เอเลี่ยนปรสิตรูปร่างคล้ายของเหลว ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของตนได้หลากหลาย และยกระดับประสิทธิภาพร่างกาย+รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ถูกสิงส...
เอเลี่ยนปรสิตรูปร่างคล้ายของเหลว ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของตนได้หลากหลาย และยกระดับประสิทธิภาพร่างกาย+รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ถูกสิงสู่ได้ "Venom-เวน่อม" คือตัวละครยอดนิยมจากคอมิคสไปเดอร์แมนที่เคยมีโอกาสปรากฏตัวบนโรงภาพยนตร์มาก่อนในภาพยนตร์เรื่อง Spider-Man 3 ของผู้กำกับแซม ไรมี่ (2007)
แต่เมื่อมีวายร้ายหลักรวมตัวพร้อมหน้ามากถึง 3 คน แล้วใช้วิธีกระจายบท, พยายามแบ่งปันความโดดเด่นให้แต่ละคนเท่าๆ กันในหนังเรื่องเดียว ผลลัพธ์จึงออกมาไม่สวยนัก
Spider-Man 3 ดึงเสน่ห์ของตัวละครเวน่อมออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
เวลาล่วงเลยผ่านประมาณ 10 ปี แม้ค่ายหนังโซนี่ที่ยังครองสิทธิ์สร้างภาพยนตร์จากเหล่าตัวละครในคอมิคสไปเดอร์แมน
ยอมปล่อยสไปเดอร์แมนไปร่วมวงกับค่ายหนังมาร์เวลที่ปัจจุบันกำลังมาแรง
แต่พวกเขาก็อยากก่อร่างสร้างจักรวาลภาพยนตร์ของตัวเอง
โดยใช้วิธีสร้างหนังหลายเรื่อง ซึ่งใช้หลายๆ ตัวละครจากคอมิคสไปเดอร์แมนมาสร้างเรื่องราว
เวน่อมเลยมีโอกาสฉายเดี่ยวกับเขาเป็นครั้งแรก
ถึงหนังจะยังขาดตกบกพร่องด้านความสมบูรณ์ในการเล่าเรื่องอยู่บ้าง
แต่ต้องยอมรับว่าคราวนี้เวน่อมถูกนำเสนออย่างเหมาะสม และฉายแสงเจิดจรัส สมราคาตัวละครยอดนิยมในหมู่แฟนคลับต่างประเทศ ไม่เหมือนกับคราว Spider-Man 3
ช่วงแรกของภาพยนตร์ Venom เสียเวลาปูพื้นฐานหลายอย่างให้คนดูรับรู้ ไม่ว่าจะเรื่องเกี่ยวกับปรสิตต่างดาว หรือบริษัทไลฟ์ฟาวเดชั่น (Life Foundation)
แต่เน้นหนักที่พื้นฐานทัศนคติ, นิสัย และวิถีชีวิตของ "เอ็ดดี้ บร็อค" พระเอกนักข่าวสายเจาะประเด็น
ผู้ทำตัวหัวแข็งจนชีวิตพัง ต้องเลิกรากับ "แอนน์" คู่หมั้น เพราะริอ่านลองดีกับ 'คาร์ลตัน เดรค' เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่
