คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลานี้ภาพยนตร์แบล็คแพนเธอร์ประสบความสำเร็จอย่างสวยหรูทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้ ในระดับเหนือกว่าหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ผ่านมา...
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลานี้ภาพยนตร์แบล็คแพนเธอร์ประสบความสำเร็จอย่างสวยหรูทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้ ในระดับเหนือกว่าหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ผ่านมาหลายเรื่อง ตอนยังไม่ดูผมแอบแคลงใจเล็กน้อย มันดีอะไรขนาดนั้น? หนังฮีโร่เค้าสร้างกันเยอะแล้ว ถึงหนังจากแฟรนไชส์ MCU จะรับประกันคุณภาพ แต่ใช่ว่าดีจริงทุกเรื่อง (ใครชอบขออภัย แต่ผมรู้สึกงั้นๆ กับบางเรื่อง เช่น The Incredible Hulk, ธอร์ 2, Age of Ultron) ยิ่งหนังมาร์เวลปัจจุบันขนาดฮีโร่เสือดำหน้าใหม่ ยังเคยเปิดตัวเรื่องอื่นก่อนหน้า หรือแค่ขายแฟรนไชส์มากกว่าตัวหนัง? เพราะมีแฟนขาประจำคอยตามอวยอยู่
ดูหนังช่วงแรกผ่านไปยังเฉยๆ (แน่นอนเพราะต้องปูเรื่องก่อน)
- เรื่องเทคโนโลยีวาคานด้าสุดล้ำโฆษณาไว้ตั้งแต่ตัวอย่าง เราเลยไม่ว้าวมากมาย
- ยัังไม่อินอะไรในวัฒนธรรมท้องถิ่นวาคานด้า เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมแอฟริกันใช่ว่าดึงดูดใจทุกคนเสมอ
- ดูเขาจัดงานราชาภิเษก, ท้าประลอง, นำเสนอสมุนไพรวิเศษแบบเรื่อยๆ เพลินๆ
- ตอนเปิดตัววายร้ายหลักคิลมองเกอร์ไม่รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ, อยากเห็นหน้ายูลิสซิส คลอว์ ที่แสดงโดยแอนดี้ เซอร์คิสให้หนำใจบ้างมากกว่า
จุดเปลี่ยนด้านอารมณ์เริ่มบังเกิดช่วงกำลังจะทำภารกิจจับตััวคลอว์ ณ เกาหลีใต้
ความประทับใจแรกคือฉากนำเสนอของเล่นไฮเทคโดยเจ้าหญิงชูริ ที่ให้อารมณ์คล้ายหนังเจมส์ บอนด์ผสมการหยอกล้อระหว่างพี่น้อง, ตัวอุปกรณ์ซึ่งเธอนำเสนอพี่ชายก็ลูกเล่นดีไม่เบา
บวกด้วยห้องวิจัยและบรรยากาศรอบๆ เวลามองออกไปหยั่งกะหนัง 'สตาร์วอร์ส' ทำให้ชักรู้สึกละว่าวาคานด้าเค้าล้ำสมราคาคุย แบบน่าสนใจ (ต้องขอบคุณองค์หญิงชูริเขา)
พอช่วงฟอร์มทีมทำภารกิจเข้าบทบู๊ นี่ทำได้ดี คือเห็นสักทีว่าไอ้การถือหอกไวเบรเนียมไว้ใช้ต่อสู้มันเหนือกว่าใช้ปืนยิงอีท่าไหน
ช่วงบู๊ประชิดตัวไม่ได้เปรียบเท่าไหร่ แต่ไม่มีปัญหา ใช้ทักษะการต่อสู้+หลบหลีกช่วย (ตรงนี้ความจริงดูเสียเปรียบเพราะเป็นภารกิจแทรกซึม-ต้องใส่เสื้อผ้าปกติ หากใส่ชุดเสื้อทอ-เกราะไวเบรเนียมคงไม่กลัวกระสุนปืน)
ทว่าตอนไล่ล่าด้วยรถยนต์ประสิทธิภาพโหดมาก เพราะปาโดนทีเดียวรถฉีกกระจุย!
