แน่นอนว่าบทความมีสปอยนิยาย ใครไม่กลัวสปอยหรือไม่คิดอ่านนิยาย เอาแค่ดูหนังพอก็อ่านได้เลย ภาพยนตร์ชุดเมซ รันเนอร์ภาคหนึ่งจัดว่าเสียงตอบรับ...
แน่นอนว่าบทความมีสปอยนิยาย ใครไม่กลัวสปอยหรือไม่คิดอ่านนิยาย เอาแค่ดูหนังพอก็อ่านได้เลย
ภาพยนตร์ชุดเมซ รันเนอร์ภาคหนึ่งจัดว่าเสียงตอบรับต่อตัวหนังทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้อยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควร (รายได้ 348 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในขณะที่ภาคสองผลตอบรับด้านคำวิจารณ์สู้ภาคแรกไม่ได้ แม้รายได้ไม่ตกลงไปเท่าไหร่ (312 ล้าน)
หนังภาคแรกผลตอบรับดีนั้นไม่แปลกอะไร เพราะตัวเนื้อเรื่องมีความแปลกใหม่น่าค้นหาพอสมควร
หนังเริ่มจากการให้บรรดาตัวละครในเรื่องไม่มีความทรงจำ แล้วโยนตัวละครใส่สภาพแวดล้อม+สถานการณ์ชวนฉงนสงสัย
กระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามตลอดเวลาการรับชมไม่แพ้โทมัสพระเอกของเรืื่อง
พร้อมเสริมฉากวิ่งหนี, เสี่ยงตาย, ต่อสู้ เพิ่มความสนุกเข้าไปอีก
หลังเฉลยปริศนาหลายอย่างตอนจบภาคแรก ภาคสองลดบรรยากาศชวนฉงนลงเยอะ หันมาเน้นวิ่งหนี, เอาชีวิตรอด, ต่อสู้เป็นหลัก แม้ดีกรีความสนุก+ลุ้นระทึกยกระดับขึ้น แต่ความรู้สึกสดใหม่น่าสนใจ ชวนให้คิดว่าหนังนำเสนอเรื่องราวต่างๆ อย่างมีชั้นเชิงมันลดลงไป และนี่คงเป็นสาเหตุที่คำวิจารณ์ภาคสองสู้ภาคแรกไม่ไหว
ถ้าคนดูหนังอย่างเดียวอาจบอกว่าของมันแน่ เพราะบรรยากาศอันเปี่ยมความน่าสงสัยในวงกตแบบภาคแรกเล่นซ้ำภาคสองไม่ได้
ส่วนโลกภายนอกวงกตของภาคสองซึ่งแสดงภาพลักษณ์โลกอันเสื่อมโทรมภายหลังภัยพิบัติร้ายแรง มิได้สดใหม่ หนังเรื่องอื่นเคยเล่นแล้วถมไป
ยิ่งพวกแคร้ง-ภัยร้ายทำลายมนุษยชาติ-สาเหตุการจับพวกตัวเอกยัดวงกตยิ่งแล้วใหญ่ เนื่องจากมันดูไม่ต่างกับซอมบี้-ผีดิบตามแบบฉบับภาพยนตร์พิมพ์นิยมยุคหลังเท่าไหร่.....