หนังเสียเวลาปูพื้นฐานเรื่องราวให้แน่นตั้งแต่ช่วงแรกมากพอดู ถึงขนาดใส่บทปรสิตตัวร้าย 'Riot-ไรออท' เตร็ดเตร่เดินเล่นเปลี่ยนร่างสิงสู่ สลับอาละวาดฆ่าคนรายทางเรื่อยๆ แทรกไว้โดยไม่มีผลอะไรกับเนื้อเรื่องหลักอยู่นานสองนาน
ซึ่งถือเป็นเรื่องดี เพราะคนดูมีโอกาสเห็นฉากโชว์ฟอร์มของปรสิตต่างดาวแก้เซ็งเป็นระยะตอนปูเรื่อง
พอพ้นช่วงปูทาง จัดวางองค์ประกอบเรียบร้อย หนังก็พาเอ็ดดี้ไปเจอเวน่อม และแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอ็ดดี้หลังเวน่อมเข้าสิงสู่
'ทอม ฮาร์ดี้' ผู้รับบทเอ็ดดี้แสดงได้ดีทีเดียว เขาเปลี่ยนจากบุรุษชีวิตพังธรรมดาเป็นคนโดนของ, อารมณ์เหมือนผีเข้า คุยกับเสียงในหัวตัวเองบ้าง, ชักดิ้นชักงอบ้าง, จับกุ้งดิบๆ+คุ้ยอาหารในถังขยะมากินบ้าง สภาพไม่ต่างอะไรจากคนวิกลจริต (ก่อนจะค่อยๆ รู้ตัวว่าป่วยไข้เพราะโดนสิงสู่)
รวมๆ กันหนังน่าจะใช้เวลากว่าครึ่งเรื่องเพื่อวางองค์ประกอบ, จัดระเบียบความสัมพันธ์ตัวละคร, สร้างอารมณ์ความหลอน
(ไรออทฆ่าคนรายทาง, คนโดนปรสิตสิงตายเกือบหมด, ก่อนโดนสิงหวาดกลัวหนัก, ตอนปรสิตเข้าร่างต่างดิ้นทุรนทุรายสยดสยอง, เอ็ดดี้ช่วงปรับตัวก็แอบหลอนเบาๆ)
จากนั้นการเร่งเครื่องใส่เกียร์เดินหน้าเต็มพิกัดจึงเริ่มต้น
เอ็ดดี้+เวน่อมผ่านเหตุการณ์และการต่อสู้หลายครั้งเรียงๆ กัน โดยมีจังหวะหยุดพักเล่าเรื่องเท่าที่จำเป็น
ความหลอนหายไป หันมาเน้นโชว์ฟอร์มเวน่อมต่อสู้ กับค่อยๆ เพิ่มความสนิทสนมระหว่างเวน่อมกับเอ็ดดี้
ฉุดดึงคนดูสู่บทสรุปที่เวน่อมทำตัวแบบแอนตี้ฮีโร่ ขัดขวางแผนร้ายของไรออทด้วยเหตุผลส่วนตัว และสร้างข้อตกลงร่วมกัน ปรับตัวใช้ชีวิตอยู่บนโลกร่วมกับเอ็ดดี้ต่อไปในตอนจบ
ครึ่งหลังที่ใส่เกียร์เดินหน้าลูกเดียวนี่แหละบกพร่องด้านการเล่าเรื่อง จู่ๆ การอธิบายความ ชักจูงให้คนดูรู้สึกแบบเดียวกับตัวละคร หรือเข้าใจเหตุผลการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ของพวกเขาลดฮวบลงแบบน่าตระหนก
ตัวอย่างเด่นชัดสุดที่ขอหยิบยกมากล่าวถึงคือการเปลี่ยนใจเข้าปะทะไรออท ช่วยเอ็ดดี้กู้โลกของเวน่อม
เพราะหนังเล่าว่าเวน่อมเกือบฆ่าเอ็ดดี้แล้วก่อนถูกแยกตัวออกมาชั่วคราว
ผ่านไปแป๊บๆ ไปสิงหมา สิงแอนน์ กลับร่างเอ็ดดี้ไม่ทันไร กลับใจจะช่วยปกป้องโลก โดยบอกเหตุผลแค่ไม่กี่ประโยคซะงั้น...
