค 80s (โดยเฉพาะฉาก T-800 บุกสถานีตำรวจ ซึ่งชวนให้หวนนึกถึงเหตุกราดยิงไม่เลือกหน้าในชีวิตจริงของชาวอเมริกัน)
ขณะเดียวกัน, มันกลับทำบทรักๆ ใคร่ๆ ที่เป็นแกนหลักในเนื้อเรื่องออกมาได้น่าเชื่อถือ
(แสดงให้เห็นพรสวรรค์ด้านการนำเสนอฉากเร้าอารมณ์ ผสมแอ็คชั่นได้อย่างสมดุลยิ่งของคาเมรอน)
The Terminator จึงกลายเป็นม้ามืดแห่งค.ศ.1984 และโกยเงินถึงราว 80 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าทุนสร้างแค่ 6.4 ล้าน
หนังเปิดช่องสำหรับภาคต่อไว้ ทว่าคาเมรอนไม่อยากทำ จนกระทั่งหลายปีผ่านไป
เขารอให้ลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ลอยเคว้งคว้างกลางอากาศด้วยส่วนหนึ่ง แต่เหตุผลสำคัญกว่า คือเทคโนโลยียังก้าวหน้าตามวิสัยทัศน์ของเขาไม่ทัน
เนื่องจากเดิมทีในหนัง Terminator ภาค 1, คาเมรอนเล็งไว้ว่าจะให้ไซบอร์กสองตัวถูกส่งข้ามเวลามาปะทะกัน โดยตัวหนึ่งนั้นทำจากโลหะเหลว
ซึ่งหลังกำกับหนังปี 1989 เรื่อง The Abyss นั่นแหละ, คาเมรอนจึงแน่ใจว่าสร้างหุ่นยนต์เปลี่ยนรูปร่างอย่าง T-1000 ได้แน่
และกลับสู่โลกของฅนเหล็กอีกคำรบใน Terminator 2: Judgement Day (1991)
T2 ภายใต้สังกัดค่าย TriStar Pictures ได้รับเสียงยกย่องอย่างยิ่งด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นเทพระดับปฏิวัติวงการ (สมัยก่อนหุ่นโลหะเหลวเปลี่ยนรูปร่างอย่างลื่นไหลถือว่าล้ำโคตร)
แล้วไหนจะฉากไล่ล่าท้ามฤตยูด้วยมอเตอร์ไซค์ กับไคลแม็กซ์สุดระทึกอีกต่างหาก
ทำเอาหลายๆ คนมองว่า มันคือหนังแอ็คชั่นไซไฟที่ดีสุดเท่าที่เคยสร้างกันมาในเวลานั้น
T2 ถือเป็นภาคต่อสุดหายาก เพราะพัฒนาจากภาคแรกหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านความสดใหม่, ในแง่ที่เนื้อเรื่องมีอะไรคาดไม่ถึงเยอะ หรือการมีเหล่าตัวละครที่น่าจดจำ
เช่น การแสดงของเอ็ดเวิร์ด เฟอร์ลอง ในบทจอห์น คอนเนอร์ วัยเด็กอันเปี่ยมเสน่ห์
โรเบิร์ต แพททริค ในบท T-1000 ที่โผล่มาทีไรทำเอาเสียวสันหลัง
ซาราห์ คอนเนอร์ (ลินดา แฮมิลตัน) ผู้เปลี่ยนจากสาวแกร่งแต่ยังหวาดกลัวเมื่อเจอภัย
เป็นหญิงห้าวสุดขั้วผู้เก่งรอบด้าน และตัวอย่างชั้นดีของผู้หญิงที่เรียกร้องสิทธิสตรี ต่อจากนั้นอีกหลายยุคหลายสมัย
หรือชวาร์เซเนกเกอร์ ผู้พลิกบทจากตัวร้ายหลักภาคแรก กลายเป็นฝ่ายปกป้องแม่ลูกคอนเนอร์
เท่านั้นไม่พอ, T2 ยังมีประเด็นชวนขบคิดเกี่ยวกับอันตรายของเทคโนโลยี
กับการผูกมิตรอันน่าประทับใจของ T-800 กับแม่ลูกคอนเนอร์ ที่แสดงให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ก็อาจมีชีวิตจิตใจ
ทำให้ไม่น่าแปลกนักที่ T2 ชนะอคาเดมี่ 4 รางวัล, เป็นหนังทำเงินสูงสุดของปี 1991 และจัดวางมาตรฐานใหม่ให้แฟรนไชส์ไว้ (ซึ่งน่าเศร้าที่มันยังไม่เคยกลับไปแตะระดับนั้นได้อีกเลย)
อย่างไรก็ตาม, คาเมรอนแนะนำให้ชวาร์เซเนกเกอร์กลับสู่บทเดิม
ในภาคต่อที่เน้นเล่าเรื่องจอห์น คอนเนอร์วัยผู้ใหญ่ หลังมารดาเสียชีวิต