แถมข้อดีด้านการพกพา-ผ่านสะดวกทุกที่ เนื่องจากไวเบรเนียมผ่านเครื่องตรวจจับโลหะสบายอีก
โอเคเข้าใจแล้ว พกหอกต่อไปเหอะ :D
เดินเรื่องสักพักคลอว์หมดบทบาท คิลมองเกอร์เริ่มดำเนินแผนการตัวเองจริงจัง เผยชาติกำเนิดตัวเอง, ท้าประลองทีชาลลาชิงบัลลังก์, เอาชนะพระเอก, ทำลายสมุนไพร, เดินหน้านโยบายปลดแอก-แจกอาวุธเพื่อนร่วมเชื้อชาติแอฟริกัน>> ช่วงนี้ได้ใช้ประโยชน์เนื้อหาที่ปูไว้ต้นเรื่องหลายอย่าง ไอ้การเสียเวลาปูเรื่องช่วงแรกออกดอกผล อารมณ์ขณะดูอินขึ้นหลายขั้น
วัฒนธรรมท้องถิ่นวาคานด้าซึ่งบอกตอนแรกว่าไม่ดึงดูดใจนักนั้น ความสำคัญมันไม่เกี่ยวกับเรื่องดึงดูดใจ
เชื่อว่าเหตุผลแท้จริงในการนำเสนอ คือการแสดงตัวตน, เอกลักษณ์, วิถีเฉพาะตัว อันถูกสืบทอดต่อกันมายาวนานต่างหาก
พอเอกลักษณ์สุดโดดเด่นโดนคนนอก-คิลมองเกอร์ทำลายแบบไม่ไยดี ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกสูญเสียตามชาววาคานด้า.....
ถึงกระนั้นนโยบายสืบทอด+รักษาวิถีชาติดั้งเดิม ด้วยการปิดประเทศยาวนานมิใช่มีแต่เรื่องดี
หากมองย้อนไปจะพบว่าคิลมองเกอร์ คือผลลัพธ์ปลายทางของความคิดปิดประเทศ-รักษาวิถีชาตินี่แหละ
เพราะนโยบายปิดประเทศทำให้น้องชายกษัตริย์องค์ก่อน-ทีชาคาทรยศชาติ ช่วยคลอว์ขโมยไวเบรเนียม
ทีชาคาจึงต้องเผชิญหน้าน้องชาย ลงท้ายจำใจสังหารเขา ปล่อยลูกชายของน้องกำพร้าเดียวดาย กลายเป็นนักฆ่าชั้นเลิศ-คิล
มองเกอร์ทีหลัง
พิธีท้าประลองกษัตริย์เจ้ากรรม ก็เน้นให้ผู้ชนะ = ผู้แข็งแกร่งครองบัลลังก์ ไม่พิจารณาหาผู้เหมาะสมด้านการปกครอง ลองคิดดูว่าถ้าไม่ใช่หนังฮีโร่ พระเอกตายจริงว่าไง? คิลมองเกอร์ได้ครองประเทศดำเนินนโยบายล่าอาณานิคมป่วนโลกเละเทะพอดี ไม่มีใครห้ามหรอกเพราะบรรดากองทัพองครักษ์ หรือกลุ่มผู้นำจำทำตามวิถีโบราณ รับใช้ผู้นั่งบัลลังก์ หาใช่คนมีคุณสมบัติอันเหมาะควรไม่
ขอแทรกประเด็นเกี่ยวกับคิลมองเกอร์นิดหนึ่ง วายร้ายหลักผู้นี้จัดว่าน่าจดจำ แตกต่างจากวายร้ายทั่วไปใน MCU
คงเพราะบทนำเสนอพื้นเพตัวละคร, แรงจูงใจ, แรงผลักดัน และแนวคิดของตัวละครให้คนดูเข้าใจ จนบางจังหวะอดเห็นใจเขาไม่ได้ พูดได้เต็มปากเต็มคำว่านี่คือวายร้ายภาคเดียวจอดของ MCU ซึ่งดูดีสุด ณ ปัจจุบัน
กลับมาประเด็นวิถีโบราณ ยุคสมัยมันเปลี่ยน-โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว วาคานด้าควรปรับตัวตาม วาคานด้ามีพร้อมทั้งเทคโนโลยีและบุคลากรชั้นเลิศ คงเข้มแข็งพอช่วยผู้อื่นและปกป้องวิถีตนพร้อมกันได้ อย่างที่ตัวละครนาเคีย-แฟนทีชาลลากล่าวไว้
ผมมองว่าหนังแบล็คแพนเธอร์คือก้าวย่างเล็กๆ สุดสำคัญต่ออนาคตหนัง MCU ด้วยเหตุผลสองประการ
ประการแรก แบล็คแพนเธอร์คือตัวอย่างสำคัญอันแสดงให้เห็นว่า ยุคสมัยแห่งหนังซุปเปอร์ฮีโร่คงอยู่ต่อไปได้อีกนาน เพราะหนังฮีโร่มีแกนหลักแค่ตัวเอกใช้ความสามารถพิเศษของตนเอาชนะวายร้าย เอาไปผสมกับหนังแนวอื่นได้หลากหลาย เช่น แนวรักโรแมนติกท่ามกลางสงคราม(วันเดอร์วูแมน), การเมือง(กัปตันอเมริกา 2), ไซไฟ/แฟนตาซี(การ์เดี้ยน ออฟ เดอะ กาแล็คซี่), หนังวัยรุ่น(สไปเดอร์แมน ฉบับคืนสู่เหย้า) เป็นต้น
