ปกติไม่ค่อยดูหนังไทย แต่ได้ดูบางเรื่องที่กระแสดี+ทำรายได้สูงบ้างด้วยความอยากรู้ว่าหนังเรื่องนั้น ๆมีอะไรดี (ซึ่งก็มักจะ มีอะไรดี อยู่จริง) ห...
ปกติไม่ค่อยดูหนังไทย แต่ได้ดูบางเรื่องที่กระแสดี+ทำรายได้สูงบ้างด้วยความอยากรู้ว่าหนังเรื่องนั้น ๆมีอะไรดี (ซึ่งก็มักจะมีอะไรดีอยู่จริง) หนังไทยกระแสดีเรื่องล่าสุดอย่าง "ฉลาด เกมส์ โกง" ผมเพิ่งหามาดูตอนแผ่นออกแล้ว พบว่าถูกใจหนังไทยเรื่องนี้มากกว่าหนังฮอลลีวู้ดฟอร์มใหญ่หลายเรื่องเสียอีก สมกับที่ประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และรายได้ต่างประเทศด้วยจริง ๆ
สิ่งที่โดดเด่นอย่างแรกคือ เรื่องบท-เรื่องไอเดียเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังซึ่งนำเรื่องการ "โกง+ลอกข้อสอบ" ที่นักเรียนไทยไม่ว่าใครคงเคยมีประสบการณ์ร่วมกันมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นคนให้ลอก-คนลอก หรือพบเห็นการลอกของผู้อื่น เพราะข้อสอบเป็นแบบเลือกคำตอบตามตัวเลือกจึงทำให้ลอกได้ แต่การลอกนั้นก็ไม่ง่ายเนื่องจากบรรดาอาจารย์คอยควบคุมดูแลอยู่ ส่งผลให้ต้องใช้ชั้นเชิง-ลูกเล่นและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อหลบเลี่ยงมิให้ถูกจับได้ตามมา
ลูกเล่นการโกงข้อสอบในหนังจัดว่าซับซ้อนพอสมควร (หากลองพิจารณาว่าเวลาไม่เป็นไปตามแผน-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต้องทำอะไรบ้าง) ทว่าถ่ายทอดออกมาเข้าใจง่าย ด้วยการโฟกัสการกระทำสลับกับสีหน้าท่าทางของตัวละครตามสถานการณ์ จนเข้าใจได้แม้ไม่มีบทพูด (ตอนสอบห้ามคุยกันนี่เนอะ :P )
เนื้อหาหลายส่วนอย่างพวกความฉลาดตัวละคร ที่จดจำหรือคิดเลขในใจได้ซับซ้อนและเร็วเว่อร์
การใช้คีย์เปียโนแทนรหัสบอกคำตอบข้อสอบ
หรือการสอบวัดมาตรฐานระดับโลก (STIC) ด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน+เวลาเดียวกันจนนำเรื่อง "ความต่างของเวลา"
ในส่วนต่าง ๆของโลกมาใช้สร้างกลโกงได้
ผมไม่แน่ใจว่าเอามาจากเรื่องจริงหรือทำได้จริงไหม ? แต่ผมว่าสิ่งสำคัญจริง ๆคือหนังทำให้ เข้าใจและยอมรับเรื่องเหล่านี้ได้ ต่างหาก (หนังที่ดูสมจริงมันไม่จำเป็นต้องสมจริงซะทุกเรื่องนี่)
ด้านผู้กำกับและบรรดานักแสดงก็ต้องขอชื่นชม นักแสดงแต่ละคนแสดงออกได้เหมาะสมกับบทบาท-นิสัยตัวละครของตน จังหวะการเล่าเรื่องของหนังก็ทำได้ดีไม่มีช่วงน่าเบื่อ ,ยิ่งช่วงไคลแม็กซ์ตอนสอบ STIC นี่ลุ้นแล้วลุ้นอีก ลุ้นเสียเหนื่อยเลยทีเดียว :D
การสื่อด้วยภาพในหนังเป็นอะไรที่เข้าใจง่าย+จิกกัดประชดประชันอย่างน่าสนใจ เช่น
- ฉากนาฬิกาหลายเรือนเรียงกัน แสดงความแตกต่างของเวลาแต่ละประเทศทั่วโลก และตัวอักษรบนเสื้อลิน "Making It Happen" สื่อว่าแผนการโกง STIC นั้นสามารถทำได้
- ป้ายรถเมล์ในฉากก่อนแบงค์ตัดสินใจร่วมโกง STIC
("อนาคตแห่งการซักผ้า" คือ ถ้าแบงค์ไม่โกงจะไม่ได้เรียนเมืองนอกและไม่ได้ตังค์ -> ทั้งชีวิตที่เหลือไม่พ้นได้แต่ช่วยแม่ซักผ้า)
- ชื่อโรงพิมพ์ที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดเพื่อโกงข้อสอบ STIC
("โรงพิมพ์ซื่อตรงพานิช" ดันทำเรื่องไม่ซื่อตรงสมชื่อ)
- ตัวอักษรบนเสื้อเหล่าผู้ทำข้อสอบ STIC ได้คะแนนระดับสูงในประเทศไทย
("กูได้ STIC 1460 คะแนน" แลดูน่าภูมิใจ แต่โกงเอาคะแนนมามันควรภูมิใจมั้ย ?)
