ก่อนอื่นควรกล่าวถึงแนวทางภาพยนตร์ซึ่งผู้กำกับจูราสสิค เวิลด์ภาค 1 และกลายเป็นผู้ควบคุมทิศทางแฟรนไชส์ต่อมา 'คอลิน เทรวอโรว์' เขาวางไว...
ก่อนอื่นควรกล่าวถึงแนวทางภาพยนตร์ซึ่งผู้กำกับจูราสสิค เวิลด์ภาค 1 และกลายเป็นผู้ควบคุมทิศทางแฟรนไชส์ต่อมา 'คอลิน เทรวอโรว์' เขาวางไว้ จูราสสิคเวิลด์ภาคนี้คือภาพยนตร์แนวลึกลับสยองขวัญ (horror suspense)
อย่างไรก็ตาม หนังลงเอยด้วยการลึกลับลวงหลอกสำหรับตัวละครเท่านั้น เพราะไม่ใช่มีปริศนาซับซ้อนให้ไขความลับอะไร(ตัวอย่างสปอยล์หมดละ) ในมุมมองคนดูจะไปโดดเด่นด้านความสยองขวัญเอาชีวิตรอดจากคมเขี้ยวไดโนเสาร์มากกว่า
โครงเรื่องโดยรวมจูราสสิค เวิลด์ 1 เอาของจูราสสิค พาร์ค 1 มาใช้ คือ การเปิดสวนสนุกไดโนเสาร์ แล้วมนุษย์เห็นแก่ตัวบางคนเป็นต้นเหตุ ทำสวนสนุกล่มจม, ไดโนเสาร์ออกล่าคน
จูราสสิค เวิลด์ภาค 2 ก็เช่นกัน โครงเรื่องหนังคล้ายจูราสสิค พาร์คภาค 2 (The Lost World) ไดโนเสาร์ใช้ชีวิตตามยถากรรมบนเกาะโดดเดี่ยว, มนุษย์บุกเกาะไล่จับสัตว์โลกล้านปีเพื่อหาแสวงหาผลประโยชน์, สัตว์ที่ถูกคุมขังหลุดจากกรงบนแผ่นดินใหญ่นอกเกาะ อาละวาดเละเทะ
ถ้ามองเพียงภาพรวมหนังแค่กินบุญเก่า เอาของดีมาใช้ซ้ำทำใหม่ แถมเปิดเรื่องด้วยความใหญ่โต ไปไล่จับสัตว์ดึกดำบรรพ์บนเกาะกว้างๆ แต่หลังจากนั้นดันดำเนินเรื่องในสถานที่ปิดอย่างบนเรือบรรทุกไดโนเสาร์กับคฤหาสน์ จะเรียกว่าหนังทรยศความคาดหวังหลายๆ คนคงได้กระมัง ?
ทว่าพอมองลึกลงไปในรายละเอียดดูสักหน่อย ผมอยากบอกว่า Jurassic World: Fallen Kingdom นั้นพาผู้ชมไปยังจุด พบกันครึ่งทางอย่างลงตัวระหว่างยุคเก่าและใหม่ของแฟรนไชส์
ผมตีความในทางชื่นชมดังนี้ เพราะหนังไม่ได้เดินเรื่องส่วนใหญ่บนเกาะ ก่อนจัดฉากไดโนเสาร์คลั่งทำลายเมืองเพื่อความใหญ่โตเหมือน The Lost World
หนังกลับเดินเรื่องบนเกาะให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วเดินเรื่องในคฤหาสน์เป็นหลัก ก่อนปล่อยสัตว์ไล่ล่าคนบนคฤหาสน์แบบหนังสยองขวัญในพื้นที่ปิดตาย
การเล่าเนื้อหาด้านคฤหาสน์หลังจับสัตว์เยอะๆ คือการสานต่อประเด็นนำไดโนเสาร์ไปใช้ประโยชน์จากจูราสสิค เวิลด์ 1 จริงจัง
มันเปิดประเด็นเพิ่มเยอะเลยนะ เช่น ใช้ประโยชน์ไดโนเสาร์ด้านการเกษตร, อุตสาหกรรม, ล่าสัตว์ หรือแม้กระทั่งเป็นสัตว์เลี้ยง