แบล็คแพนเธอร์ก้าวไปอีกขั้น โดยใส่ประเด็นทางสังคมและเชื้อชาติหลายอย่างลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงยุคสมัย, การให้ผู้หญิงมีบทบาทโดดเด่นทางสังคม, ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและสีผิว(แบบอ้อมๆ อย่างบอกว่าคนขาวเคยล่าอาณานิคม ชาวแอฟริกันในอเมริกายากลำบาก)
ประการที่สอง คือการเปิดประเทศของวาคานด้า ซึ่งคงส่งผลให้ความเจริญก้าวหน้าบนดาวโลกโดยรวมสูงขึ้นบ้าง ตรงนี้สำคัญเอาเรื่องเพราะแฟนประจำ MCU ที่เคยรับชม Guardians of the Galaxy น่าจะรู้ดีว่าจักรวาล MCU กว้างใหญ่ไพศาลนัก ดาวโลกวิทยาการล้าหลังกว่าหลายๆ ดาวมาก และอนาคตศัตรูผู้รุกรานจากอวกาศคงไม่จบแค่ธานอสหรือชิทอรี่ หากต้องรับมือการรุกรานย่อมต้องการเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่านี้
ไหนจะความเป็นจริงเรื่องนักแสดงผู้รับบทโทนี่ สตาร์ค-ไอร์ออนแมน 'โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์' คงแสดงตลอดไม่ไหว หลัง Avengers 4 ไปอาจไม่เล่นอีก ให้บอกว่าเทคโนโลยีสุดล้ำต่างๆ ของ MCU มาจากมันสมอง+กำลังทรัพย์โทนี่ตลอดไม่ได้หรอก
ดูหนังช่วงแรกผ่านไปยังเฉยๆ (แน่นอนเพราะต้องปูเรื่องก่อน)
- เรื่องเทคโนโลยีวาคานด้าสุดล้ำโฆษณาไว้ตั้งแต่ตัวอย่าง เราเลยไม่ว้าวมากมาย
- ยัังไม่อินอะไรในวัฒนธรรมท้องถิ่นวาคานด้า เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมแอฟริกันใช่ว่าดึงดูดใจทุกคนเสมอ
- ดูเขาจัดงานราชาภิเษก, ท้าประลอง, นำเสนอสมุนไพรวิเศษแบบเรื่อยๆ เพลินๆ
- ตอนเปิดตัววายร้ายหลักคิลมองเกอร์ไม่รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ, อยากเห็นหน้ายูลิสซิส คลอว์ ที่แสดงโดยแอนดี้ เซอร์คิสให้หนำใจบ้างมากกว่า
จุดเปลี่ยนด้านอารมณ์เริ่มบังเกิดช่วงกำลังจะทำภารกิจจับตััวคลอว์ ณ เกาหลีใต้
ความประทับใจแรกคือฉากนำเสนอของเล่นไฮเทคโดยเจ้าหญิงชูริ ที่ให้อารมณ์คล้ายหนังเจมส์ บอนด์ผสมการหยอกล้อระหว่างพี่น้อง, ตัวอุปกรณ์ซึ่งเธอนำเสนอพี่ชายก็ลูกเล่นดีไม่เบา
บวกด้วยห้องวิจัยและบรรยากาศรอบๆ เวลามองออกไปหยั่งกะหนัง 'สตาร์วอร์ส' ทำให้ชักรู้สึกละว่าวาคานด้าเค้าล้ำสมราคาคุย แบบน่าสนใจ (ต้องขอบคุณองค์หญิงชูริเขา)
พอช่วงฟอร์มทีมทำภารกิจเข้าบทบู๊ นี่ทำได้ดี คือเห็นสักทีว่าไอ้การถือหอกไวเบรเนียมไว้ใช้ต่อสู้มันเหนือกว่าใช้ปืนยิงอีท่าไหน
ช่วงบู๊ประชิดตัวไม่ได้เปรียบเท่าไหร่ แต่ไม่มีปัญหา ใช้ทักษะการต่อสู้+หลบหลีกช่วย (ตรงนี้ความจริงดูเสียเปรียบเพราะเป็นภารกิจแทรกซึม-ต้องใส่เสื้อผ้าปกติ หากใส่ชุดเสื้อทอ-เกราะไวเบรเนียมคงไม่กลัวกระสุนปืน)
ทว่าตอนไล่ล่าด้วยรถยนต์ประสิทธิภาพโหดมาก เพราะปาโดนทีเดียวรถฉีกกระจุย!
