เวลาติดตามถ้อยคำให้สัมภาษณ์ของพวกผู้สร้างสไปเดอร์แมนฉบับ MCU มักจะเห็นพวกเขาพูดย้ำอยู่คำหนึ่งเสมอ คือเรื่องที่ต้องการนำ 'ความสดใหม่'...
เวลาติดตามถ้อยคำให้สัมภาษณ์ของพวกผู้สร้างสไปเดอร์แมนฉบับ MCU มักจะเห็นพวกเขาพูดย้ำอยู่คำหนึ่งเสมอ คือเรื่องที่ต้องการนำ 'ความสดใหม่' (fresh) มาสู่ไอ้แมงมุมคนปัจจุบัน
ส่วนเหตุผลก็อย่างที่รู้กัน คือภาพยนตร์สไปเดอร์แมนถูกตีความใหม่แล้วนำเสนอแก่ผู้ชมติดกันแล้ว 3 เวอร์ชั่น (ถ้านับรวมหนังอนิเมชั่น Spider-Verse ด้วยก็มากถึง 4) ในช่วงเพียง 10 กว่าปี
เนื่องจากหากไม่ผลิตภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง, ลิขสิทธิ์สไปเดอร์แมนจะหลุดมือสตูดิโอโซนี่กลับสู่มาร์เวลโดยสมบูรณ์
องค์ประกอบที่สดใหม่ของไอ้แมงมุมแห่ง MCU ในหนังฉายเดี่ยวภาคแรกของเขา (Homecoming) หลักๆ ก็คือ การไม่เล่าเรื่องตอนปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ได้พลังกับสูญเสียลุงผู้เลี้ยงดู, ความเป็นหนังวัยรุ่นที่แสดงให้เห็นชีวิตวัยเรียนของเขาแบบเต็มๆ และการมี 'พี่เลี้ยง' อย่างไอร์ออนแมนให้คอยพึ่งพาอาศัย
แต่ในฐานะฮีโร่ผู้มีทั้งความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่งและพลังอันยิ่งใหญ่
การพึ่งพิงฮีโร่ผู้อื่นต่อไปเรื่อยๆ ย่อมมิใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด
ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาท้าทายปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ใน Spider-Man: Far From Home อย่างเต็มกำลัง
เพราะจากที่เขาเคยหาทางดิ้นรนพิสูจน์คุณค่าในตัวตนให้ไอร์ออนแมนยอมรับตอนภาค 1
ภาค 2 ปีเตอร์ทำตรงข้ามกัน คือพยายามจะใช้ชีวิตปกติของตัวเองต่อ แม้ภาระของผู้มีพรสรรค์จะเรียกร้องให้เขาพิสูจน์คุณค่าตัวเอง และยืดอกรับผิดชอบมันแค่ไหน
ซึ่งการที่เขาอยากส่งมอบความรับผิดชอบแก่คนอื่นนี่เอง ที่ทำให้ตกหลุมพรางวายร้ายจอมหลอกลวง และทำความผิดพลาดครั้งใหญ่สุดในหนังลงไป
โดยส่วนตัวมองว่าคนสร้างหนังอยากเล่นประเด็นนี้จึงหยิบ 'มิสเทริโอ' ที่ในการ์ตูนต้นฉบับเป็นตัวร้ายจอมมายามาใช้
แล้วค่อยพัฒนาบทอันเต็มไปด้วยการสับขาหลอกรัวๆ มาเสริม ให้สมกับที่เรียกใช้บริการนักสร้างภาพลวงตา
การสับขาหลอกมีอะไรบ้าง ? ตัวอย่างก็เช่น พล็อตลวงหลักๆ อย่างมิสเทริโอหลอกเรื่องหลายจักรวาล, เหตุการณ์ไม่คาดคิดในฉากแถมตอนจบสองอัน
ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายสิ่งในหนัง ที่ตอนแรกตัวละครบอกอย่างนึง ทว่าความจริงหรือผลลัพธ์กลับพลิกเป็นอีกอย่างนึงแทนอยู่เรื่อย เช่น
- นิค ฟิวรี่อนุญาตให้ปีเตอร์ทัศนศึกษาต่อ แต่ดันจัดทริปโรงเรียนเข้าพื้นที่ภารกิจปีเตอร์เพื่อบังคับเขาทำงานทางอ้อม
- ทีแรกเอ็มเจบอกว่าแอบตามปีเตอร์เพราะสงสัยเรื่องสไปเดอร์แมน แต่ความจริงมันเป็นเพราะเธอชอบเขา
- เน็ดปิ๊งสาวแล้วเริ่มคบกันอย่างหวานชื่น แต่กลับเลิกกันเร็วทันใจแบบไม่เห็นวี่แววก่อนหน้าสักนิด
- แฟลช ทอมป์สัน (คนที่ชอบแกล้งปีเตอร์) โพสต์คลิปโง่ๆ เพื่อให้คนชอบทุกวัน
แต่มันดันทำให้สไปเดอร์แมนหาเขาเจอยามคับขัน
- แฮปปี้เข้าใจว่าตัวเองกำลังแอบคบเป็นแฟนกับป้าเมย์ลับหลังปีเตอร์ แต่ปรากฏว่าเขาคิดไปเอง, ป้าเมย์ไม่ได้เห็นเขาเป็นแฟนอะไร
บรรดาตัวอย่างอันหยิบยกมาไล่เรียงยังแค่ที่นึกออกเท่านั้น (ความจริงมีเยอะกว่านี้)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น, มันกลับไม่สับสนเวลาดูเลยสักนิด ผิดวิสัยหนังที่ทำตัวลับลวงหลอกอีกหลายเรื่อง
ตัวอย่างที่นึกได้ก็เช่น ภาพยนตร์หักเหลี่ยมปล้น/แฟรนไชส์ Ocean's ซึ่งบางภาคตอนดูจบรอบเดียว แล้วไม่เข้าใจสักนิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น
กับหนังฮีโร่ ค.ศ. 2009 ที่ถูกลืมเรื่อง 'Push' ซึ่งมีตัวละครมองเห็นอนาคตได้สองคน และตอนท้ายต้องตัดสินกันว่าใครมองล่วงหน้าไกลกว่า
ความเห็นส่วนตัวคือ หนังที่ทำตัวลับลวงหลอกตามการยกตัวอย่าง
ค่อนข้างจะพัง เพราะพยายามข้ามการเล่าเรื่องหลายอย่างไปไม่ให้คนดูเห็น
เลยต้องยัดประเด็นหลายอย่างนั่นเข้ามาอธิบายรวดเดียว ช่วงบทเฉลย
แล้วถ้าอธิบายไม่ดีพอ หรือจัดวางการเล่าเรื่องซับซ้อนเกินไป
การทำความเข้าใจและตามให้ทันจะยากเกินเหตุ
(แม้บางครั้งมันวางเรื่องไว้ดี ขนาดที่พอเข้าใจแล้วต้องร้องว้าวก็ตาม)
Far From Home คือหนังอันเป็นตัวอย่างชั้นดีเรื่องหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมแฟรนไชส์ภาพยนตร์ค่ายมาร์เวลครองตลาด
เพราะนอกจากการเล่าเรื่องตามสูตร, ฉากบู๊ตามสไตล์หนังฮีโร่ และการเชื่อมโยงองค์ประกอบ+เนื้อหากับหนังเรื่องอื่นในจักรวาลเดียวกัน ที่ยังคงทำได้ดีตามมาตรฐานค่ายมาร์เวล
Far From Home ยังเล่าเรื่องอันเปี่ยมด้วยคำโกหกและการหลอกลวงออกมาได้เข้าใจง่ายมาก