ทว่าปัญหาจริงๆ อาจอยู่ที่ความผิดพลาดมาตรฐานสากลของการดัดแปลงนิยายสู่ภาพยนตร์ นั่นคือ ไม่ยอมซื่อสัตย์ต่อเนื้อหาต้นฉบับ
หนังเมซ รันเนอร์ภาคหนึ่งซื่อสัตย์ต่อเนื้อหาต้นฉบับ คงรายละเอียดหลายสิ่งไว้ ดัดแปลงเนื้อเรื่อง+องค์ประกอบต่างๆ เพียงเพื่อให้เหมาะสมกับการบอกเล่าเรื่องราวตามแบบของหนัง (ซึ่งควรเล่าเรื่องกระชับฉับไวมากกว่านิยาย) เรียกว่าเปลี่ยนบทนิยายสู่หนังสำเร็จอย่างน่าชื่นชม
ความแตกต่างหลักๆ มีแค่ 2 สิ่ง
นิยาย
1) ปริศนาบอกใบ้ทางออกจากวงกตคือ การนำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวงกตแต่ละวันมาเปรียบเทียบความแตกต่าง
เพื่อหารหัสผ่าน "ตัวอักษร" ภาษาอังกฤษไปป้อนบริเวณทางออก
2) วงกตอยู่ใต้ดิน ท้องฟ้า+ดวงตะวันคือของเทียม
หนัง
1) รหัสผ่านทางออกวงกตคือ "ตัวเลข" ตามลำดับเขตของวงกตที่เปิดให้เข้าแต่ละวัน
2) วงกตอยู่กลางทะเลทราย ท้องฟ้า, ก้อนเมฆ, ดวงตะวันคือของจริง
เมซ รันเนอร์ภาคสอง บรรดาผู้สร้างหนังละทิ้งบรรยากาศการเล่าเรื่องแบบต้นฉบับนิยาย พยายามเปลี่ยนเนื้อหาให้เข้าใจง่าย+เน้นบทบู๊เอาชีวิตรอดแทน จนเสียวิถีการเล่าเรื่องชวนสงสัยเหมือนภาคแรกเร็วไป แม้หนังสนุกแต่เอกลักษณ์หดหาย แถมพาเนื้อเรื่องออกทะเลไม่ตรงนิยายเยอะด้วย
ตามนิยาย ตอนพวกโทมัสหลับไปหลังกลุ่มต่อต้านวิคเค็ดปลอมช่วยพาออกจากวงกต
พอตื่นขึ้นมาก็พบกลุ่มต่อต้านผูกคอตายหมู่กันหมดและไม่สามารถหาทางออกจากตึกที่พวกตนอยู่ได้
สักพักศพกลุ่มต่อต้านที่แขวนคอหมู่ก็อันตรธานหายวับ, เทเรซาหายตัวไป และพบเด็กชายอริสผู้รับการทดสอบวงกตอีกแห่งโผล่มาดื้อๆ
แจนสันโผล่มาชี้แจงว่าวิคเค็ดมีวิธีบิดเบือนการรับรู้ในสมองพวกเขา (วิคเค็ดฝังอุปกรณ์ลบความจำ+ควบคุมจิตใจไว้กับพวกเด็กๆ)
และสั่งให้เหล่าชาวทุ่งรับการทดสอบชุดสองของวิคเค็ดถัดจากวงกต
โดยให้เดินผ่านอุปกรณ์เดินทางสุดล้ำ-แพงระยับ "ระนาบเคลื่อนย้าย"(ลักษณะคือฉากสีเทาแบนๆ เรียบๆ แยกสลายสสารต้นทางไปประกอบใหม่ปลายทาง)
สู่อุโมงค์มืดทึบใต้ดิน แล้วเดินทางฝ่าแดนมอดไหม้ไปยังจุดที่กำหนด ภายในเวลาจำกัด
ชาวทุ่งหลายคนโดนสิ่งประดิษฐ์ลึกลับของวิคเค็ด เขมือบศีรษะ ลดจำนวนผู้รอดชีวิตตั้งแต่ก่อนออกจากอุโมงค์
ส่วนถัดมา-บรรดาภยันตรายซึ่งต้องพบเจอหลังออกจากอุโมงค์ผ่านแดนมอดไหม้ถึงจุดหมาย หลักๆ เหมืือนภาพยนตร์ คือ ฝ่าทะเลทราย, หลบฟ้าผ่า, เจอฮอร์เกและเบรนดา, ฝ่ากลุ่มแคร้ง, เจอพวกเมายาปาร์ตี้สุขสันต์, พบกลุ่มเด็กสาวชาวทุ่งร่วมวงกตกับอริส
โทมัสโดนเทเรซาซึ่งอยู่กับกลุ่มเด็กสาว ทรยศพาเขาไปเข้าเครื่องรมแก๊ส โทมัสผู้คิดว่าตัวเองต้องตายแล้ว กลับต้องงุนงงเพราะดันไม่ตาย
เทเรซาอธิบายว่านี่คือการทดสอบปฏิกิริยาในสมองโทมัสที่วิคเค็ดสั่งให้เธอทำ หากเธอไม่ทำวิคเค็ดขู่จะฆ่าโทมัส
แต่เมื่อความเชื่อใจไร้เงื่อนไขถูกสั่นคลอน โทมัสจึงไม่เชื่อใจเทเรซาอีีกเลยจนจบเรื่อง