แถมปล่อยพวกไดโนเสาร์ใช้ชีวิตตามใจชอบบนแผ่นดินใหญ่ แทรกแซงวัฏจักรธรรมชาติกับวิถีชีวิตมนุษย์ตอนท้ายเรื่องอีก เปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้านเนื้อหาขยายความเพียบ
การใช้โครงเรื่องเก่ามาวางประเด็น+ความเป็นไปได้ใหม่ๆ เต็มกำลัง ทำให้หนัง 'พบกันครึ่งทาง' ระหว่างการทิ้งเอกลักษณ์แฟรนไชส์ตัวเอง กับคงกลิ่นอายเดิม, คงการนำเสนอรูปแบบเก่าไว้
ตัวอย่างการทำลายภาพลักษณ์เก่าของแฟรนไชส์แรงๆ น่าจะเป็นสตาร์วอร์ส The Last Jedi กับ Pacific Rim: Uprising
ตัวอย่างการทู่ซี้เข็นหนังภาคใหม่ที่กลิ่นอายเดิมหึ่งจนคนเบื่อคงเป็น Transformers ของไมเคิล เบย์
หนังพวกนี้ถ้าไม่รายได้น้อยก็โดนกระแสแฟนคลับต่อต้านเสียอ่วม
จะสังเกตได้ว่าเมื่อหนังแฟรนไชส์คงรูปแบบเดิมไว้นาน หรือทิ้งภาพลักษณ์เก่าทันทีไม่ใช่เรื่องดีทั้งคู่ พยายามเดินทางสายกลาง, เปลี่ยนผ่านอย่างประนีประนอมแบบ Jurassic World: Fallen Kingdom ให้ผลลัพธ์ดีกว่า(วัดจากกระแสตอบรับหนัง ณ ตอนเขียนบทความ ซึ่งยังไม่ได้ฉายในประเทศอเมริกา-ตลาดทำเงินหลัก เพื่อหลบฟุตบอลโลก 2018)
ด้านการกำกับภาพยนตร์ 'เจ.เอ. บาโยนา' สร้างจังหวะตื่นเต้น, สร้างความลุ้นระทึก, หวาดกลัวได้พอเหมาะพอเจาะสำหรับหนังแนวนี้
บางคนอาจบ่นว่าไม่เห็นน่ากลัวสยองขวัญระทึกใจเหมือนดูหนังแนวสยองจริงๆ
หรือตื่นเต้นกับการไล่ล่าสังหารคนของไดโนเสาร์เหมือนสมัยสตีเวน สปีลเบิร์กทำจูราสสิค พาร์ค
อยากบอกว่านี่คือการ 'พบกันครึ่งทาง' อีกอย่างหนึ่งครับ
หนังไดโนเสาร์ที่ต้องการโกยเงินย่อมต้องการขายคนดูทุกเพศทุกวัย จัดเต็มความสยองถึงใจ เด็กกลัวหัวหดหลับตาตอนดูหนังครึ่งค่อนเรื่องจะดีรึ ? ยั้งๆ ไว้ระดับหลอนเบาๆ เข้าท่ากว่า
หนังมีฉากเล่นซ่อนแอบ, วิ่งหนีตาย และเอาตัวรอดแบบจวนเจียนอยู่ตลอด บางช่วงดึงจังหวะไม่ยอมปล่อยไดโนเสาร์โผล่ง่ายๆ เช่น ค่อยๆ ยื่นกรงเล็บเข้าหา หรือปล่อยเงาทาบทับฉาก แต่บางช่วงบางคราวดันปรากฏตัวด้วยการพรวดพราดกระโจนงับคน ชวนตกใจเล่นซะงั้น
การดึงจังหวะขยี้อารมณ์สร้างความหวาดเสียว ก่อนปล่อยไดโนเสาร์เข้าฉากชวนรำลึกถึงสมัยสตีเวน สปีลเบิร์กทำจูราสสิค พาร์ค
การใส่จังหวะบุกงาบคนฉับไวไม่ทันตั้งตัวชวนรำลึกถึงจูราสสิค เวิลด์ 1 ของคอลิน เทรวอโรว์
ส่วนตัวแล้ว ผมว่าการพบกันครึ่งทางของสไตล์ทั้งสองอย่างโดยเจ.เอ. บาโยนานั้น รวมตัวผสมกันออกมากลมกล่อมใช้ได้นะ