ทุกอย่างถูกเรียบเรียงมานำเสนอแบบไม่มั่วไม่สับสน แม้สับขาหลอกตั้งไม่รู้กี่เรื่องตามที่ยกตัวอย่างแล้ว
Far From Home ไม่สนใจจะเก็บงำความลับนานเกินไป เมื่อถึงจุดเฉลยได้ (มิสเทริโอหลอกเอาแว่นตามาสำเร็จ) ก็เฉลยทันที (ความจริงเฉลยตอนเอ็มเจบังเอิญเปิดเครื่องฉายภาพตอนคุยกับปีเตอร์ได้) จึงลดปัญหาด้านความสับสนยามเฉลยลงสำเร็จ
เรื่องสับขาหลอกเล็กๆ น้อยๆ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแฮปปี้กับป้าเมย์) ก็บอกเล่าตรงๆ ผ่านบทพูดของตัวละครอย่างเป็นธรรมชาติ
โดยไม่เล่าผ่านภาพการกระทำของตัวละคร แล้วให้คนดูนั่งจับสังเกตหรือตีความเอาเอง แบบหนังแนวหลอกลวงหรือมีสารแอบแฝงเรื่องอื่น
เท่านั้นไม่พอ, อย่าลืมว่าหนังมีประเด็นต้องบอกเล่ามากแค่ไหน
- Far From Home ปูทางให้ปีเตอร์ก้าวออกจากเงาของไอร์ออนแมน กลายเป็นสไปเดอร์แมนเต็มภาคภูมิ
- พากลุ่มตัวละครออกเดินทางไปทั่วยุโรป ซึ่งเวลาเล่าเรื่องก็ต้องมาคอยเช็คตลอดว่าพวกเขาอยู่ไหน ไม่ง่ายเหมือนเดินเรื่องในเมืองนิวยอร์คเมืองเดียวแบบหนังไอ้แมงมุมที่ผ่านๆ มา
- จับประเด็นเกี่ยวกับการบลิป (The Blip) ของพวกตัวละครที่คืนชีพหลังผ่านเหตุการณ์ลบคนครึ่งจักรวาล มาเล่นนิดหน่อย
- ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็มเจกับปีเตอร์คืบหน้า จากที่ทำท่าจะปิ๊งกันตอนจบภาคก่อน ตอนนี้กลายเป็นคู่รักกัน
- ปูทางความสัมพันธ์ระหว่างสไปเดอร์แมนกับมิสเทริโอ ในฐานะพันธมิตรที่ดีจนปีเตอร์ยกแว่นสั่งกองทัพโดรนให้
- เล่าที่มาที่ไปของมิสเทริโอกับทีมงานผู้แค้นเคืองโทนี่ สตาร์ค
เรียกว่าองค์ประกอบกับเรื่องให้เล่าแบบสับขาหลอก มีมากจนกองเป็นภูเขา
แต่แค่ดูครั้งเดียวก็ซึมซับเหตุการณ์หมดแล้ว
ถ้าจะเค้นเอาข้อเสียของหนังออกมาให้ได้ คงเป็นเรื่องประเด็นการบลิปโดนเล่าผ่านบทสนทนาเรื่อยเปื่อยของตัวละครเสียส่วนใหญ่
แต่ตัวละครกลุ่มหลักที่หนังใช้เดินเรื่องต่างผ่านการบลิปมาหมด
พอคนเคยเจอแบบเดียวกันมาคุยกันเฉยๆ เราเลยไม่รู้สึกถึงผลกระทบของเหตุการณ์สะเทือนจักรวาลชัดเจนเท่าไหร่
ซึ่งในฐานะหนังที่ฉายต่อจาก Endgame ทันที
ผมมองว่าประเด็นนี้ควรแสดงให้เห็นผ่านบทสนทนาดราม่าสะเทือนอารมณ์สักฉากหน่อย
แต่เอาเข้าจริงลืมๆ มันไปก็ได้ไม่เสียหายหรอก
---สรุป--- Far From Home เล่าเรื่องของตัวเองโดยรักษาสมดุลของประเด็นต่างๆ ที่มีหลายอย่างเหลือเกิน ได้อย่างงดงาม แถมตอบโจทย์ด้านความบันเทิง