มาถึงประเด็นสำคัญของบทความ สำหรับผมแล้วหนังเรื่องนี้ "บอกเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรโกง" ผ่านเนื้อหาทั้งเรื่องครับ ไม่ใช่เพียงบทพูดของตัวละครอย่างผอ.โรงเรียนหรือพ่อของลินเท่านั้น (ซึ่งสองคนนี้ก็ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของการใช้ชีวิตซื่อตรงเท่าไหร่
เพราะผอ.โรงเรียนก็โกง ด้วยรับเงิน "บำรุงการศึกษา" แลกกับการรับนักเรียนเข้าโรงเรียน
พ่อลินผู้ซื่อตรงชีวิตก็ไม่ได้ดีเด่อะไร ออกไปทางลำบากด้วยซ้ำ ,ไม่เห็นว่าการไม่โกงมันจะช่วยอะไร)
1) การโกงทำลายโอกาสในอนาคต
ลินและแบงค์ผู้หัวดี สามารถสอบเรียนต่อเมืองนอกผ่านสบาย ๆ หากไม่โกงย่อมไม่ถูกตัดสิทธิ์การสอบหรือเรียนต่อใด ๆ แม้ต้องรออีกหลายปีกว่าจะเรียนจบแล้วทำงาน แต่อนาคตอันสดใสมั่นคงนั้นรออยู่
ส่วนเกรซกับพัฒน์(และบรรดาผู้ลอกข้อสอบคนอื่น ๆ) ขาดพื้นฐานความรู้ที่ต้องใช้ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยไปมากมาย ถ้าเจอข้อสอบแบบเขียนคำตอบ ไม่ใช่ตัวเลือกแล้ว แถมยังเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ยากเกินความสามารถตัวเองอีก ถึงเป็นลูกคนรวย พ่อแม่คงไม่ปลื้มและไม่จบเรื่องแบบสวย ๆแน่นอน.....