ด้านตัวละครกับนักแสดง พระเอกนางเอกไม่ต้องพูดถึง เล่นดีมีสเน่ห์ตั้งแต่ภาคก่อน แต่จุดประทับใจคือตัวละครสมทบวางบทไว้ดีและน่าจดจำ
อย่างกลุ่มคุ้มครองไดโนเสาร์เพื่อนนางเอกทั้งสองคนที่จำชื่อไม่ได้ กลับจำบทบาทตัวละครได้แม่น เพราะเล่นเข้ากับบทและมีช่วงเวลาน่าประทับใจเป็นของตัวเอง
หนุ่มเนิร์ดมีจังหวะโชว์เก๋าด้านเทคโนโลยีเรื่อยๆ ตามสไตล์ และค่อยๆ เสริมสร้างความกล้าผ่านการผจญภัยตลอดเรื่อง
คุณหมอสาวมีโอกาสโชว์ความกล้า เผชิญหน้านายพรานนิสัยเสียไม่เกรงกลัว และรักษาอาการบาดเจ็บเจ้าบลู-ไดโนเสาร์ตัวเด่นประจำเรื่อง
แต่ตัวละครสมทบซึ่งประทับใจสุดคือเด็กหญิงหลานสาวเศรษฐีตระกูลล็อควูด 'เมซี่' เพื่อจะชี้แจงเหตุผล ขอเกริ่นก่อนว่าหนังชุดนี้ใส่ตัวละครเด็กมาร่วมผจญภัยวิ่งหนีไดโนเสาร์ทุกภาค (คงเพราะต้องการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมแก่คนดูรุ่นเยาว์) โดยไม่ได้มีประเด็นด้านเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องจริงจังอะไร แค่แทรกประเด็นครอบครัวเสริมใส่ภาพยนตร์ เพิ่มความกลมกล่อม
ผมประทับใจเธอไม่ใช่เพราะนักแสดงเล่นได้น่ารักดีมีความน่าเอ็นดูเหนือกว่าเด็กคนอื่นในแฟรนไชส์จูราสสิค หลักๆ มันเนื่องมาจากเธอมีความเกี่ยวพันกับประเด็นหลักด้านศีลธรรม ที่ Jurassic World: Fallen Kingdom พยายามนำเสนอตั้งแต่ต้นยันจบเรื่อง
ต้นกำเนิดของเธอไม่ต่างอะไรกับบรรดาไดโนเสาร์ที่ใช้เทคโนโลยีมนุษย์สร้างขึ้น นำมาซึ่งการตัดสินใจปลดปล่อยไดโนเสาร์สู่โลกภายนอกเพื่อช่วยชีวิตพวกมันตอนท้ายเรื่อง(ทั้งที่เพิ่งโดนไล่กวดแทบตายมาหมาดๆ)
คงมีคนหงุดหงิดมากกว่าประทับอกประทับใจ แย้งว่าการตัดสินใจทำนองนั้นในชีวิตจริงงี่เง่าสิ้นคิดไม่เข้าท่า เผลอๆ ไม่ใช่แค่เสียอารมณ์กับหนูน้อยเมซี่หรอก เพราะการตัดสินใจหรือการกระทำไม่เข้าท่าตามแบบฉบับหนังแนวนี้เกิดหลายครั้ง เช่น เปิดกรงไดโนเสาร์เข้าไปแงะฟันมาสะสม(ไม่กลัวมันฟื้นมางับแขนบ้างเรอะ ?) หรือบุกงานประมูลยับยั้งไดโนเสาร์พันธ์ุผสมตัวใหม่มิให้ออกสู่โลกภายนอก(สุดท้ายฆ่าคนตายทางอ้อมเพียบ)
ทว่าเรื่องทำนองนี้สมควรพินิจพิจารณาตามครรลองของการนำเสนอ เพราะขืนตัวละครทำอะไรสมเหตุสมผลครบถ้วนกระบวนความเสมอ คงกลายเป็นหนังสารคดีชีวิตไดโนเสาร์สุดน่าเบื่อ, คนดูน้อย, รายได้ไม่งาม, ม้วนเสื่อกลับบ้าน, จบเรื่องกันไปตั้งแต่สมัยจูราสสิค พาร์คภาค 2