แม้หนังเปี่ยมด้วยการสับขาหลอก เหมาะสมกับการใช้ตัวร้ายผู้ถนัดโกหกและสร้างภาพลวงตา
ส่วนเหตุผลก็อย่างที่รู้กัน คือภาพยนตร์สไปเดอร์แมนถูกตีความใหม่แล้วนำเสนอแก่ผู้ชมติดกันแล้ว 3 เวอร์ชั่น (ถ้านับรวมหนังอนิเมชั่น Spider-Verse ด้วยก็มากถึง 4) ในช่วงเพียง 10 กว่าปี
เนื่องจากหากไม่ผลิตภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง, ลิขสิทธิ์สไปเดอร์แมนจะหลุดมือสตูดิโอโซนี่กลับสู่มาร์เวลโดยสมบูรณ์
องค์ประกอบที่สดใหม่ของไอ้แมงมุมแห่ง MCU ในหนังฉายเดี่ยวภาคแรกของเขา (Homecoming) หลักๆ ก็คือ การไม่เล่าเรื่องตอนปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ได้พลังกับสูญเสียลุงผู้เลี้ยงดู, ความเป็นหนังวัยรุ่นที่แสดงให้เห็นชีวิตวัยเรียนของเขาแบบเต็มๆ และการมี 'พี่เลี้ยง' อย่างไอร์ออนแมนให้คอยพึ่งพาอาศัย
แต่ในฐานะฮีโร่ผู้มีทั้งความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่งและพลังอันยิ่งใหญ่
การพึ่งพิงฮีโร่ผู้อื่นต่อไปเรื่อยๆ ย่อมมิใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด
ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาท้าทายปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ใน Spider-Man: Far From Home อย่างเต็มกำลัง
เพราะจากที่เขาเคยหาทางดิ้นรนพิสูจน์คุณค่าในตัวตนให้ไอร์ออนแมนยอมรับตอนภาค 1
ภาค 2 ปีเตอร์ทำตรงข้ามกัน คือพยายามจะใช้ชีวิตปกติของตัวเองต่อ แม้ภาระของผู้มีพรสรรค์จะเรียกร้องให้เขาพิสูจน์คุณค่าตัวเอง และยืดอกรับผิดชอบมันแค่ไหน
ซึ่งการที่เขาอยากส่งมอบความรับผิดชอบแก่คนอื่นนี่เอง ที่ทำให้ตกหลุมพรางวายร้ายจอมหลอกลวง และทำความผิดพลาดครั้งใหญ่สุดในหนังลงไป
โดยส่วนตัวมองว่าคนสร้างหนังอยากเล่นประเด็นนี้จึงหยิบ 'มิสเทริโอ' ที่ในการ์ตูนต้นฉบับเป็นตัวร้ายจอมมายามาใช้
แล้วค่อยพัฒนาบทอันเต็มไปด้วยการสับขาหลอกรัวๆ มาเสริม ให้สมกับที่เรียกใช้บริการนักสร้างภาพลวงตา
การสับขาหลอกมีอะไรบ้าง ? ตัวอย่างก็เช่น พล็อตลวงหลักๆ อย่างมิสเทริโอหลอกเรื่องหลายจักรวาล, เหตุการณ์ไม่คาดคิดในฉากแถมตอนจบสองอัน
ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายสิ่งในหนัง ที่ตอนแรกตัวละครบอกอย่างนึง ทว่าความจริงหรือผลลัพธ์กลับพลิกเป็นอีกอย่างนึงแทนอยู่เรื่อย เช่น