2) การโกงทำลายมิตรภาพ
ลินกับเกรซเป็นเพื่อนสนิทกันในตอนแรก หลังจากลินพยายามช่วยเกรซด้วยการให้ลอกข้อสอบครั้งแรก(แม้ด้วยความปรารถนาดี ไม่มีแอบแฝง) ทำให้เกิดการโกงครั้งถัดไปตามมา มิตรภาพระหว่างทั้งคู่ค่อย ๆลดน้อยลง เกรซมองเห็นลินเป็นที่ลอกข้อสอบมากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายต้องเลิกเป็นเพื่อนกัน
3) การโกงทำลายความรัก
สิ่งที่ชอบมากที่สุดของฉลาด เกมส์ โกง คือเป็นหนังไทยที่ไม่เน้นความรักมากกว่าพล็อตเรื่อง(ทั้งสองอย่างไปด้วยกัน)
ความรักของตัวเอกอย่างลินในหนังเรื่องนี้คือ "รักข้างเดียว" ลินแสดงออกในเรื่องว่าชอบแบงค์ ทั้งที่พูดว่าแบงค์คล้ายกับพ่อของเธอ ,เผลอ ๆก็เป็นฝ่ายแตะเนื้อต้องตัวแบงค์แบบเนียน ๆ และยังพยายามช่วยเหลือแบงค์ที่โดนจับได้เรื่องโกง STIC ตอนท้ายเรื่อง (ไหนจะเพลงประกอบภาพยนตร์ "มองฉันที" ซึ่งสื่อถึงรักข้างเดียว อยากให้อีกฝ่ายหันมามองตัวเองด้วย)
ฝ่ายแบงค์ผมว่ามองลินเป็นแค่คู่แข่งชิงทุนสอบเรียนต่อ แม้การที่แบงค์จะชอบลินกลับเป็นไปได้เพราะตอนไปสอบ STIC ที่ซิดนีย์ด้วยกัน มันพอจะเห็นความเขินระหว่างสองคนนี้อยู่ แต่ระหว่างหนังเดินเรื่องไปเรื่อย ๆ ดันซวยเพราะลินหลายเรื่อง
ความซวยทั้งหลายไม่ได้มาจากไหน มาจากการโกงที่ลินมีส่วนร่วมด้วยหมด
และอย่างที่บอกว่าลินชอบแบงค์ ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องที่แบงค์เหมือนพ่อลิน ผมว่ารวมถึง การใช้ชีวิตอย่างซื่อตรง แม้ไม่ได้ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นด้วย ในใจลินคงแอบชื่นชมคนประเภทนี้ ความซื่อตรงของแบงค์ถูกทำลายเพราะต้องเกี่ยวข้องกับการโกงของลิน ย่อมหมายถึงการโกงของลินทำลายตัวตนของแบงค์ที่เธอชอบ-ทำลายความรักของเธอไปด้วยนั่นเอง.....
ผมคิดว่าสิ่งที่ฉลาด เกมส์ โกงทำไม่ใช่การสอนว่า การโกงมันไม่ดี อย่างตรงไปตรงมา เพราะบรรดาคนโกงในเรื่องก็ได้เงินกันเยอะ แต่หนังใช้วิธีแสดงข้อเสียของการโกงให้เห็น ว่าเวลาโกงมันได้เงินมารวดเร็วทันใจ แต่ต้องเสียอะไรไปมากมายเพื่อแลกกับเงิน (เช่น อนาคต ,มิตรภาพและความรัก) และก่อนใครจะโกงควรคิดให้หนัก ว่าผลที่ได้มันคุ้มค่าหรือไม่ ? (อย่างน้อยที่สุดมันไม่คุ้มสำหรับลิน เพราะท้ายเรื่องเธอบอกไว้ว่า "ได้เงินเท่าไหร่ก็ไม่คุ้มแล้ว")
สิ่งที่โดดเด่นอย่างแรกคือ เรื่องบท-เรื่องไอเดียเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังซึ่งนำเรื่องการ "โกง+ลอกข้อสอบ" ที่นักเรียนไทยไม่ว่าใครคงเคยมีประสบการณ์ร่วมกันมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นคนให้ลอก-คนลอก หรือพบเห็นการลอกของผู้อื่น เพราะข้อสอบเป็นแบบเลือกคำตอบตามตัวเลือกจึงทำให้ลอกได้ แต่การลอกนั้นก็ไม่ง่ายเนื่องจากบรรดาอาจารย์คอยควบคุมดูแลอยู่ ส่งผลให้ต้องใช้ชั้นเชิง-ลูกเล่นและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อหลบเลี่ยงมิให้ถูกจับได้ตามมา