ผมคงไม่บอก 'หนังไดโนเสาร์ต้องดูเอามันส์ ใครสนเหตุผลกัน' นั่นอาจจะขาดความรับผิดชอบไปหน่อย อยากบอกว่าควรให้ความสำคัญกับการมองโลกมุมมองเดียวกับตัวละคร หรือเข้าใจนิสัยตัวละครมากกว่า
ตัวละครแต่ละคนถูกปูทางวางนิสัย, วางบุคลิกไว้ยังไง เวลาเผชิญหน้าเหตุการณ์อะไรควรแสดงออกแบบไหน ? แล้วตรงตามสิ่งที่ควรนำเสนอหรือไม่ ? นั่นต่างหากที่สำคัญ
เช่น นายพรานชอบสะสมฟันและไม่รู้จักนิสัยหรือพฤติกรรมอินโดแรปเตอร์ จึงประมาทเปิดกรง,
พระเอกรู้สึกต้องรับผิดชอบเรื่องการใช้ไดโนเสาร์เป็นอาวุธ เพราะเขาแสดงให้เห็นว่าพวกมันฝึกฝนได้ จึงป่วนงานประมูลโดยนึกไม่ถึงเรื่องอินโดแรปเตอร์จะหลุด(แม้คนดูเดาออกทันทีแต่ในมุมมองตัวละครเป็นเรื่องไม่คาดคิด)
หรือหนูน้อยเมซี่รับรู้ปมปัญหาชาติกำเนิดของตน จนเห็นอกเห็นใจเหล่าไดโนเสาร์ และปลดปล่อยพวกมันเพื่อเพิ่มความหนักแน่นในคุณค่าของชีวิต อันมิได้กำเนิดเกิดขึ้นตามวิถีแห่งธรรมชาติ
--สรุป-- Jurassic World: Fallen Kingdom ใช้รูปแบบการนำเสนอเก่าปูทางสู่เรื่องราวใหม่ๆ และนำเสนอความบันเทิงแก่ผู้ชมได้อย่างน่าประทับใจ สมศักดิ์ศรีหนังชุดไดโนเสาร์สุดโด่งดังครับ
อย่างไรก็ตาม หนังลงเอยด้วยการลึกลับลวงหลอกสำหรับตัวละครเท่านั้น เพราะไม่ใช่มีปริศนาซับซ้อนให้ไขความลับอะไร(ตัวอย่างสปอยล์หมดละ) ในมุมมองคนดูจะไปโดดเด่นด้านความสยองขวัญเอาชีวิตรอดจากคมเขี้ยวไดโนเสาร์มากกว่า
โครงเรื่องโดยรวมจูราสสิค เวิลด์ 1 เอาของจูราสสิค พาร์ค 1 มาใช้ คือ การเปิดสวนสนุกไดโนเสาร์ แล้วมนุษย์เห็นแก่ตัวบางคนเป็นต้นเหตุ ทำสวนสนุกล่มจม, ไดโนเสาร์ออกล่าคน
จูราสสิค เวิลด์ภาค 2 ก็เช่นกัน โครงเรื่องหนังคล้ายจูราสสิค พาร์คภาค 2 (The Lost World) ไดโนเสาร์ใช้ชีวิตตามยถากรรมบนเกาะโดดเดี่ยว, มนุษย์บุกเกาะไล่จับสัตว์โลกล้านปีเพื่อหาแสวงหาผลประโยชน์, สัตว์ที่ถูกคุมขังหลุดจากกรงบนแผ่นดินใหญ่นอกเกาะ อาละวาดเละเทะ
ถ้ามองเพียงภาพรวมหนังแค่กินบุญเก่า เอาของดีมาใช้ซ้ำทำใหม่ แถมเปิดเรื่องด้วยความใหญ่โต ไปไล่จับสัตว์ดึกดำบรรพ์บนเกาะกว้างๆ แต่หลังจากนั้นดันดำเนินเรื่องในสถานที่ปิดอย่างบนเรือบรรทุกไดโนเสาร์กับคฤหาสน์ จะเรียกว่าหนังทรยศความคาดหวังหลายๆ คนคงได้กระมัง ?