แถมข้อดีด้านการพกพา-ผ่านสะดวกทุกที่ เนื่องจากไวเบรเนียมผ่านเครื่องตรวจจับโลหะสบายอีก
โอเคเข้าใจแล้ว พกหอกต่อไปเหอะ :D
เดินเรื่องสักพักคลอว์หมดบทบาท คิลมองเกอร์เริ่มดำเนินแผนการตัวเองจริงจัง เผยชาติกำเนิดตัวเอง, ท้าประลองทีชาลลาชิงบัลลังก์, เอาชนะพระเอก, ทำลายสมุนไพร, เดินหน้านโยบายปลดแอก-แจกอาวุธเพื่อนร่วมเชื้อชาติแอฟริกัน>> ช่วงนี้ได้ใช้ประโยชน์เนื้อหาที่ปูไว้ต้นเรื่องหลายอย่าง ไอ้การเสียเวลาปูเรื่องช่วงแรกออกดอกผล อารมณ์ขณะดูอินขึ้นหลายขั้น
วัฒนธรรมท้องถิ่นวาคานด้าซึ่งบอกตอนแรกว่าไม่ดึงดูดใจนักนั้น ความสำคัญมันไม่เกี่ยวกับเรื่องดึงดูดใจ
เชื่อว่าเหตุผลแท้จริงในการนำเสนอ คือการแสดงตัวตน, เอกลักษณ์, วิถีเฉพาะตัว อันถูกสืบทอดต่อกันมายาวนานต่างหาก
พอเอกลักษณ์สุดโดดเด่นโดนคนนอก-คิลมองเกอร์ทำลายแบบไม่ไยดี ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกสูญเสียตามชาววาคานด้า.....
ถึงกระนั้นนโยบายสืบทอด+รักษาวิถีชาติดั้งเดิม ด้วยการปิดประเทศยาวนานมิใช่มีแต่เรื่องดี
หากมองย้อนไปจะพบว่าคิลมองเกอร์ คือผลลัพธ์ปลายทางของความคิดปิดประเทศ-รักษาวิถีชาตินี่แหละ
เพราะนโยบายปิดประเทศทำให้น้องชายกษัตริย์องค์ก่อน-ทีชาคาทรยศชาติ ช่วยคลอว์ขโมยไวเบรเนียม
ทีชาคาจึงต้องเผชิญหน้าน้องชาย ลงท้ายจำใจสังหารเขา ปล่อยลูกชายของน้องกำพร้าเดียวดาย กลายเป็นนักฆ่าชั้นเลิศ-คิล
มองเกอร์ทีหลัง
พิธีท้าประลองกษัตริย์เจ้ากรรม ก็เน้นให้ผู้ชนะ = ผู้แข็งแกร่งครองบัลลังก์ ไม่พิจารณาหาผู้เหมาะสมด้านการปกครอง ลองคิดดูว่าถ้าไม่ใช่หนังฮีโร่ พระเอกตายจริงว่าไง? คิลมองเกอร์ได้ครองประเทศดำเนินนโยบายล่าอาณานิคมป่วนโลกเละเทะพอดี ไม่มีใครห้ามหรอกเพราะบรรดากองทัพองครักษ์ หรือกลุ่มผู้นำจำทำตามวิถีโบราณ รับใช้ผู้นั่งบัลลังก์ หาใช่คนมีคุณสมบัติอันเหมาะควรไม่
ขอแทรกประเด็นเกี่ยวกับคิลมองเกอร์นิดหนึ่ง วายร้ายหลักผู้นี้จัดว่าน่าจดจำ แตกต่างจากวายร้ายทั่วไปใน MCU
คงเพราะบทนำเสนอพื้นเพตัวละคร, แรงจูงใจ, แรงผลักดัน และแนวคิดของตัวละครให้คนดูเข้าใจ จนบางจังหวะอดเห็นใจเขาไม่ได้ พูดได้เต็มปากเต็มคำว่านี่คือวายร้ายภาคเดียวจอดของ MCU ซึ่งดูดีสุด ณ ปัจจุบัน