ลูกเล่นการโกงข้อสอบในหนังจัดว่าซับซ้อนพอสมควร (หากลองพิจารณาว่าเวลาไม่เป็นไปตามแผน-การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต้องทำอะไรบ้าง) ทว่าถ่ายทอดออกมาเข้าใจง่าย ด้วยการโฟกัสการกระทำสลับกับสีหน้าท่าทางของตัวละครตามสถานการณ์ จนเข้าใจได้แม้ไม่มีบทพูด (ตอนสอบห้ามคุยกันนี่เนอะ :P )
เนื้อหาหลายส่วนอย่างพวกความฉลาดตัวละคร ที่จดจำหรือคิดเลขในใจได้ซับซ้อนและเร็วเว่อร์
การใช้คีย์เปียโนแทนรหัสบอกคำตอบข้อสอบ
หรือการสอบวัดมาตรฐานระดับโลก (STIC) ด้วยข้อสอบชุดเดียวกัน+เวลาเดียวกันจนนำเรื่อง "ความต่างของเวลา"
ในส่วนต่าง ๆของโลกมาใช้สร้างกลโกงได้
ผมไม่แน่ใจว่าเอามาจากเรื่องจริงหรือทำได้จริงไหม ? แต่ผมว่าสิ่งสำคัญจริง ๆคือหนังทำให้ เข้าใจและยอมรับเรื่องเหล่านี้ได้ ต่างหาก (หนังที่ดูสมจริงมันไม่จำเป็นต้องสมจริงซะทุกเรื่องนี่)
ด้านผู้กำกับและบรรดานักแสดงก็ต้องขอชื่นชม นักแสดงแต่ละคนแสดงออกได้เหมาะสมกับบทบาท-นิสัยตัวละครของตน จังหวะการเล่าเรื่องของหนังก็ทำได้ดีไม่มีช่วงน่าเบื่อ ,ยิ่งช่วงไคลแม็กซ์ตอนสอบ STIC นี่ลุ้นแล้วลุ้นอีก ลุ้นเสียเหนื่อยเลยทีเดียว :D
ฉากนี้นี่สุด ๆ
การสื่อด้วยภาพในหนังเป็นอะไรที่เข้าใจง่าย+จิกกัดประชดประชันอย่างน่าสนใจ เช่น
- ฉากนาฬิกาหลายเรือนเรียงกัน แสดงความแตกต่างของเวลาแต่ละประเทศทั่วโลก และตัวอักษรบนเสื้อลิน "Making It Happen" สื่อว่าแผนการโกง STIC นั้นสามารถทำได้
- ป้ายรถเมล์ในฉากก่อนแบงค์ตัดสินใจร่วมโกง STIC
("อนาคตแห่งการซักผ้า" คือ ถ้าแบงค์ไม่โกงจะไม่ได้เรียนเมืองนอกและไม่ได้ตังค์ -> ทั้งชีวิตที่เหลือไม่พ้นได้แต่ช่วยแม่ซักผ้า)
- ชื่อโรงพิมพ์ที่ใช้พิมพ์บาร์โค้ดเพื่อโกงข้อสอบ STIC
("โรงพิมพ์ซื่อตรงพานิช" ดันทำเรื่องไม่ซื่อตรงสมชื่อ)
- ตัวอักษรบนเสื้อเหล่าผู้ทำข้อสอบ STIC ได้คะแนนระดับสูงในประเทศไทย
("กูได้ STIC 1460 คะแนน" แลดูน่าภูมิใจ แต่โกงเอาคะแนนมามันควรภูมิใจมั้ย ?)
มาถึงประเด็นสำคัญของบทความ สำหรับผมแล้วหนังเรื่องนี้ "บอกเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรโกง" ผ่านเนื้อหาทั้งเรื่องครับ ไม่ใช่เพียงบทพูดของตัวละครอย่างผอ.โรงเรียนหรือพ่อของลินเท่านั้น (ซึ่งสองคนนี้ก็ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของการใช้ชีวิตซื่อตรงเท่าไหร่
เพราะผอ.โรงเรียนก็โกง ด้วยรับเงิน "บำรุงการศึกษา" แลกกับการรับนักเรียนเข้าโรงเรียน
พ่อลินผู้ซื่อตรงชีวิตก็ไม่ได้ดีเด่อะไร ออกไปทางลำบากด้วยซ้ำ ,ไม่เห็นว่าการไม่โกงมันจะช่วยอะไร)
เหตุผลที่เราไม่ควรโกง
1) การโกงทำลายโอกาสในอนาคต
ลินและแบงค์ผู้หัวดี สามารถสอบเรียนต่อเมืองนอกผ่านสบาย ๆ หากไม่โกงย่อมไม่ถูกตัดสิทธิ์การสอบหรือเรียนต่อใด ๆ แม้ต้องรออีกหลายปีกว่าจะเรียนจบแล้วทำงาน แต่อนาคตอันสดใสมั่นคงนั้นรออยู่
ส่วนเกรซกับพัฒน์(และบรรดาผู้ลอกข้อสอบคนอื่น ๆ) ขาดพื้นฐานความรู้ที่ต้องใช้ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยไปมากมาย ถ้าเจอข้อสอบแบบเขียนคำตอบ ไม่ใช่ตัวเลือกแล้ว แถมยังเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ยากเกินความสามารถตัวเองอีก ถึงเป็นลูกคนรวย พ่อแม่คงไม่ปลื้มและไม่จบเรื่องแบบสวย ๆแน่นอน.....