ทว่าพอมองลึกลงไปในรายละเอียดดูสักหน่อย ผมอยากบอกว่า Jurassic World: Fallen Kingdom นั้นพาผู้ชมไปยังจุด พบกันครึ่งทางอย่างลงตัวระหว่างยุคเก่าและใหม่ของแฟรนไชส์
ผมตีความในทางชื่นชมดังนี้ เพราะหนังไม่ได้เดินเรื่องส่วนใหญ่บนเกาะ ก่อนจัดฉากไดโนเสาร์คลั่งทำลายเมืองเพื่อความใหญ่โตเหมือน The Lost World
หนังกลับเดินเรื่องบนเกาะให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วเดินเรื่องในคฤหาสน์เป็นหลัก ก่อนปล่อยสัตว์ไล่ล่าคนบนคฤหาสน์แบบหนังสยองขวัญในพื้นที่ปิดตาย
การเล่าเนื้อหาด้านคฤหาสน์หลังจับสัตว์เยอะๆ คือการสานต่อประเด็นนำไดโนเสาร์ไปใช้ประโยชน์จากจูราสสิค เวิลด์ 1 จริงจัง
มันเปิดประเด็นเพิ่มเยอะเลยนะ เช่น ใช้ประโยชน์ไดโนเสาร์ด้านการเกษตร, อุตสาหกรรม, ล่าสัตว์ หรือแม้กระทั่งเป็นสัตว์เลี้ยง
แถมปล่อยพวกไดโนเสาร์ใช้ชีวิตตามใจชอบบนแผ่นดินใหญ่ แทรกแซงวัฏจักรธรรมชาติกับวิถีชีวิตมนุษย์ตอนท้ายเรื่องอีก เปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้านเนื้อหาขยายความเพียบ
การใช้โครงเรื่องเก่ามาวางประเด็น+ความเป็นไปได้ใหม่ๆ เต็มกำลัง ทำให้หนัง 'พบกันครึ่งทาง' ระหว่างการทิ้งเอกลักษณ์แฟรนไชส์ตัวเอง กับคงกลิ่นอายเดิม, คงการนำเสนอรูปแบบเก่าไว้
ตัวอย่างการทำลายภาพลักษณ์เก่าของแฟรนไชส์แรงๆ น่าจะเป็นสตาร์วอร์ส The Last Jedi กับ Pacific Rim: Uprising
ตัวอย่างการทู่ซี้เข็นหนังภาคใหม่ที่กลิ่นอายเดิมหึ่งจนคนเบื่อคงเป็น Transformers ของไมเคิล เบย์
หนังพวกนี้ถ้าไม่รายได้น้อยก็โดนกระแสแฟนคลับต่อต้านเสียอ่วม
จะสังเกตได้ว่าเมื่อหนังแฟรนไชส์คงรูปแบบเดิมไว้นาน หรือทิ้งภาพลักษณ์เก่าทันทีไม่ใช่เรื่องดีทั้งคู่ พยายามเดินทางสายกลาง, เปลี่ยนผ่านอย่างประนีประนอมแบบ Jurassic World: Fallen Kingdom ให้ผลลัพธ์ดีกว่า(วัดจากกระแสตอบรับหนัง ณ ตอนเขียนบทความ ซึ่งยังไม่ได้ฉายในประเทศอเมริกา-ตลาดทำเงินหลัก เพื่อหลบฟุตบอลโลก 2018)
ด้านการกำกับภาพยนตร์ 'เจ.เอ. บาโยนา' สร้างจังหวะตื่นเต้น, สร้างความลุ้นระทึก, หวาดกลัวได้พอเหมาะพอเจาะสำหรับหนังแนวนี้
บางคนอาจบ่นว่าไม่เห็นน่ากลัวสยองขวัญระทึกใจเหมือนดูหนังแนวสยองจริงๆ
หรือตื่นเต้นกับการไล่ล่าสังหารคนของไดโนเสาร์เหมือนสมัยสตีเวน สปีลเบิร์กทำจูราสสิค พาร์ค