- นิค ฟิวรี่อนุญาตให้ปีเตอร์ทัศนศึกษาต่อ แต่ดันจัดทริปโรงเรียนเข้าพื้นที่ภารกิจปีเตอร์เพื่อบังคับเขาทำงานทางอ้อม
- ทีแรกเอ็มเจบอกว่าแอบตามปีเตอร์เพราะสงสัยเรื่องสไปเดอร์แมน แต่ความจริงมันเป็นเพราะเธอชอบเขา
- เน็ดปิ๊งสาวแล้วเริ่มคบกันอย่างหวานชื่น แต่กลับเลิกกันเร็วทันใจแบบไม่เห็นวี่แววก่อนหน้าสักนิด
- แฟลช ทอมป์สัน (คนที่ชอบแกล้งปีเตอร์) โพสต์คลิปโง่ๆ เพื่อให้คนชอบทุกวัน
แต่มันดันทำให้สไปเดอร์แมนหาเขาเจอยามคับขัน
- แฮปปี้เข้าใจว่าตัวเองกำลังแอบคบเป็นแฟนกับป้าเมย์ลับหลังปีเตอร์ แต่ปรากฏว่าเขาคิดไปเอง, ป้าเมย์ไม่ได้เห็นเขาเป็นแฟนอะไร
บรรดาตัวอย่างอันหยิบยกมาไล่เรียงยังแค่ที่นึกออกเท่านั้น (ความจริงมีเยอะกว่านี้)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น, มันกลับไม่สับสนเวลาดูเลยสักนิด ผิดวิสัยหนังที่ทำตัวลับลวงหลอกอีกหลายเรื่อง
ตัวอย่างที่นึกได้ก็เช่น ภาพยนตร์หักเหลี่ยมปล้น/แฟรนไชส์ Ocean's ซึ่งบางภาคตอนดูจบรอบเดียว แล้วไม่เข้าใจสักนิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น
กับหนังฮีโร่ ค.ศ. 2009 ที่ถูกลืมเรื่อง 'Push' ซึ่งมีตัวละครมองเห็นอนาคตได้สองคน และตอนท้ายต้องตัดสินกันว่าใครมองล่วงหน้าไกลกว่า
ดาโกต้า แฟนนิ่ง เคยแสดงนำร่วมกับ คริส อีแวนส์ ใน Push ก่อนอีแวนส์กลายเป็นกัปตันอเมริกาภายหลัง
ความเห็นส่วนตัวคือ หนังที่ทำตัวลับลวงหลอกตามการยกตัวอย่าง
ค่อนข้างจะพัง เพราะพยายามข้ามการเล่าเรื่องหลายอย่างไปไม่ให้คนดูเห็น
เลยต้องยัดประเด็นหลายอย่างนั่นเข้ามาอธิบายรวดเดียว ช่วงบทเฉลย
แล้วถ้าอธิบายไม่ดีพอ หรือจัดวางการเล่าเรื่องซับซ้อนเกินไป
การทำความเข้าใจและตามให้ทันจะยากเกินเหตุ
(แม้บางครั้งมันวางเรื่องไว้ดี ขนาดที่พอเข้าใจแล้วต้องร้องว้าวก็ตาม)
Far From Home คือหนังอันเป็นตัวอย่างชั้นดีเรื่องหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมแฟรนไชส์ภาพยนตร์ค่ายมาร์เวลครองตลาด
เพราะนอกจากการเล่าเรื่องตามสูตร, ฉากบู๊ตามสไตล์หนังฮีโร่ และการเชื่อมโยงองค์ประกอบ+เนื้อหากับหนังเรื่องอื่นในจักรวาลเดียวกัน ที่ยังคงทำได้ดีตามมาตรฐานค่ายมาร์เวล
Far From Home ยังเล่าเรื่องอันเปี่ยมด้วยคำโกหกและการหลอกลวงออกมาได้เข้าใจง่ายมาก
ทุกอย่างถูกเรียบเรียงมานำเสนอแบบไม่มั่วไม่สับสน แม้สับขาหลอกตั้งไม่รู้กี่เรื่องตามที่ยกตัวอย่างแล้ว