แลดูรีบร้อนเดินเรื่องไว ยัดเยียดความเป็นฮีโร่ให้เวน่อม เพราะกลัวหนังน่าเบื่อ
จุดนี้ควรทำให้คนดูรู้สึกถึงความลำบากที่เวน่อมต้องเผชิญยามหาร่างสิงดีๆ แบบเอ็ดดี้ไม่ได้ เช่น ถูกขังนานกว่านั้น, ติดอยู่กับร่างหมาน้อยสักพัก
หรือสนทนาพาทีกับแอนน์แฟนเก่าเอ็ดดี้ แล้วฉุกคิดอะไรได้
ไม่ใช่ผ่านสถานการณ์มาไวๆ มันไม่อินกับการเปลี่ยนใจตรงนี้
อีกวิธีที่น่าจะเล่าเรื่องได้เข้าท่ากว่า คืออย่าก่อดราม่าแยกเวน่อมจากเอ็ดดี้แต่แรก
ให้เอ็ดดี้กล่อมเวน่อมจนฉุกคิดอะไรขึ้นมาแทนจะดีกว่า
ดูทางผู้สร้างพยายามแถให้เวน่อมถูกแยกจากเอ็ดดี้เพื่อก่อสถานการณ์คับขันชั่วคราว
กับเอาใจแฟนๆ ด้วยการให้แอนน์มีโอกาสรวมร่างกับเวน่อมเหมือนในคอมิคมากเกินเหตุ
คงเพราะความบกพร่องด้านการเล่าเรื่องที่ยากจะมองข้ามกระมัง ?
Venom จึงมีเสียงตอบรับจากเหล่านักวิจารณ์ต่างประเทศค่อนข้างแย่
แต่การเดินเครื่องเร่งเรื่องไวช่วงครึ่งหลัง มันทำให้หนังดูสนุกเพลิดเพลินจำเริญใจไม่ใช่น้อย
ประเด็นสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือความสยองของหนัง
อย่างที่บอกว่าหลายฉากหลายตอนแสดงความหลอนเบาๆ
ซึ่งส่วนตัวมองว่าผู้กำกับรูเบน เฟลชเชอร์และทีมงานต้องการให้หนังรุนแรงสยองขวัญแบบเรตอาร์ 18+ เพราะเวน่อมมีวิธีสู้ค่อนข้างโหด แถมกินคน(ชั่ว)เป็นอาหาร
แต่โซนี่ค่ายหนังต้นสังกัด ต้องการปรับให้หนังไม่รุนแรงเกินเรต PG-13 ตามสไตล์หนังฮีโร่ทั่วไป
หลายคนคงเสียดาย ต้องการความโหดจัดเต็มแบบสุดซอย แต่เรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับค่ายหนัง
ผมมองว่าการที่หนังไม่รุนแรงเท่าไหร่นักมันช่วยให้ Venom ประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างที่เป็น
ผมไม่ได้เห็นด้วยเพราะหนังจับกลุ่มผู้ชมได้หลายวัยกว่า
Venom เหมาะกับเรต PG-13 เนื่องจากครึ่งหลังของหนังต้องเปลี่ยนเวน่อมให้ลดความโหด และทำตัวแบบแอนตี้ฮีโร่ (เน้นทำตามใจตัวเอง ไม่ได้สนใจทำความดีจริงจัง แต่ผลลัพธ์ออกมาดี)
ถ้าทำตัวซีเรียสโหดเหี้ยมมาตลอดทาง แล้วกลับลำแบบงงๆ มันจะขัดความรู้สึกหนัก
เวน่อมที่ดูโหด ดูร้ายกาจครึ่งๆ กลางๆ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเรื่องมากกว่า
และถ้าหนังไม่ได้มีทิศทางของเรื่องราวที่จำเป็นต้องทำให้มันรุนแรงระดับ 18+ อย่างเช่น เล่นมุกตลกร้ายแสบๆ คันๆ เหมือนในหนัง Deadpool หรือสัมผัสได้ถึงความตายที่คืบคลานเข้าหาตัวละครแบบ Predator ภาคเก่าๆ
แค่ผลักดันความรุนแรงไปสุดขอบเขตเรต PG-13 มันน่าจะเพียงพอแล้ว