อยากบอกว่านี่คือการ 'พบกันครึ่งทาง' อีกอย่างหนึ่งครับ
หนังไดโนเสาร์ที่ต้องการโกยเงินย่อมต้องการขายคนดูทุกเพศทุกวัย จัดเต็มความสยองถึงใจ เด็กกลัวหัวหดหลับตาตอนดูหนังครึ่งค่อนเรื่องจะดีรึ ? ยั้งๆ ไว้ระดับหลอนเบาๆ เข้าท่ากว่า
หนังมีฉากเล่นซ่อนแอบ, วิ่งหนีตาย และเอาตัวรอดแบบจวนเจียนอยู่ตลอด บางช่วงดึงจังหวะไม่ยอมปล่อยไดโนเสาร์โผล่ง่ายๆ เช่น ค่อยๆ ยื่นกรงเล็บเข้าหา หรือปล่อยเงาทาบทับฉาก แต่บางช่วงบางคราวดันปรากฏตัวด้วยการพรวดพราดกระโจนงับคน ชวนตกใจเล่นซะงั้น
การดึงจังหวะขยี้อารมณ์สร้างความหวาดเสียว ก่อนปล่อยไดโนเสาร์เข้าฉากชวนรำลึกถึงสมัยสตีเวน สปีลเบิร์กทำจูราสสิค พาร์ค
การใส่จังหวะบุกงาบคนฉับไวไม่ทันตั้งตัวชวนรำลึกถึงจูราสสิค เวิลด์ 1 ของคอลิน เทรวอโรว์
ส่วนตัวแล้ว ผมว่าการพบกันครึ่งทางของสไตล์ทั้งสองอย่างโดยเจ.เอ. บาโยนานั้น รวมตัวผสมกันออกมากลมกล่อมใช้ได้นะ
ด้านตัวละครกับนักแสดง พระเอกนางเอกไม่ต้องพูดถึง เล่นดีมีสเน่ห์ตั้งแต่ภาคก่อน แต่จุดประทับใจคือตัวละครสมทบวางบทไว้ดีและน่าจดจำ
อย่างกลุ่มคุ้มครองไดโนเสาร์เพื่อนนางเอกทั้งสองคนที่จำชื่อไม่ได้ กลับจำบทบาทตัวละครได้แม่น เพราะเล่นเข้ากับบทและมีช่วงเวลาน่าประทับใจเป็นของตัวเอง
หนุ่มเนิร์ดมีจังหวะโชว์เก๋าด้านเทคโนโลยีเรื่อยๆ ตามสไตล์ และค่อยๆ เสริมสร้างความกล้าผ่านการผจญภัยตลอดเรื่อง
คุณหมอสาวมีโอกาสโชว์ความกล้า เผชิญหน้านายพรานนิสัยเสียไม่เกรงกลัว และรักษาอาการบาดเจ็บเจ้าบลู-ไดโนเสาร์ตัวเด่นประจำเรื่อง
แต่ตัวละครสมทบซึ่งประทับใจสุดคือเด็กหญิงหลานสาวเศรษฐีตระกูลล็อควูด 'เมซี่' เพื่อจะชี้แจงเหตุผล ขอเกริ่นก่อนว่าหนังชุดนี้ใส่ตัวละครเด็กมาร่วมผจญภัยวิ่งหนีไดโนเสาร์ทุกภาค (คงเพราะต้องการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมแก่คนดูรุ่นเยาว์) โดยไม่ได้มีประเด็นด้านเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องจริงจังอะไร แค่แทรกประเด็นครอบครัวเสริมใส่ภาพยนตร์ เพิ่มความกลมกล่อม
ผมประทับใจเธอไม่ใช่เพราะนักแสดงเล่นได้น่ารักดีมีความน่าเอ็นดูเหนือกว่าเด็กคนอื่นในแฟรนไชส์จูราสสิค หลักๆ มันเนื่องมาจากเธอมีความเกี่ยวพันกับประเด็นหลักด้านศีลธรรม ที่ Jurassic World: Fallen Kingdom พยายามนำเสนอตั้งแต่ต้นยันจบเรื่อง