โทมัสและเทเรซากลับไปรวมกลุ่มกับพวกพ้อง ณ จุดหมายกลางทะเลทรายโล่งทันเวลา ทว่าวิคเค็ดไม่ส่งคนมารับทันที แต่ส่งสัตว์ประหลาดชีวจักรกล(กึ่งสิ่งมีชีวิต-กึ่งเครื่องจักร)แบบใหม่ ที่ตัวเต็มไปด้วยของเหมือนหลอดไฟเรืองแสง มาให้พวกเขาต่อสู้เอาชนะพวกมันแทน
เด็กๆ เข้าต่อสู้นองเลือด-ล้มตายกันอีกบางส่วน ก่อนเอาชนะพวกมัน-ขึ้นเครื่องบินที่วิคเค็ดส่งมารับหลังการต่อสู้ พาสู่ฐานบัญชาการวิคเค็ดตอนจบเล่ม
หนังภาคสองให้ตัวละครหลักหนีวิคเค็ดออกมาได้จริงๆ ตั้งแต่ต้นเรื่อง เลยกลายสภาพเป็นหนังไล่ล่า+เอาชีวิตรอดธรรมดา
ขณะที่นิยายเล่มสองวิคเค็ดคุมเกมตลอดเวลา กว่าจะหนีวิคเค็ดได้จริงๆ ก็ต้นเล่มสาม แถมตอนหนียังเหลือความรู้สึกชวนสงสัยว่าหนีมันพ้นจริงแท้แน่นอนใช่ไหม? ไม่ใช่กำลังโดนทดสอบรอบสามนะ? ด้วย
---นิยายจึงประคองบรรยากาศชวนฉงนเฉพาะตัวของเมซ รันเนอร์ไว้จนจบทั้งสามเล่มสำเร็จ ---
อย่างไรก็ตามเท่าที่สังเกตจากตัวอย่าง ภาพยนตร์เมซรันเนอร์ภาคสามคงสามารถลากเนื้อหาให้กลับเข้ารูปเข้ารอยไหว แถมนี่คือปลายทางของเรื่องราวที่เราเคยติดตาม มันย่อมควรค่าแก่การรับชมประมาณหนึ่ง
และสำหรับคนดูหนังไม่เคยอ่านนิยาย คาดว่าจะมีเซอร์ไพรส์เล็กๆ ชวนรำลึกถึงหนังภาคก่อนรออยู่ท้ายเรื่อง อย่าเพิ่งผิดหวังกับภาคสองเกินเหตุ, ลองให้โอกาสหนังดู คุณอาจพบตอนจบดีๆ ปิดฉากเรื่องราวนี้ครับ :D
ภาพยนตร์ชุดเมซ รันเนอร์ภาคหนึ่งจัดว่าเสียงตอบรับต่อตัวหนังทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้อยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควร (รายได้ 348 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในขณะที่ภาคสองผลตอบรับด้านคำวิจารณ์สู้ภาคแรกไม่ได้ แม้รายได้ไม่ตกลงไปเท่าไหร่ (312 ล้าน)
หนังภาคแรกผลตอบรับดีนั้นไม่แปลกอะไร เพราะตัวเนื้อเรื่องมีความแปลกใหม่น่าค้นหาพอสมควร
หนังเริ่มจากการให้บรรดาตัวละครในเรื่องไม่มีความทรงจำ แล้วโยนตัวละครใส่สภาพแวดล้อม+สถานการณ์ชวนฉงนสงสัย
กระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามตลอดเวลาการรับชมไม่แพ้โทมัสพระเอกของเรืื่อง
พร้อมเสริมฉากวิ่งหนี, เสี่ยงตาย, ต่อสู้ เพิ่มความสนุกเข้าไปอีก
หลังเฉลยปริศนาหลายอย่างตอนจบภาคแรก ภาคสองลดบรรยากาศชวนฉงนลงเยอะ หันมาเน้นวิ่งหนี, เอาชีวิตรอด, ต่อสู้เป็นหลัก แม้ดีกรีความสนุก+ลุ้นระทึกยกระดับขึ้น แต่ความรู้สึกสดใหม่น่าสนใจ ชวนให้คิดว่าหนังนำเสนอเรื่องราวต่างๆ อย่างมีชั้นเชิงมันลดลงไป และนี่คงเป็นสาเหตุที่คำวิจารณ์ภาคสองสู้ภาคแรกไม่ไหว
ถ้าคนดูหนังอย่างเดียวอาจบอกว่าของมันแน่ เพราะบรรยากาศอันเปี่ยมความน่าสงสัยในวงกตแบบภาคแรกเล่นซ้ำภาคสองไม่ได้
ส่วนโลกภายนอกวงกตของภาคสองซึ่งแสดงภาพลักษณ์โลกอันเสื่อมโทรมภายหลังภัยพิบัติร้ายแรง มิได้สดใหม่ หนังเรื่องอื่นเคยเล่นแล้วถมไป
ยิ่งพวกแคร้ง-ภัยร้ายทำลายมนุษยชาติ-สาเหตุการจับพวกตัวเอกยัดวงกตยิ่งแล้วใหญ่ เนื่องจากมันดูไม่ต่างกับซอมบี้-ผีดิบตามแบบฉบับภาพยนตร์พิมพ์นิยมยุคหลังเท่าไหร่.....