(ความจริงถ้า The Predator จะเปลี่ยนเป็นหนังบู๊ปนตลกอย่างที่ทำลงไป เพื่อหวังทำเงินรายได้งามๆ น่าจะทำให้หลอนนิดๆ กำลังดีแบบ Venom นี่แหละ
The Predator เรตอาร์ที่ไม่หลอนอะไร มันไร้ประโยชน์)
สรุป แม้ยังมีปัญหาด้านการนำเสนอ แต่ Venom คือหนังแอนตี้ฮีโร่ดูสนุกสุดเพลิดเพลินเรื่องหนึ่ง และความหลอนพอประมาณก็ทำให้-> คนดูชอบเยอะ-> หนังทำรายได้งาม-> ค่ายหนังเบิกบานสำราญใจ-> เราจึงมีโอกาสได้ดูภาคต่อ
แต่เมื่อมีวายร้ายหลักรวมตัวพร้อมหน้ามากถึง 3 คน แล้วใช้วิธีกระจายบท, พยายามแบ่งปันความโดดเด่นให้แต่ละคนเท่าๆ กันในหนังเรื่องเดียว ผลลัพธ์จึงออกมาไม่สวยนัก
Spider-Man 3 ดึงเสน่ห์ของตัวละครเวน่อมออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
เวลาล่วงเลยผ่านประมาณ 10 ปี แม้ค่ายหนังโซนี่ที่ยังครองสิทธิ์สร้างภาพยนตร์จากเหล่าตัวละครในคอมิคสไปเดอร์แมน
ยอมปล่อยสไปเดอร์แมนไปร่วมวงกับค่ายหนังมาร์เวลที่ปัจจุบันกำลังมาแรง
แต่พวกเขาก็อยากก่อร่างสร้างจักรวาลภาพยนตร์ของตัวเอง
โดยใช้วิธีสร้างหนังหลายเรื่อง ซึ่งใช้หลายๆ ตัวละครจากคอมิคสไปเดอร์แมนมาสร้างเรื่องราว
เวน่อมเลยมีโอกาสฉายเดี่ยวกับเขาเป็นครั้งแรก
ถึงหนังจะยังขาดตกบกพร่องด้านความสมบูรณ์ในการเล่าเรื่องอยู่บ้าง
แต่ต้องยอมรับว่าคราวนี้เวน่อมถูกนำเสนออย่างเหมาะสม และฉายแสงเจิดจรัส สมราคาตัวละครยอดนิยมในหมู่แฟนคลับต่างประเทศ ไม่เหมือนกับคราว Spider-Man 3
ช่วงแรกของภาพยนตร์ Venom เสียเวลาปูพื้นฐานหลายอย่างให้คนดูรับรู้ ไม่ว่าจะเรื่องเกี่ยวกับปรสิตต่างดาว หรือบริษัทไลฟ์ฟาวเดชั่น (Life Foundation)
แต่เน้นหนักที่พื้นฐานทัศนคติ, นิสัย และวิถีชีวิตของ "เอ็ดดี้ บร็อค" พระเอกนักข่าวสายเจาะประเด็น
ผู้ทำตัวหัวแข็งจนชีวิตพัง ต้องเลิกรากับ "แอนน์" คู่หมั้น เพราะริอ่านลองดีกับ 'คาร์ลตัน เดรค' เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่
หนังเสียเวลาปูพื้นฐานเรื่องราวให้แน่นตั้งแต่ช่วงแรกมากพอดู ถึงขนาดใส่บทปรสิตตัวร้าย 'Riot-ไรออท' เตร็ดเตร่เดินเล่นเปลี่ยนร่างสิงสู่ สลับอาละวาดฆ่าคนรายทางเรื่อยๆ แทรกไว้โดยไม่มีผลอะไรกับเนื้อเรื่องหลักอยู่นานสองนาน
ซึ่งถือเป็นเรื่องดี เพราะคนดูมีโอกาสเห็นฉากโชว์ฟอร์มของปรสิตต่างดาวแก้เซ็งเป็นระยะตอนปูเรื่อง
พอพ้นช่วงปูทาง จัดวางองค์ประกอบเรียบร้อย หนังก็พาเอ็ดดี้ไปเจอเวน่อม และแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอ็ดดี้หลังเวน่อมเข้าสิงสู่