2) การโกงทำลายมิตรภาพ
ลินกับเกรซเป็นเพื่อนสนิทกันในตอนแรก หลังจากลินพยายามช่วยเกรซด้วยการให้ลอกข้อสอบครั้งแรก(แม้ด้วยความปรารถนาดี ไม่มีแอบแฝง) ทำให้เกิดการโกงครั้งถัดไปตามมา มิตรภาพระหว่างทั้งคู่ค่อย ๆลดน้อยลง เกรซมองเห็นลินเป็นที่ลอกข้อสอบมากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายต้องเลิกเป็นเพื่อนกัน
3) การโกงทำลายความรัก
สิ่งที่ชอบมากที่สุดของฉลาด เกมส์ โกง คือเป็นหนังไทยที่ไม่เน้นความรักมากกว่าพล็อตเรื่อง(ทั้งสองอย่างไปด้วยกัน)
ความรักของตัวเอกอย่างลินในหนังเรื่องนี้คือ "รักข้างเดียว" ลินแสดงออกในเรื่องว่าชอบแบงค์ ทั้งที่พูดว่าแบงค์คล้ายกับพ่อของเธอ ,เผลอ ๆก็เป็นฝ่ายแตะเนื้อต้องตัวแบงค์แบบเนียน ๆ และยังพยายามช่วยเหลือแบงค์ที่โดนจับได้เรื่องโกง STIC ตอนท้ายเรื่อง (ไหนจะเพลงประกอบภาพยนตร์ "มองฉันที" ซึ่งสื่อถึงรักข้างเดียว อยากให้อีกฝ่ายหันมามองตัวเองด้วย)
ฝ่ายแบงค์ผมว่ามองลินเป็นแค่คู่แข่งชิงทุนสอบเรียนต่อ แม้การที่แบงค์จะชอบลินกลับเป็นไปได้เพราะตอนไปสอบ STIC ที่ซิดนีย์ด้วยกัน มันพอจะเห็นความเขินระหว่างสองคนนี้อยู่ แต่ระหว่างหนังเดินเรื่องไปเรื่อย ๆ ดันซวยเพราะลินหลายเรื่อง
ความซวยทั้งหลายไม่ได้มาจากไหน มาจากการโกงที่ลินมีส่วนร่วมด้วยหมด
และอย่างที่บอกว่าลินชอบแบงค์ ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องที่แบงค์เหมือนพ่อลิน ผมว่ารวมถึง การใช้ชีวิตอย่างซื่อตรง แม้ไม่ได้ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นด้วย ในใจลินคงแอบชื่นชมคนประเภทนี้ ความซื่อตรงของแบงค์ถูกทำลายเพราะต้องเกี่ยวข้องกับการโกงของลิน ย่อมหมายถึงการโกงของลินทำลายตัวตนของแบงค์ที่เธอชอบ-ทำลายความรักของเธอไปด้วยนั่นเอง.....
ผมคิดว่าสิ่งที่ฉลาด เกมส์ โกงทำไม่ใช่การสอนว่า การโกงมันไม่ดี อย่างตรงไปตรงมา เพราะบรรดาคนโกงในเรื่องก็ได้เงินกันเยอะ แต่หนังใช้วิธีแสดงข้อเสียของการโกงให้เห็น ว่าเวลาโกงมันได้เงินมารวดเร็วทันใจ แต่ต้องเสียอะไรไปมากมายเพื่อแลกกับเงิน (เช่น อนาคต ,มิตรภาพและความรัก) และก่อนใครจะโกงควรคิดให้หนัก ว่าผลที่ได้มันคุ้มค่าหรือไม่ ? (อย่างน้อยที่สุดมันไม่คุ้มสำหรับลิน เพราะท้ายเรื่องเธอบอกไว้ว่า "ได้เงินเท่าไหร่ก็ไม่คุ้มแล้ว")
COMMENTS