ทว่าปัญหาจริงๆ อาจอยู่ที่ความผิดพลาดมาตรฐานสากลของการดัดแปลงนิยายสู่ภาพยนตร์ นั่นคือ ไม่ยอมซื่อสัตย์ต่อเนื้อหาต้นฉบับ
หนังเมซ รันเนอร์ภาคหนึ่งซื่อสัตย์ต่อเนื้อหาต้นฉบับ คงรายละเอียดหลายสิ่งไว้ ดัดแปลงเนื้อเรื่อง+องค์ประกอบต่างๆ เพียงเพื่อให้เหมาะสมกับการบอกเล่าเรื่องราวตามแบบของหนัง (ซึ่งควรเล่าเรื่องกระชับฉับไวมากกว่านิยาย) เรียกว่าเปลี่ยนบทนิยายสู่หนังสำเร็จอย่างน่าชื่นชม
ความแตกต่างหลักๆ มีแค่ 2 สิ่ง
นิยาย
1) ปริศนาบอกใบ้ทางออกจากวงกตคือ การนำรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวงกตแต่ละวันมาเปรียบเทียบความแตกต่าง
เพื่อหารหัสผ่าน "ตัวอักษร" ภาษาอังกฤษไปป้อนบริเวณทางออก
2) วงกตอยู่ใต้ดิน ท้องฟ้า+ดวงตะวันคือของเทียม
หนัง
1) รหัสผ่านทางออกวงกตคือ "ตัวเลข" ตามลำดับเขตของวงกตที่เปิดให้เข้าแต่ละวัน
2) วงกตอยู่กลางทะเลทราย ท้องฟ้า, ก้อนเมฆ, ดวงตะวันคือของจริง
เมซ รันเนอร์ภาคสอง บรรดาผู้สร้างหนังละทิ้งบรรยากาศการเล่าเรื่องแบบต้นฉบับนิยาย พยายามเปลี่ยนเนื้อหาให้เข้าใจง่าย+เน้นบทบู๊เอาชีวิตรอดแทน จนเสียวิถีการเล่าเรื่องชวนสงสัยเหมือนภาคแรกเร็วไป แม้หนังสนุกแต่เอกลักษณ์หดหาย แถมพาเนื้อเรื่องออกทะเลไม่ตรงนิยายเยอะด้วย
ตามนิยาย ตอนพวกโทมัสหลับไปหลังกลุ่มต่อต้านวิคเค็ดปลอมช่วยพาออกจากวงกต
พอตื่นขึ้นมาก็พบกลุ่มต่อต้านผูกคอตายหมู่กันหมดและไม่สามารถหาทางออกจากตึกที่พวกตนอยู่ได้
สักพักศพกลุ่มต่อต้านที่แขวนคอหมู่ก็อันตรธานหายวับ, เทเรซาหายตัวไป และพบเด็กชายอริสผู้รับการทดสอบวงกตอีกแห่งโผล่มาดื้อๆ
แจนสันโผล่มาชี้แจงว่าวิคเค็ดมีวิธีบิดเบือนการรับรู้ในสมองพวกเขา (วิคเค็ดฝังอุปกรณ์ลบความจำ+ควบคุมจิตใจไว้กับพวกเด็กๆ)
และสั่งให้เหล่าชาวทุ่งรับการทดสอบชุดสองของวิคเค็ดถัดจากวงกต
โดยให้เดินผ่านอุปกรณ์เดินทางสุดล้ำ-แพงระยับ "ระนาบเคลื่อนย้าย"(ลักษณะคือฉากสีเทาแบนๆ เรียบๆ แยกสลายสสารต้นทางไปประกอบใหม่ปลายทาง)
สู่อุโมงค์มืดทึบใต้ดิน แล้วเดินทางฝ่าแดนมอดไหม้ไปยังจุดที่กำหนด ภายในเวลาจำกัด