'ทอม ฮาร์ดี้' ผู้รับบทเอ็ดดี้แสดงได้ดีทีเดียว เขาเปลี่ยนจากบุรุษชีวิตพังธรรมดาเป็นคนโดนของ, อารมณ์เหมือนผีเข้า คุยกับเสียงในหัวตัวเองบ้าง, ชักดิ้นชักงอบ้าง, จับกุ้งดิบๆ+คุ้ยอาหารในถังขยะมากินบ้าง สภาพไม่ต่างอะไรจากคนวิกลจริต (ก่อนจะค่อยๆ รู้ตัวว่าป่วยไข้เพราะโดนสิงสู่)
รวมๆ กันหนังน่าจะใช้เวลากว่าครึ่งเรื่องเพื่อวางองค์ประกอบ, จัดระเบียบความสัมพันธ์ตัวละคร, สร้างอารมณ์ความหลอน
(ไรออทฆ่าคนรายทาง, คนโดนปรสิตสิงตายเกือบหมด, ก่อนโดนสิงหวาดกลัวหนัก, ตอนปรสิตเข้าร่างต่างดิ้นทุรนทุรายสยดสยอง, เอ็ดดี้ช่วงปรับตัวก็แอบหลอนเบาๆ)
จากนั้นการเร่งเครื่องใส่เกียร์เดินหน้าเต็มพิกัดจึงเริ่มต้น
เอ็ดดี้+เวน่อมผ่านเหตุการณ์และการต่อสู้หลายครั้งเรียงๆ กัน โดยมีจังหวะหยุดพักเล่าเรื่องเท่าที่จำเป็น
ความหลอนหายไป หันมาเน้นโชว์ฟอร์มเวน่อมต่อสู้ กับค่อยๆ เพิ่มความสนิทสนมระหว่างเวน่อมกับเอ็ดดี้
ฉุดดึงคนดูสู่บทสรุปที่เวน่อมทำตัวแบบแอนตี้ฮีโร่ ขัดขวางแผนร้ายของไรออทด้วยเหตุผลส่วนตัว และสร้างข้อตกลงร่วมกัน ปรับตัวใช้ชีวิตอยู่บนโลกร่วมกับเอ็ดดี้ต่อไปในตอนจบ
ครึ่งหลังที่ใส่เกียร์เดินหน้าลูกเดียวนี่แหละบกพร่องด้านการเล่าเรื่อง จู่ๆ การอธิบายความ ชักจูงให้คนดูรู้สึกแบบเดียวกับตัวละคร หรือเข้าใจเหตุผลการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ของพวกเขาลดฮวบลงแบบน่าตระหนก
ตัวอย่างเด่นชัดสุดที่ขอหยิบยกมากล่าวถึงคือการเปลี่ยนใจเข้าปะทะไรออท ช่วยเอ็ดดี้กู้โลกของเวน่อม
เพราะหนังเล่าว่าเวน่อมเกือบฆ่าเอ็ดดี้แล้วก่อนถูกแยกตัวออกมาชั่วคราว
ผ่านไปแป๊บๆ ไปสิงหมา สิงแอนน์ กลับร่างเอ็ดดี้ไม่ทันไร กลับใจจะช่วยปกป้องโลก โดยบอกเหตุผลแค่ไม่กี่ประโยคซะงั้น...
แลดูรีบร้อนเดินเรื่องไว ยัดเยียดความเป็นฮีโร่ให้เวน่อม เพราะกลัวหนังน่าเบื่อ
จุดนี้ควรทำให้คนดูรู้สึกถึงความลำบากที่เวน่อมต้องเผชิญยามหาร่างสิงดีๆ แบบเอ็ดดี้ไม่ได้ เช่น ถูกขังนานกว่านั้น, ติดอยู่กับร่างหมาน้อยสักพัก
หรือสนทนาพาทีกับแอนน์แฟนเก่าเอ็ดดี้ แล้วฉุกคิดอะไรได้
ไม่ใช่ผ่านสถานการณ์มาไวๆ มันไม่อินกับการเปลี่ยนใจตรงนี้
อีกวิธีที่น่าจะเล่าเรื่องได้เข้าท่ากว่า คืออย่าก่อดราม่าแยกเวน่อมจากเอ็ดดี้แต่แรก
ให้เอ็ดดี้กล่อมเวน่อมจนฉุกคิดอะไรขึ้นมาแทนจะดีกว่า
ดูทางผู้สร้างพยายามแถให้เวน่อมถูกแยกจากเอ็ดดี้เพื่อก่อสถานการณ์คับขันชั่วคราว
กับเอาใจแฟนๆ ด้วยการให้แอนน์มีโอกาสรวมร่างกับเวน่อมเหมือนในคอมิคมากเกินเหตุ
คงเพราะความบกพร่องด้านการเล่าเรื่องที่ยากจะมองข้ามกระมัง ?