Far From Home ไม่สนใจจะเก็บงำความลับนานเกินไป เมื่อถึงจุดเฉลยได้ (มิสเทริโอหลอกเอาแว่นตามาสำเร็จ) ก็เฉลยทันที (ความจริงเฉลยตอนเอ็มเจบังเอิญเปิดเครื่องฉายภาพตอนคุยกับปีเตอร์ได้) จึงลดปัญหาด้านความสับสนยามเฉลยลงสำเร็จ
เรื่องสับขาหลอกเล็กๆ น้อยๆ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแฮปปี้กับป้าเมย์) ก็บอกเล่าตรงๆ ผ่านบทพูดของตัวละครอย่างเป็นธรรมชาติ
โดยไม่เล่าผ่านภาพการกระทำของตัวละคร แล้วให้คนดูนั่งจับสังเกตหรือตีความเอาเอง แบบหนังแนวหลอกลวงหรือมีสารแอบแฝงเรื่องอื่น
เท่านั้นไม่พอ, อย่าลืมว่าหนังมีประเด็นต้องบอกเล่ามากแค่ไหน
- Far From Home ปูทางให้ปีเตอร์ก้าวออกจากเงาของไอร์ออนแมน กลายเป็นสไปเดอร์แมนเต็มภาคภูมิ
- พากลุ่มตัวละครออกเดินทางไปทั่วยุโรป ซึ่งเวลาเล่าเรื่องก็ต้องมาคอยเช็คตลอดว่าพวกเขาอยู่ไหน ไม่ง่ายเหมือนเดินเรื่องในเมืองนิวยอร์คเมืองเดียวแบบหนังไอ้แมงมุมที่ผ่านๆ มา
- จับประเด็นเกี่ยวกับการบลิป (The Blip) ของพวกตัวละครที่คืนชีพหลังผ่านเหตุการณ์ลบคนครึ่งจักรวาล มาเล่นนิดหน่อย
- ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็มเจกับปีเตอร์คืบหน้า จากที่ทำท่าจะปิ๊งกันตอนจบภาคก่อน ตอนนี้กลายเป็นคู่รักกัน
- ปูทางความสัมพันธ์ระหว่างสไปเดอร์แมนกับมิสเทริโอ ในฐานะพันธมิตรที่ดีจนปีเตอร์ยกแว่นสั่งกองทัพโดรนให้
- เล่าที่มาที่ไปของมิสเทริโอกับทีมงานผู้แค้นเคืองโทนี่ สตาร์ค
เรียกว่าองค์ประกอบกับเรื่องให้เล่าแบบสับขาหลอก มีมากจนกองเป็นภูเขา
แต่แค่ดูครั้งเดียวก็ซึมซับเหตุการณ์หมดแล้ว
ถ้าจะเค้นเอาข้อเสียของหนังออกมาให้ได้ คงเป็นเรื่องประเด็นการบลิปโดนเล่าผ่านบทสนทนาเรื่อยเปื่อยของตัวละครเสียส่วนใหญ่
แต่ตัวละครกลุ่มหลักที่หนังใช้เดินเรื่องต่างผ่านการบลิปมาหมด
พอคนเคยเจอแบบเดียวกันมาคุยกันเฉยๆ เราเลยไม่รู้สึกถึงผลกระทบของเหตุการณ์สะเทือนจักรวาลชัดเจนเท่าไหร่
ซึ่งในฐานะหนังที่ฉายต่อจาก Endgame ทันที
ผมมองว่าประเด็นนี้ควรแสดงให้เห็นผ่านบทสนทนาดราม่าสะเทือนอารมณ์สักฉากหน่อย
แต่เอาเข้าจริงลืมๆ มันไปก็ได้ไม่เสียหายหรอก
---สรุป--- Far From Home เล่าเรื่องของตัวเองโดยรักษาสมดุลของประเด็นต่างๆ ที่มีหลายอย่างเหลือเกิน ได้อย่างงดงาม แถมตอบโจทย์ด้านความบันเทิง
แม้หนังเปี่ยมด้วยการสับขาหลอก เหมาะสมกับการใช้ตัวร้ายผู้ถนัดโกหกและสร้างภาพลวงตา
COMMENTS