ชาวทุ่งหลายคนโดนสิ่งประดิษฐ์ลึกลับของวิคเค็ด เขมือบศีรษะ ลดจำนวนผู้รอดชีวิตตั้งแต่ก่อนออกจากอุโมงค์
ส่วนถัดมา-บรรดาภยันตรายซึ่งต้องพบเจอหลังออกจากอุโมงค์ผ่านแดนมอดไหม้ถึงจุดหมาย หลักๆ เหมืือนภาพยนตร์ คือ ฝ่าทะเลทราย, หลบฟ้าผ่า, เจอฮอร์เกและเบรนดา, ฝ่ากลุ่มแคร้ง, เจอพวกเมายาปาร์ตี้สุขสันต์, พบกลุ่มเด็กสาวชาวทุ่งร่วมวงกตกับอริส
โทมัสโดนเทเรซาซึ่งอยู่กับกลุ่มเด็กสาว ทรยศพาเขาไปเข้าเครื่องรมแก๊ส โทมัสผู้คิดว่าตัวเองต้องตายแล้ว กลับต้องงุนงงเพราะดันไม่ตาย
เทเรซาอธิบายว่านี่คือการทดสอบปฏิกิริยาในสมองโทมัสที่วิคเค็ดสั่งให้เธอทำ หากเธอไม่ทำวิคเค็ดขู่จะฆ่าโทมัส
แต่เมื่อความเชื่อใจไร้เงื่อนไขถูกสั่นคลอน โทมัสจึงไม่เชื่อใจเทเรซาอีีกเลยจนจบเรื่อง
โทมัสและเทเรซากลับไปรวมกลุ่มกับพวกพ้อง ณ จุดหมายกลางทะเลทรายโล่งทันเวลา ทว่าวิคเค็ดไม่ส่งคนมารับทันที แต่ส่งสัตว์ประหลาดชีวจักรกล(กึ่งสิ่งมีชีวิต-กึ่งเครื่องจักร)แบบใหม่ ที่ตัวเต็มไปด้วยของเหมือนหลอดไฟเรืองแสง มาให้พวกเขาต่อสู้เอาชนะพวกมันแทน
เด็กๆ เข้าต่อสู้นองเลือด-ล้มตายกันอีกบางส่วน ก่อนเอาชนะพวกมัน-ขึ้นเครื่องบินที่วิคเค็ดส่งมารับหลังการต่อสู้ พาสู่ฐานบัญชาการวิคเค็ดตอนจบเล่ม
หนังภาคสองให้ตัวละครหลักหนีวิคเค็ดออกมาได้จริงๆ ตั้งแต่ต้นเรื่อง เลยกลายสภาพเป็นหนังไล่ล่า+เอาชีวิตรอดธรรมดา
ขณะที่นิยายเล่มสองวิคเค็ดคุมเกมตลอดเวลา กว่าจะหนีวิคเค็ดได้จริงๆ ก็ต้นเล่มสาม แถมตอนหนียังเหลือความรู้สึกชวนสงสัยว่าหนีมันพ้นจริงแท้แน่นอนใช่ไหม? ไม่ใช่กำลังโดนทดสอบรอบสามนะ? ด้วย
---นิยายจึงประคองบรรยากาศชวนฉงนเฉพาะตัวของเมซ รันเนอร์ไว้จนจบทั้งสามเล่มสำเร็จ ---
อย่างไรก็ตามเท่าที่สังเกตจากตัวอย่าง ภาพยนตร์เมซรันเนอร์ภาคสามคงสามารถลากเนื้อหาให้กลับเข้ารูปเข้ารอยไหว แถมนี่คือปลายทางของเรื่องราวที่เราเคยติดตาม มันย่อมควรค่าแก่การรับชมประมาณหนึ่ง
และสำหรับคนดูหนังไม่เคยอ่านนิยาย คาดว่าจะมีเซอร์ไพรส์เล็กๆ ชวนรำลึกถึงหนังภาคก่อนรออยู่ท้ายเรื่อง อย่าเพิ่งผิดหวังกับภาคสองเกินเหตุ, ลองให้โอกาสหนังดู คุณอาจพบตอนจบดีๆ ปิดฉากเรื่องราวนี้ครับ :D
COMMENTS