Venom จึงมีเสียงตอบรับจากเหล่านักวิจารณ์ต่างประเทศค่อนข้างแย่
แต่การเดินเครื่องเร่งเรื่องไวช่วงครึ่งหลัง มันทำให้หนังดูสนุกเพลิดเพลินจำเริญใจไม่ใช่น้อย
ประเด็นสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือความสยองของหนัง
อย่างที่บอกว่าหลายฉากหลายตอนแสดงความหลอนเบาๆ
ซึ่งส่วนตัวมองว่าผู้กำกับรูเบน เฟลชเชอร์และทีมงานต้องการให้หนังรุนแรงสยองขวัญแบบเรตอาร์ 18+ เพราะเวน่อมมีวิธีสู้ค่อนข้างโหด แถมกินคน(ชั่ว)เป็นอาหาร
แต่โซนี่ค่ายหนังต้นสังกัด ต้องการปรับให้หนังไม่รุนแรงเกินเรต PG-13 ตามสไตล์หนังฮีโร่ทั่วไป
หลายคนคงเสียดาย ต้องการความโหดจัดเต็มแบบสุดซอย แต่เรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับค่ายหนัง
ผมมองว่าการที่หนังไม่รุนแรงเท่าไหร่นักมันช่วยให้ Venom ประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างที่เป็น
ผมไม่ได้เห็นด้วยเพราะหนังจับกลุ่มผู้ชมได้หลายวัยกว่า
Venom เหมาะกับเรต PG-13 เนื่องจากครึ่งหลังของหนังต้องเปลี่ยนเวน่อมให้ลดความโหด และทำตัวแบบแอนตี้ฮีโร่ (เน้นทำตามใจตัวเอง ไม่ได้สนใจทำความดีจริงจัง แต่ผลลัพธ์ออกมาดี)
ถ้าทำตัวซีเรียสโหดเหี้ยมมาตลอดทาง แล้วกลับลำแบบงงๆ มันจะขัดความรู้สึกหนัก
เวน่อมที่ดูโหด ดูร้ายกาจครึ่งๆ กลางๆ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเรื่องมากกว่า
และถ้าหนังไม่ได้มีทิศทางของเรื่องราวที่จำเป็นต้องทำให้มันรุนแรงระดับ 18+ อย่างเช่น เล่นมุกตลกร้ายแสบๆ คันๆ เหมือนในหนัง Deadpool หรือสัมผัสได้ถึงความตายที่คืบคลานเข้าหาตัวละครแบบ Predator ภาคเก่าๆ
แค่ผลักดันความรุนแรงไปสุดขอบเขตเรต PG-13 มันน่าจะเพียงพอแล้ว
(ความจริงถ้า The Predator จะเปลี่ยนเป็นหนังบู๊ปนตลกอย่างที่ทำลงไป เพื่อหวังทำเงินรายได้งามๆ น่าจะทำให้หลอนนิดๆ กำลังดีแบบ Venom นี่แหละ
The Predator เรตอาร์ที่ไม่หลอนอะไร มันไร้ประโยชน์)
สรุป แม้ยังมีปัญหาด้านการนำเสนอ แต่ Venom คือหนังแอนตี้ฮีโร่ดูสนุกสุดเพลิดเพลินเรื่องหนึ่ง และความหลอนพอประมาณก็ทำให้-> คนดูชอบเยอะ-> หนังทำรายได้งาม-> ค่ายหนังเบิกบานสำราญใจ-> เราจึงมีโอกาสได้ดูภาคต่อ
COMMENTS