กลับมาประเด็นวิถีโบราณ ยุคสมัยมันเปลี่ยน-โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว วาคานด้าควรปรับตัวตาม วาคานด้ามีพร้อมทั้งเทคโนโลยีและบุคลากรชั้นเลิศ คงเข้มแข็งพอช่วยผู้อื่นและปกป้องวิถีตนพร้อมกันได้ อย่างที่ตัวละครนาเคีย-แฟนทีชาลลากล่าวไว้
การก้าวย่างครั้งสำคัญของ MCU
ประการแรก แบล็คแพนเธอร์คือตัวอย่างสำคัญอันแสดงให้เห็นว่า ยุคสมัยแห่งหนังซุปเปอร์ฮีโร่คงอยู่ต่อไปได้อีกนาน เพราะหนังฮีโร่มีแกนหลักแค่ตัวเอกใช้ความสามารถพิเศษของตนเอาชนะวายร้าย เอาไปผสมกับหนังแนวอื่นได้หลากหลาย เช่น แนวรักโรแมนติกท่ามกลางสงคราม(วันเดอร์วูแมน), การเมือง(กัปตันอเมริกา 2), ไซไฟ/แฟนตาซี(การ์เดี้ยน ออฟ เดอะ กาแล็คซี่), หนังวัยรุ่น(สไปเดอร์แมน ฉบับคืนสู่เหย้า) เป็นต้น
แบล็คแพนเธอร์ก้าวไปอีกขั้น โดยใส่ประเด็นทางสังคมและเชื้อชาติหลายอย่างลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงยุคสมัย, การให้ผู้หญิงมีบทบาทโดดเด่นทางสังคม, ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและสีผิว(แบบอ้อมๆ อย่างบอกว่าคนขาวเคยล่าอาณานิคม ชาวแอฟริกันในอเมริกายากลำบาก)
พลังหญิงต้องมา
ประการที่สอง คือการเปิดประเทศของวาคานด้า ซึ่งคงส่งผลให้ความเจริญก้าวหน้าบนดาวโลกโดยรวมสูงขึ้นบ้าง ตรงนี้สำคัญเอาเรื่องเพราะแฟนประจำ MCU ที่เคยรับชม Guardians of the Galaxy น่าจะรู้ดีว่าจักรวาล MCU กว้างใหญ่ไพศาลนัก ดาวโลกวิทยาการล้าหลังกว่าหลายๆ ดาวมาก และอนาคตศัตรูผู้รุกรานจากอวกาศคงไม่จบแค่ธานอสหรือชิทอรี่ หากต้องรับมือการรุกรานย่อมต้องการเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่านี้
ไหนจะความเป็นจริงเรื่องนักแสดงผู้รับบทโทนี่ สตาร์ค-ไอร์ออนแมน 'โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์' คงแสดงตลอดไม่ไหว หลัง Avengers 4 ไปอาจไม่เล่นอีก ให้บอกว่าเทคโนโลยีสุดล้ำต่างๆ ของ MCU มาจากมันสมอง+กำลังทรัพย์โทนี่ตลอดไม่ได้หรอก
สรุป แบล็คแพนเธอร์คือหนังปูทางสำคัญของ MCU และหนังฮีโร่ชั้นยอดสมคำร่ำลือครับ
COMMENTS