ภาค 3 เผยว่าวันพิพากษา (Judgement Day) มิได้ถูกหยุดยั้ง แค่เลื่อนจาก 29 สิงหาคม 1997 เป็น 25 กรกฎาคม 2004 แทน
การทำเช่นนี้ส่งผลให้แฟนๆ เสียงแตก และเสียงตอบรับต่อตัวหนังทั้งเรื่องก็แบ่งแยกไปหลายทาง
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จด้านรายได้ แต่ Terminator 3 ทำเงินต่ำกว่าภาค 2 ถึง 17% ทั้งที่ฉายตามหลังนานร่วม 10 กว่าปี
ทว่า หนังก็ยังมีฉากแอ็คชั่นที่น่าจดจำ เช่น ตอน T-800 กราดยิงปืนกลใส่หน่วยสวาทอย่างดุเดือด พร้อมแบกจอห์น คอนเนอร์ในโลงศพปลอมไปด้วย
เสียงวิจารณ์ด้านดีเหนือกว่าด้านแย่ แต่ทั้งนักวิจารณ์และผู้ชมต่างเริ่มกังขาว่าแฟรนไชส์ควรจบลงตรง T2 ดีกว่าหรือเปล่า
ชื่อเสียงของแฟรนไชส์เลยขึ้นอยู่กับภาคต่อเรื่องถัดไป ที่ทำท่าจะไม่มีดาวเด่นแบบ T-800
เพราะชวาร์เซเนกเกอร์คงไม่ว่างถ่ายหนัง เนื่องจากชนะเลือกตั้งกลายเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2003
ปัญหาแก้ตกด้วยการใช้ซีจีสร้างใบหน้าอาโนลด์แปะทับบนนักแสดงคนอื่น
แต่ Terminator ภาค 4 (Salvation) ก็เปลี่ยนนักแสดงบางคนจากภาค 3 เพิ่ม จนชวนให้รู้สึกขาดความต่อเนื่องนิดหน่อย
เมื่อหนังฉายตอนค.ศ. 2009 ปรากฏว่ารายได้ต่ำกว่าภาค 3, หนำซ้ำคำวิจารณ์แย่ที่สุดในแฟรนไชส์ ณ เวลาดังกล่าว (หลักๆ ที่โดนตำหนิคือการให้ความสำคัญกับฉากแอ็คชั่นมากกว่าเนื้อเรื่อง)
ผลตอบรับของแฟนๆ ต่อภาค 3-4 ค่อนข้างก้ำกึ่ง แต่โชคร้ายสุดมาเยือนก็ตอนภาค 5 (Genisys) มาถึง
Genisys โดนตำหนิหนักว่าเนื้อเรื่องเหลวใหล และคัดตัวนักแสดงได้ไม่เหมาะสมกับบท, คำวิจารณ์ภาค 5 แย่ซะยิ่งกว่า Salvation
แต่ยังดีที่พอมีฉากน่าจดจำ เช่น T-800 จับฅนเหล็กอีกตัวไว้ให้โดนน้ำกรดละลายทิ้ง
Genisys คือหนังทำเงินสูงสุดอันดับ 2 ของแฟรนไชส์ แต่แผนขับดันให้มันเป็นไตรภาคก็ยังถูกพับเก็บไป (เหมือน Salvation)
ปี 2019 ผู้ชมเลยมีโอกาสยล Terminator ภาคใหม่ ภายใต้การดูแลของคาเมรอนและการกำกับของทิม มิลเลอร์
ซึ่งเนื้อหาเชื่อมโยงกับ T2 แบบไม่แคร์ 3 ภาคก่อนหน้า โดยลินดา แฮมิลตัน หวนคืนสู่บทซาราห์ คอนเนอร์ และอาโนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์รับบท T-800 เช่นเคย
ไม่ว่าชะตากรรมของแฟรนไชส์ฅนเหล็กจะออกหัวหรือก้อย
หนังสองเรื่องแรกก็คงยังเป็นตำนานด้านภาพยนตร์แอ็คชั่นไซไฟแบบไม่เสื่อมคลาย
ในฐานะสื่อบันเทิงที่นำเสนอจินตนาการได้มีความเฉพาะตัวยิ่ง และมาพร้อมแนวคิดที่เตือนให้ระวังการทำลายตัวเองของมนุษยชาติ
เอาเป็นว่าจนกว่าอนาคตอันสดใสของแฟรนไชส์จะมาเยือน คงต้องขอบอกว่า "แล้วเจอกันใหม่นะน้องสาว" (Hasta va vista, baby.) น่ะแหละ
เพราะต่อให้ Dark Fate ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ฮอลลีวูดอาจไม่มีวันเข็ดกับการสร้างหนังฅนเหล็กก็ได้
ที่มา: https://vocal.media/futurism/terminator-explained
COMMENTS