ต้นกำเนิดของเธอไม่ต่างอะไรกับบรรดาไดโนเสาร์ที่ใช้เทคโนโลยีมนุษย์สร้างขึ้น นำมาซึ่งการตัดสินใจปลดปล่อยไดโนเสาร์สู่โลกภายนอกเพื่อช่วยชีวิตพวกมันตอนท้ายเรื่อง(ทั้งที่เพิ่งโดนไล่กวดแทบตายมาหมาดๆ)
คงมีคนหงุดหงิดมากกว่าประทับอกประทับใจ แย้งว่าการตัดสินใจทำนองนั้นในชีวิตจริงงี่เง่าสิ้นคิดไม่เข้าท่า เผลอๆ ไม่ใช่แค่เสียอารมณ์กับหนูน้อยเมซี่หรอก เพราะการตัดสินใจหรือการกระทำไม่เข้าท่าตามแบบฉบับหนังแนวนี้เกิดหลายครั้ง เช่น เปิดกรงไดโนเสาร์เข้าไปแงะฟันมาสะสม(ไม่กลัวมันฟื้นมางับแขนบ้างเรอะ ?) หรือบุกงานประมูลยับยั้งไดโนเสาร์พันธ์ุผสมตัวใหม่มิให้ออกสู่โลกภายนอก(สุดท้ายฆ่าคนตายทางอ้อมเพียบ)
ทว่าเรื่องทำนองนี้สมควรพินิจพิจารณาตามครรลองของการนำเสนอ เพราะขืนตัวละครทำอะไรสมเหตุสมผลครบถ้วนกระบวนความเสมอ คงกลายเป็นหนังสารคดีชีวิตไดโนเสาร์สุดน่าเบื่อ, คนดูน้อย, รายได้ไม่งาม, ม้วนเสื่อกลับบ้าน, จบเรื่องกันไปตั้งแต่สมัยจูราสสิค พาร์คภาค 2
ผมคงไม่บอก 'หนังไดโนเสาร์ต้องดูเอามันส์ ใครสนเหตุผลกัน' นั่นอาจจะขาดความรับผิดชอบไปหน่อย อยากบอกว่าควรให้ความสำคัญกับการมองโลกมุมมองเดียวกับตัวละคร หรือเข้าใจนิสัยตัวละครมากกว่า
ตัวละครแต่ละคนถูกปูทางวางนิสัย, วางบุคลิกไว้ยังไง เวลาเผชิญหน้าเหตุการณ์อะไรควรแสดงออกแบบไหน ? แล้วตรงตามสิ่งที่ควรนำเสนอหรือไม่ ? นั่นต่างหากที่สำคัญ
เช่น นายพรานชอบสะสมฟันและไม่รู้จักนิสัยหรือพฤติกรรมอินโดแรปเตอร์ จึงประมาทเปิดกรง,
พระเอกรู้สึกต้องรับผิดชอบเรื่องการใช้ไดโนเสาร์เป็นอาวุธ เพราะเขาแสดงให้เห็นว่าพวกมันฝึกฝนได้ จึงป่วนงานประมูลโดยนึกไม่ถึงเรื่องอินโดแรปเตอร์จะหลุด(แม้คนดูเดาออกทันทีแต่ในมุมมองตัวละครเป็นเรื่องไม่คาดคิด)
หรือหนูน้อยเมซี่รับรู้ปมปัญหาชาติกำเนิดของตน จนเห็นอกเห็นใจเหล่าไดโนเสาร์ และปลดปล่อยพวกมันเพื่อเพิ่มความหนักแน่นในคุณค่าของชีวิต อันมิได้กำเนิดเกิดขึ้นตามวิถีแห่งธรรมชาติ
--สรุป-- Jurassic World: Fallen Kingdom ใช้รูปแบบการนำเสนอเก่าปูทางสู่เรื่องราวใหม่ๆ และนำเสนอความบันเทิงแก่ผู้ชมได้อย่างน่าประทับใจ สมศักดิ์ศรีหนังชุดไดโนเสาร์สุดโด่งดังครับ
COMMENTS